ลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุผ่านรู้ใจ

เมื่อคุณซื้อประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ คุณสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง รวมกันไม่เกิน 25,000 บาท และสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองพ่อแม่ หรือ พ่อแม่สามีหรือภรรยาของคุณ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดอีก 15,000 บาท คุณไม่ต้องกลับไปตามหาเอกสารกรมธรรม์เก่า ๆ รู้ใจพร้อมดูแลและมอบความสะดวกให้คุณ

ขั้นตอนยื่นแบบลดหย่อนภาษีง่าย ๆ ผ่านรู้ใจ

วิธีการรับเอกสารลดหย่อนภาษีผ่านรู้ใจ

เมื่อคุณซื้อประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุที่รู้ใจแล้ว และต้องการใช้เบี้ยประกันเพื่อลดหย่อนภาษี คุณสามารถทําตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย

  1. เมื่อซื้อกรมธรรม์ประกันภัยผ่านรู้ใจ กดยินยอมให้บริษัทนำส่งและเปิดเผยข้อมูลต่อกรมสรรพากร บนหน้าชำระเงิน
  2. ในช่วงยื่นภาษีประจำปี สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันโรคร้ายแรงและประกันมะเร็งสามารถเข้าไปดาวโหลดเอกสารลดหย่อนภาษีที่ MyAccount หรือผ่าน Roojai Mobile App
  3. คลิกเลือกเมนูกรมธรรม์
  4. คุณสามารถใช้เอกสารที่รู้ใจจัดเตรียมให้ เพื่อยื่นขอลดหย่อนภาษีได้เลย

หมายเหตุ

  • สำหรับลูกค้าประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลสามารถตรวจสอบจำนวนยอดที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ที่ SMS หรืออีเมลจากรู้ใจ
  • ลูกค้าที่ทำประกันในปีภาษีนั้นๆ จะได้รับเอกสารเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีถัดไป
  • หากต้องการเอกสารรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา กรุณาแจ้งความประสงค์ ผ่าน Roojai Moblie App เท่านั้น โดยเลือกกรมธรรม์ที่ต้องการ กดยืนยันขอใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษี และเลือกแก้ไขข้อมูล

การลดหย่อนภาษีด้วยประกันภัย คืออะไร?

การลดหย่อนภาษีด้วยประกันภัย คือ การลดภาระภาษีของคุณ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใช้เบี้ยประกันสุขภาพในการลดหย่อนภาษี โดยเบี้ยประกันสุขภาพจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ รวมกันไม่เกิน 25,000 บาท และสำหรับกรมธรรม์ของพ่อแม่หรือพ่อแม่คู่สมรส จะลดหย่อนได้อีกไม่เกิน 15,000 บาท (เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร)

ความแตกต่างระหว่างการลดหย่อนภาษีและเครดิตภาษี

การลดหย่อนภาษีและเครดิตภาษี มีความคล้ายคลึงกันเพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการลดภาระการเสียภาษี แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน คือ

การลดหย่อนภาษี จะเป็นการหักออกจากเงินได้ที่คุณต้องเสียภาษี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงินสมทบ เงินบริจาค กรมธรรม์ประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

ตัวอย่างเช่น* หากคุณซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วยเบี้ยประกัน 10,000 บาท และรายได้ต่อปีของคุณคือ 480,000 บาท รายได้สุทธิที่คุณต้องเสียภาษีจะลดลงเหลือ 470,000 บาท

เครดิตภาษี เครดิตภาษีในต่างประเทศจะหักออกจากจำนวนเงินภาษีที่คุณต้องจ่าย โดยจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคล เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่าใช้จ่ายครอบครัว และสถานการณ์อื่น ๆ ของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศ

ตัวอย่างเช่น* หากคุณต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลพ่อแม่ทั้งสองคน และมีสิทธิได้รับเครดิตภาษี 2,500 บาท คุณสามารถลดภาษีที่คุณต้องจ่ายได้โดยตรง โดยหากคุณต้องเสียภาษี 8,000 บาท แล้วใช้เครดิตภาษี 2,500 บาท คุณจะต้องจ่ายภาษีเพียง 5,500 บาทเท่านั้น

กรมธรรม์ประกันภัยแบบไหนบ้างที่ลดหย่อนภาษีได้?

คุณสามารถขอลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่ซื้อภายในปีภาษี ซึ่งประกันสุขภาพของรู้ใจ ได้แก่ ประกันมะเร็ง ประกันโรคร้ายแรง และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ขึ้นอยู่กับแผนที่ลูกค้าเลือก)

การลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันสุขภาพ มีวิธีการคำนวณยังไง?

ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ เท่า ไหร่? คุณสามารถคำนวณจำนวนเงินเบื้องต้นที่ใช้ลดหย่อนได้ ดังนี้

หักลบจำนวนเบี้ยประกันทั้งหมดที่จ่ายจริงภายในปีภาษีออกจากรายได้รวมต่อปี จะเท่ากับรายได้สุทธิที่คุณต้องเสียภาษี หรือใช้สูตรด้านล่างนี้ได้เลย*

รายได้รวมต่อปี – เบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดที่ชำระภายในปีภาษี = รายได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี

การลดหย่อนภาษีทำให้การคืนภาษี (Tax refund) ของคุณเพิ่มขึ้นมั้ย?

