
เคยพบเจอปัญหาเครื่องกระตุกเวลาขับขี่หรือเร่งเครื่องหรือเปล่า? อาการแบบนี้อาจเป็นเพราะหัวเทียนรถยนต์กำลังมีปัญหาก็ได้นะ แล้วปกติควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ ถ้าไม่อยากให้พังก่อนกำหนด ควรดูแลรถยนต์ยังไงให้เหมาะสม พร้อมข้อควรรู้อื่น ๆ จะมีข้อมูลไหนน่าสนใจบ้าง ตามไปดูกันเลยดีกว่า
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- หัวเทียนรถยนต์คืออะไร? มีหน้าที่อะไรในรถคุณ
- หัวเทียนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
- ดูแลหัวเทียนรถยนต์ยังไง ให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น?
- อาการแบบไหน ที่ต้องเปลี่ยนหัวเทียนรถยนต์แล้ว?
หัวเทียนรถยนต์คืออะไร? มีหน้าที่อะไรในรถคุณ
Spark Plug หรือหัวเทียน คือ ชิ้นส่วนทรงกระบอกขนาดเล็ก มีหัวเข็มและเขี้ยวจุดประกายไฟปลายด้านบน ปกติแล้วรถยนต์ 1 คัน จะใช้หัวเทียนประมาณ 4-6 อัน ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์แต่ละรุ่น นอกจากนี้ยังมีประเภทที่แตกต่างกันออกไป ตามคุณสมบัติการใช้งาน และความทนทานภายในวัสดุที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอะไหล่รถยนต์ขนาดเล็กดังกล่าว มีความสำคัญต่อรถยนต์พอสมควร เนื่องจากอยู่ในระบบการทำงานของเครื่องยนต์โดยตรง มีหน้าที่หลักในการจุดระเบิดภายในห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาร่วมกับน้ำมันและอากาศ สำหรับดันลูกสูบให้เครื่องที่ เครื่องยนต์ทำงาน เกิดเป็นกำลังขับเคลื่อนให้รถยนต์ต่อไป
หัวเทียนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ประเภทของหัวเทียนรถยนต์ในปัจจุบันหลัก ๆ มีทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความทนทาน แข็งแรง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานด้วย โดยคุณสมบัติต่าง ๆ ของหัวเทียนแต่ละประเภทมีดังนี้
1. นิกเกิล
ส่วนใหญ่หัวเทียนนิกเกิลจะถูกใช้งานกับรถยนต์รุ่นเก่า เนื่องจากมีการใช้กำลังไฟเพื่อจุดระเบิดค่อนข้างต่ำ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานในรถยนต์ใหม่ ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ข้อดีคือมีราคาไม่ค่อยสูง ใช้งานได้ในรถเกือบทุกประเภท
2. แพลทินัม
ด้วยความที่ทำจากแพลทินัม จึงทำให้มีความทนทานสูงตามคุณบัติของวัสดุ ช่วยให้ทำงานในระดับอุณหภูมิสูงกว่านิกเกิลได้ดี มีเขม่าน้อย เนื่องจากถูกเผาไหม้ไปจนหมดแล้ว ที่สำคัญมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แลกมาด้วยราคาที่สูงกว่านิกเกิลระดับหนึ่ง
3. อิริเดียม
หลายคนมักเรียกหัวเทียนรถยนต์ประเภทอิริเดียมว่าแบบเข็ม มีความแข็งแรง ทนทาน และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าแพลทินัมไปอีกขั้น สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่า จุดระเบิดได้อย่างแม่นยำ ส่วนใหญ่มักถูกเลือกใช้ในรถยนต์ที่มีแรงม้าสูง หรือรถยนต์ที่มีเทอร์โบเป็นหลัก และถึงแม้ว่าหัวเทียนประเภทนี้จะแลกมาด้วยราคาที่สูง แต่ก็ใช้งานได้ยาวนาน ทนทานมากกว่า
นอกจากการเลือกหัวเทียนรถยนต์ที่ตอบโจทย์แล้ว การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองตรงใจ ราคาสบายกระเป๋าก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะถ้าหากระบบเครื่องยนต์มีปัญหา เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจะได้มีคนคอยเคียงข้าง ประกันรถยนต์ยังมีบริการเสริม ช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ทั่วไทย รถเสีย รถดับ รถล็อคเข้าไม่ได้ รู้ใจพร้อมช่วยเหลือคุณ
ดูแลหัวเทียนรถยนต์ยังไง ให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น?
ในส่วนของการดูแลรถยนต์โดยเฉพาะ “หัวเทียน“ สามารถดูแลรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอน ดังนี้
- หมั่นตรวจสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ในกรณีที่รถเกิดอาการกระตุก เนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ลองถอดหัวเทียนออกมาทำความสะอาด
- ก่อนจะถอดหัวเทียนรถยนต์ออกมา ให้ทำความสะอาดรอบขอบด้านข้างก่อน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกลงไปในห้องเผาไหม้
- จากนั้นใช้เครื่องมือถอดหัวเทียนออกมา พร้อมกับตรวจดูสภาพของหัวเทียนทั้งในเรื่องคราบเขม่าสกปรก และระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีระยะปรับตั้งที่บอกมาเป็นค่ามาตรฐาน
- ทำความสะอาดด้วยการใช้กระดาษทรายละเอียดขัด ล้างด้วยน้ำมัน เช็ด และเป่าให้แห้ง ทิ้งไว้จนแห้งสนิท แล้วจึงนำไปประกอบกลับคืน
Tips: หัวเทียนรถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่?
