Roojai

รวมกฏจราจรที่มีมานานแล้ว แต่ละเมิดกันประจำ

หลายครั้งที่เราเห็นอุบัติเกิดขึ้นบนท้องถนน มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวน ทั้งประสบการณ์ที่พบเจอด้วยตัวเองหรือจากการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากความประมาทเลินเล่อและที่สำคัญคือไม่เคารพกฎจราจร วันนี้เรามี 5 กฎจราจรที่มีมานาน แต่หลายคนมักมองข้ามหรือไม่ใจและไม่ปฏิบัติตาม

1. ขับรถเร็วเกินกำหนด เรียกว่าเป็นการทำผิดกฎจราจรที่มีมาช้านานนับตั้งแต่ยุคคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งการแก้ไขที่ถูกจุดคือต้องเริ่มที่การปลูกฝังจิตสำนึกในการเคารพกฎ แม้ปัจจุบันมีมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มกล้องตรวจจับความเร็วมากขึ้น แต่พอเลยจุดตรวจจับรถบางคันก็กลับมาใช้ความเร็วสูงเหมือนเดิม โดยความเร็วจำกัดตาม ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 90 กม./ชม. นอกเขตเทศบาล และไม่เกิน 80 กม./ชม. ในเขตเทศบาล กทม. และเมืองพัทยา แต่ในความเป็นจริงบนท้องถนนก็พบว่ายังมีคนทำผิดกฎจราจรในข้อนี้ จนเกิดอุบัติมีผู้คนบาดเจ็บเสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ม.67 ว.1,152 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

2. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างในส่วนของผู้โดยสารตอนหน้าและผู้ขับ ซึ่งก็ยังมีพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง แม้รถรุ่นใหม่ๆ จะมีสัญญาณเตือนให้ต้องคาดทุกครั้งที่ขึ้นรถ แต่ก็ยังมีคนหัวหมอล็อกเข็มขัดนิรภัยโดยไม่นำสายมาคาดติดกับตัวหรืออ้อมไว้ด้านหลัง ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็จะส่งผลกระทบรุนแรงมากกับผู้คาดแน่นอน ซึ่งกฎหมายให้คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ มีการบรรจุเป็นกฎหมายบังคับเฉพาะรถที่จดทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 ใช้บังคับทั้งรถขนส่งรถแท็กซี่ รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ตาม ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก บังคับให้ผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าคู่กับคนขับต้องคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย ซึ่งมีระบุไว้ใน ม.123 วรรคสอง หากฝ่าฝืนก็จะเป็นความผิด มีทั้งความผิดเฉพาะตัวของคนขับรถ คือ ผู้ขับขี่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง และความผิดที่ไม่จัดให้คนนั่งด้านหน้าคู่กับคนขับรัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยในขณะโดยสาร โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ทั้ง 2 กรณี

3. ดัดแปลง-แก้ไขป้ายทะเบียน บ่อยครั้งที่เราเห็นป้ายทะเบียนของรถข้างๆ ที่ใช้ถนนร่วมกับเรา บ้างก็ปิดแผ่นทองทับหรือสีขาวถมทับตัวอักษร หรือไม่ก็ติดสติ๊กเกอร์หรือลายกราฟิกต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เหตุผลจากความเชื่อหรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจทำให้ป้ายทะเบียนนั้นถูกปิดบัง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผู้ที่ใช้รถผิดกฎหมาย มีช่องทางในการปิดบังตัวอักษรหมายเลขรถยนต์และจังหวัด จึงได้มีกฎหมายบังคับเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ตามมาตรา 14 ประกอบมาตรา 60 หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์แล้ว ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมแปลงเอกสาร

4. เลี้ยวรถโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว กรณีนี้พบเห็นได้เป็นประจำจนมีการตั้งกระทู้ด่าในโลกโซเชียลบ่อยครั้ง ทำนองว่าจะมีไฟเลี้ยวไว้ทำไมถ้าไม่ใช้! ที่สำคัญก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แต่ด้วยเพราะหลายคนที่ไม่ใส่ใจทำจนเคยชินและคิดว่าไม่เป็นไร หรืออาจหลงลืมจากการที่อบรวมตอนสอบใบขับขี่ ว่าในทุกครั้งที่ต้องการเปลี่ยนช่องจราจรหรือเลี้ยวรถไปยังถนน-ซอย ฝั่งซ้าย-ขวา ต้องให้สัญญาณไฟเพื่อส่งสัญญาณให้รถที่ตามหลังมาได้รับรู้ โดยในกรณีของรถยนต์ ควรเปิดไฟเลี้ยวให้คันหลังเห็นชัดเจน ก่อนทางที่เราจะเลี้ยวรถ ถ้าเทียบความเร็ว รถวิ่งอยู่ที่ 30กม./ชม. ก็ให้เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อน 30 เมตร ถ้ารถวิ่งอยู่ที่ 60 กม./ชม. ให้เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อน 60 เมตร ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538) ม.36 วรรค1, 148 ปรับไม่เกิน 500 บาท

5. ขับรถไม่พกพาสำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ กรณีนี้หลายคนที่มีเล่มทะเบียนอาจสงสัยว่าทำไมยังต้องมีสำเนาติดรถไว้ด้วยทำไม หรือต่อทะเบียนเองโดยไม่ได้ให้ไฟแนนซ์ต่อ ซึ่งตามความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา ๔๒ ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถและ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ ในขณะขับหรือควบคุมผู้ฝึกหัดขับรถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องมีสำเนาไว้ก็เพื่อป้องกันในกรณีรถถูกโจนกรรมมานั่นเอง

อย่าลืมให้ประกันจาก Roojai.com ดูแลและแนะนำด้วยราคาสุดคุ้มค่า ด้วยประกันแสนดี