การลดหย่อนภาษีอาจเพิ่มการคืนภาษี (Tax refund) ของคุณ เมื่อมีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี รายได้ที่คุณต้องเสียภาษีจะลดลง ยอดรวมภาษีที่ต้องจ่ายจะน้อยลง และผู้เสียภาษีอาจมีภาระภาษีน้อยลงสำหรับปีภาษีนั้น ๆ ด้วย

แต่หากการหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดาจากรายได้ของคุณในปีภาษีนั้น มากกว่ายอดรวมสุทธิของการหักภาษี ณ ที่จ่ายหลังจากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ในกรณีนี้ผู้เสียภาษีจะมีสิทธิได้รับการคืนภาษี

ตัวอย่างเช่น*

  • หากเงินเดือนของคุณคือ 40,000 บาทต่อเดือน และคุณถูกหักภาษี 15% คุณจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 6,000 บาท ซึ่งจะเท่ากับ 72,000 บาทในปีภาษีนั้น
  • จากนั้นหากคุณใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน 10,000 บาท จากรายได้ที่ต้องเสียภาษี 480,000 บาทต่อปี คุณจะมีรายได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 470,000 บาท
  • หมายความว่ายอดรวมของการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะเหลือเพียง 70,500 บาทในปีภาษีนั้น และเนื่องจากคุณได้หักเงินที่จ่ายประจำปีไปแล้วทั้งหมด 72,000 บาท คุณจึงมีสิทธิได้รับการขอคืนภาษี 1,500 บาท

จากตัวอย่างคุณสามารถคำนวณด้วยสูตรด้านล่างนี้

  • เงินเดือน 40,000 บาท X อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% = ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 6,000 บาทต่อเดือน
  • ถูกหักภาษีเงิน ณ ที่จ่าย 6,000 บาท X 12 เดือน = ถูกหักภาษีเงิน ณ ที่จ่าย 72,000 บาทต่อปี

  • เงินเดือน 40,000 บาท X 12 เดือน = รายได้ที่ต้องเสียภาษี 480,000 บาทต่อปี
  • เงินเดือน 480,000 บาทต่อปี – เบี้ยประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษี 10,000 บาท = รายได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 470,000 บาทต่อปี

  • รายได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี 470,000 บาท X อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% = ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสุทธิ 70,500 บาทต่อปี
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือน 72,000 บาท – ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสุทธิ 70,500 บาท = การคืนภาษี 1,500 บาท

ลดหย่อนภาษีจากกรมธรรม์หลายฉบับได้มั้ย?

คุณสามารถลดหย่อนภาษีจากกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพหลายฉบับได้ หากกรมธรรม์นั้นมีไว้เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของผู้เสียภาษี และสามารถใช้เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท นอกจากนี้ยังสามารถลดหย่อนภาษีจากกรมธรรม์ประกันสุขภาพหลายฉบับที่ซื้อให้กับพ่อแม่หรือบิดามารดาของคู่สมรสได้ โดยส่วนนี้ใช้เบี้ยประกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

เมื่อซื้อประกันภัยผ่านรู้ใจ คุณมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษียังไงบ้าง?

รู้ใจ ช่วยคุณส่งข้อมูลขอลดหย่อนภาษีได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องค้นหาเอกสารกรมธรรม์เก่า ๆ หรือเสียเวลาคำนวณเบี้ยประกันภัยที่ชำระทั้งหมดในปีภาษี ขั้นตอนการลดหย่อนภาษีผ่านรู้ใจมีดังนี้

  • ตรวจสอบเบี้ยประกันสุขภาพที่ชำระทั้งหมดในปีภาษีใน MyAccount ของคุณ
  • ตรวจสอบจำนวนยอดที่สามารถลดหย่อนภาษีได้โดยตรงจาก MyAccount
  • รู้ใจช่วยคุณลดเวลาในการคำนวณและช่วยลดความซับซ้อนของการยื่นเอกสาร ด้วยการรับสิทธิลดหย่อนภาษีผ่าน MyAccount หรือ Roojai Mobile App

หมายเหตุ สำหรับลูกค้าประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลสามารถตรวจสอบจำนวนยอดที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ที่ SMS หรืออีเมลจากรู้ใจ

สามารถดูรายละเอียดการลดหย่อนภาษีจากที่ไหน?

คุณสามารถดูรายละเอียดการลดหย่อนภาษีได้ โดยไปที่ MyAccount และคลิกที่ปุ่มลดหย่อนภาษี

*การคำนวณข้างต้นเป็นตัวอย่างการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำด้านภาษี ผู้เสียภาษีควรตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวนและเสียภาษีตามระเบียบของกรมสรรพากรด้วยตนเอง

ขอคืนภาษี (Tax refund) ได้ง่ายกว่า แค่ทำตามขั้นตอนยื่นแบบลดหย่อนภาษีผ่านรู้ใจ