สำหรับคนที่กำลังมองหาวิธีดูแลรถยนต์ ว่าควรเปลี่ยนหัวเทียนเมื่อไหร่ ซึ่งตามปกติแล้วการดูแลรถยนต์ที่ถูกต้อง เหมาะสม และควรทำ คือ เปลี่ยนหัวเทียนรถยนต์ตามกำหนด ดังนี้
- นิกเกิล : ควรเปลี่ยนทุกระยะ 8,000-20,000 กิโลเมตร
- แพลทินัม และอิริเดียม : ควรเปลี่ยนทุกระยะ 100,000 กิโลเมตร
หากระบบเครื่องยนต์ทำงานร่วมกับระบบแก๊ส CNG หรือ LPG ควรเปลี่ยนหัวเทียนทุก 10,000 กิโลเมตร และอย่าลืมตรวจสภาพสายหัวเทียนทุก ๆ 1 ปี หรือระยะ 20,000 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในระบบการทำงานที่สม่ำเสมอ มีเสถียรภาพ
อาการแบบไหน ที่ต้องเปลี่ยนหัวเทียนรถยนต์แล้ว?
ตามปกติแล้วการเปลี่ยนหัวเทียนรถยนต์ มักทำกันหลังจากที่เกิดอาการหัวเทียนบอด หรือมีปัญหาและความเสียหาย ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของหัวเทียนหรือระบบเครื่องยนต์ อาการที่กำลังบอกว่าคุณควรเปลี่ยนหัวเทียนได้แล้ว ก่อนที่จะเกิดปัญหาอื่น ๆ กับเครื่องยนต์ในอนาคต มีดังนี้
1. การระเหิดของน้ำมันหรือน้ำที่ส่วนหัวเทียน
หากมีน้ำมันที่ด้านล่างของหัวเทียน หรือรอยเหมือนน้ำแห้ง รวมถึงน้ำมันบนผิวหัวเทียนรถยนต์ อาจจะเป็นสัญญาณอาการรั่วของน้ำหรือน้ำมันจากหัวเทียนก็เป็นได้
2. พบน้ำมันเครื่องที่น้ำหล่อเย็นที่หัวเทียน
ในกรณีที่พบเจอน้ำมันเครื่องหรือน้ำหล่อเย็นที่หัวเทียน อาจเป็นสัญญาณว่ามีการรั่วของน้ำมันมายังบริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดได้จากซีลหัวเทียนไม่แน่น
3. เสียงผิดปกติของเครื่องยนต์
เมื่อพบว่าเครื่องยนต์มีเสียงสูงและไม่ปกติที่หัวเทียนหรือรอบหัวเทียนรถยนต์ อาจเป็นสัญญาณว่ามีปัญหากับชิ้นส่วนภายในหัวเทียน เช่น วาล์วหรือพวงมาลัย เป็นต้น
4. ระบบเครื่องยนต์มีปัญหา หรือสตาร์ทรถติดยาก
หากหัวเทียนชำรุดอาจทำให้ระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่เสถียร สูญเสียประสิทธิภาพ หรือมีปัญหาในการสตาร์ทรถ อาจจะสตาร์ทติดยากหรือสตาร์ทไม่ติดเลย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวนี้คืออาการหัวเทียนบอดที่สังเกตได้ง่ายที่สุด แต่หลายคนมักไม่เฉลียวใจ
นอกจากนี้อาการหัวเทียนบอดยังทำให้เครื่องยนต์มีอาการสั่น เครื่องอืด กินน้ำมัน เร่งไม่ค่อยขึ้น เนื่องจากจุดประกายและจุดระเบิดได้ไม่ดี เครื่องยนต์จึงทำงานผิดปกติไปด้วยนั่นเอง
5. ไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ที่หน้าปัดรถ
หากหัวเทียนหรือสายหัวเทียนรถยนต์สึกหรอ ชำรุด อาจทำให้ไฟเครื่องยนต์ติดสว่างขึ้น และถ้าหากฝืนขับต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูแลรถอย่างที่ควรจะเป็น และไม่ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย อาจส่งผลทำให้ระบบไอเสียทำงานผิดปกติ หรือเร่งปฏิกิริยาในรถ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีรอบเดินเบาอย่างรุนแรง กำลังเครื่องไม่สม่ำเสมอเมื่อเร่งความเร็ว และมีการปล่อยไอเสียเพิ่มขึ้น
แม้ว่าหัวเทียนรถยนต์จะเป็นชิ้นส่วนชิ้นเล็ก ๆ แต่กลับมีความสำคัญกับระบบเครื่องยนต์ค่อนข้างมาก แนะนำให้ดูแลรถอย่างสม่ำเสมอ สังเกตอาการหัวเทียนบอดให้ดี เมื่อแน่ใจว่าใช่อาการนี้แน่ ๆ ก็ควรเปลี่ยนก่อนที่ปัญหาอื่น ๆ จะเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ตามมา
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ด้านสุขภาพ รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประกันภัยต่าง ๆ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ได้เลย (Official LINE ID: @roojai)
คำจำกัดความ
การระเหิด | ปรากฏการณ์ที่สสารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นสถานะแก๊ส หรือไอระเหย โดยไม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็นของเหลวก่อน |
ระบบไอเสีย | เป็นองค์ประกอบสำคัญของยานยนต์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดการไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ |