Roojai

ขับรถชนท้ายต้องผิดเสมอ จริงหรือ?

เป็นประโยคที่มักได้ยินอยู่บ่อยครั้งหรือฝั่งหัวผู้ใช้รถใช้ถนนว่า หากขับไปชนท้ายใครยังไงก็ย่อมเป็นฝ่ายผิดเสมอรวมทั้งต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด แต่ความจริงในด้านประมวลกฎหมายก็มีการแบ่งเป็นหลายกรณี ตามลักษณะการชน ซึ่งหากมีการพิสูจน์หลักฐานได้ชัด ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นฝ่ายผิดเสมอไป

สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 กำหนดไว้ว่า ผู้ขับต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควร และมีระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ แต่ในบทบัญญัติไม่ได้มีการกำหนดระยะห่างจากรถคันหน้าเท่าใด ฉะนั้นผู้ขับต้องใช้วิจารณญาณเองว่าควรจะทิ้งระยะห่างเพียงใด จึงจะปลอดภัยโดยสามารถหยุดรถได้ทันท่วงทีที่รถคันหน้าหยุด ดังนั้นโดยปกติการขับรถชนคันหน้าโดยไม่ระมัดระวัง จึงถือว่าเป็นความผิดของคนขับรถคันหลังเสมอ แต่ถ้าเป็นกรณีที่รถคันหน้าหยุดกะทันหันเนื่องจากมีรถวิ่งตัดหน้าหรือคนเดินตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด เป็นเหตุให้รถคันหลังชนท้ายคันหน้าและอาจชนกันเป็นทอด ๆ หลายคัน กรณีเช่นนี้ ผู้ที่ขับรถวิ่งตัดหน้าหรือคนเดินถนนที่ตัดหน้า ถือว่าเป็นฝ่ายผิดและจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถคันอื่นทุกคัน เพราะเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนรถคันที่หยุดกะทันหัน รถคันที่ชนท้ายคันที่หยุดกะทันหันรวมทั้งรถที่ชนท้ายรถคันต่อๆ กันไม่มีความผิด แต่ถ้าผู้ใดฝ่าฝืน ขับรถด้วยความประมาทไม่เว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้า แล้วก่อให้เกิดเหตุร้ายขึ้นในทาง ผู้ฝ่าฝืนต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหาย ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา

ยกตัวอย่าง กรณีรถชนกัน 5 คันรวด คันสุดท้ายจะรับผิดชอบเพียงคันที่ 4 คันเดียว หรือรวมถึงคันที่ 3-2-1 ด้วย การที่รถคันที่ 5 จะรับผิดรถยนต์คันที่ 1-3 ด้วยหรือไม่ ก็ต้องมีการพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากรถยนต์คันที่ 5 ว่าเป็นผู้กระทำผิดด้วยหรือไม่ หากรถยนต์ทั้ง 4 คัน ชนกันอยู่ก่อนแล้ว เพราะความประมาทของคนขับแต่ละคน ส่วนคันที่ 5 เบรกไม่อยู่ จึงชนท้ายคันที่ 4  และถ้าพิสูจน์ได้ว่ารถทั้ง 4 คันชนกันจนเกิดความเสียหายมาก่อนคันที่ 5 จะชนเป็นคันสุดท้าย เช่นมีกล้อง กรณีนี้คนขับรถคันที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชอบรถคันที่ 1-3 แต่อย่างใด และหากพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายด้านหน้ารถยนต์ของ คันที่ 4 ที่ชนท้ายรถคันที่ 3 เกิดก่อนที่คันสุดท้ายจะชนท้าย นั้น คันที่ 5 อาจรับผิดเพียงเท่าที่เป็นจริง

ในอีกหนึ่งกรณีหากเป็นรถคันที่ 4 ส่วนรถเราเป็นคันที่ 5 สามารถหักหลบและเบรกได้ จึงเฉี่ยวท้ายรถยนต์ คันที่ 4 เพียงเล็กน้อย ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การที่เราชนท้ายรถยนต์คันที่ 4 ไม่รุนแรงถึงขนาดกันชน หรือหม้อน้ำของรถยนต์คันที่ 4 เสียหาย ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับสภาพการชนด้านหน้าของรถยนต์คันที่ 4 ที่เราเฉี่ยวชน การรับผิดชอบก็ต้องรับผิดตามจริงโดยไม่ต้องรับผิดชอบซ่อมแซมส่วนหน้าของรถยนต์คันที่ 4 แต่อย่างใด หรือในกรณีที่ 2 รถทั้ง 4 คัน ชนกันอยู่แล้ว จนเสียหายอย่างมาก เช่น คันที่ 2  ชนท้ายรถบรรทุกสิบล้อ จนเสียหายอย่างรุนแรง ในขณะที่รถยนต์คันที่ 4 ถูกเราชนเสียหายเพียงเล็กน้อย เช่น ไฟท้ายแตก หรือ กันชนบุบเล็กน้อย

ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า รถยนต์ที่เราขับมาแม้ชนท้ายคันที่ 4 ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขนาดที่เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่ 4 -3 -2 กระเด็นชนท้ายกันต่อไป จนคันที่ 2 ชนท้ายรถสิบล้อเพราะแรงกระแทกของคันที่ 5 ได้รับความเสียหายกรณีเช่นนี้ พยานหลักฐานปรากฏได้ชัดว่า ความเสียหายของรถคันอื่นๆ ไม่ใช่ผลโดยตรงจากความประมาทของรถคันที่ 5 ดังนั้น รถยนต์คันสุดท้ายจะรับผิดรถยนต์คันอื่นเพียงใดหรือไม่ ก็ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นผลโดยตรงของคันสุดท้ายด้วย

อย่างไรก็ดีไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกชนหรือเป็นฝ่ายไปชนผู้อื่น เพื่อความอุ่นใจอย่าลืมให้ประกันจากรู้ใจดูแลคุณ ด้วยประกันแสนดีและคุ้มค่า การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที ประกันชั้น 1 ผ่อนสบายๆ  0% ยาว 10 เดือน