เมื่อพูดถึงสัญญาณมือ หลายคนอาจคิดว่าใช้ได้เฉพาะกับคนขับรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น แต่บางครั้งก็แอบเห็นคนขับรถยนต์บางคน มีการใช้สัญญาณดังกล่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งบางสัญญาณพอเข้าใจ แต่บางสัญญาณยังดูงง ๆ รู้ใจจึงจะพาไปดูสัญญาณมือที่เป็นสัญญาณจราจรที่ถูกต้อง ควรใช้ยังไง ใช้เมื่อไหร่ ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูกันเลยดีกว่า
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
สัญญาณมือ คืออะไร?
สัญญาณมือ คือ การใช้มือเพื่อสื่อสารข้อความหรือความหมายต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้คำพูด ซึ่งสามารถใช้ในหลายสถานการณ์ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้สัญญาณมือบนท้องถนนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟท้ายเสีย ไฟฉุกเฉินเสีย หรือต้องการขอความช่วยเหลือ
สัญญาณมือบนท้องถนนใช้ยังไง?
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหา “ตัวช่วย” ในการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน ตามรู้ใจไปทำความรู้จักสัญญาณมือ หลีกเลี่ยงการขับรถด้วยความประมาทด้วยการใช้สัญญาณมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ ดังนี้
1. สัญญาณมือบอกว่าต้องการเลี้ยวซ้าย
กรณีที่เราต้องการบอกรถคันอื่น ๆ ว่าต้องการเลี้ยวซ้าย ให้ยื่นแขนซ้ายออกไปข้างนอกหน้าต่างแล้วเหยียดตรง แต่ก่อนทำอย่าลืมมองซ้ายขวาก่อน ป้องกันการบาดเจ็บ โดยเฉพาะจากรถมอเตอร์ไซค์ที่อาจเฉี่ยวมาโดนแขนได้
2. สัญญาณมือบอกว่าต้องการเลี้ยวขวา
เมื่อไฟเลี้ยวเสีย เรามีวิธีการใช้สัญญาณมือเพื่อขอทางได้ โดยหากต้องการเลี้ยวขวา ให้ลดกระจกรถลง แล้วยื่นแขนออกไปแล้วงอข้อศอกขึ้นเป็นมุม 90 องศา โดยให้นิ้วชี้ขึ้นหรือเป็นท่ายกมือขึ้นนั่นเอง
3. สัญญาณมือบอกว่าต้องการหยุดหรือชะลอ
หากรถเสียหรือคุณไม่อยากขับต่อไปทั้งแบบนั้น การหยุดรถเพื่อขอความช่วยเหลือก็เป็นอีกนึ่งทางออก แต่ก่อนที่จะหยุดได้ ต้องให้สัญญาณกับรถคันข้างหลังก่อนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และให้รถคันหลังแซงรถเราไปได้เลย โดยหากต้องการส่งสัญญาณหยุดรถ ให้ยื่นแขนซ้ายออกไปข้างนอกหน้าต่างแล้วงอข้อศอกลงเป็นมุม 90 องศา โดยให้นิ้วชี้ลงด้านล่าง หรือท่าคว่ำมือ-แขนลงนั่นเอง
นอกจากการรู้สัญญาณมือแล้ว ควรลดความเร็วรถยนต์ และมองซ้ายขวาก่อนที่จะยื่นมือออกไป เพื่อการขับรถปลอดภัยทั้งกับตัวเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ เช่น หากเรายื่นมือออกไปในจังหวะที่มอเตอร์ไซค์กำลังแซงรถ แบบนี้บาดเจ็บทั้งตัวเรา และมอเตอร์ไซค์ที่เสี่ยงล้มได้เลย
และแม้จะทำความเข้าใจสัญญาณมือเป็นอย่างดี สามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมทางคนอื่น ๆ ได้อย่างเข้าใจ แต่ใช่ว่า ‘อุบัติเหตุ’ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น ดังนั้นการมีประกันรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ติดรถไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี แถมยังเหมาะสำหรับขับรถกลางคืนคนเดียวบ่อย ๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา จะได้มี “เพื่อนคู่ใจ” คอยอยู่เคียงข้าง ด้วยบริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ที่รู้ใจ
ควรใช้สัญญาณมือตอนไหน?
เราควรใช้สัญญาณมือตอนไหน? เพราะถ้าต้องใช้ตลอด ใช้ทุกสถานการณ์ รถยนต์จะมีสัญญาณไฟไว้ทำไม ใช่ไหมล่ะ? คำตอบคือคุณจะใช้สัญญาณมือได้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน เช่น ไฟเบรคหรือไฟท้ายขัดข้อง หรือสัญญาณไฟฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้ กรณีที่คุณขับขี่รถยนต์ที่ไม่มีไฟเลี้ยว ไฟเลี้ยวพัง ชำรุด เสียหาย รวมถึงกรณีที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามารถมองเห็นสัญญาณไฟได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาณมือ ก่อนยื่นมือออกไปด้านนอกรถควรเช็คให้ดีก่อนเพื่อการขับรถปลอดภัย เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการเฉี่ยวชนได้
เรื่องควรรู้ สัญญาณไฟฉุกเฉินควรใช้ตอนไหน?
“ไฟผ่าหมาก” หรือสัญญาณไฟฉุกเฉิน คือ ปุ่มที่อยู่ใกล้กับช่องแอร์บริเวณหน้าคอนโซล เป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมสีแดงอยู่บนปุ่มสีดำ หากต้องการใช้งานปุ่มดังกล่าว เพียงแค่กดลงไป แค่นี้ไฟเลี้ยวทั้ง 4 จุดรอบคันจะกะพริบขึ้นมา หลายคนมักใช้เป็น สัญญาณเตือน แต่ต้องใช้หรือห้ามใช้ตอนไหน ไปดูคำตอบเลย
สัญญาณไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน?
- ควรใช้ตอนที่รถเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถได้
- ใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ทางข้างหน้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น, เบรกกะทันหัน
สัญญาณไฟฉุกเฉิน ไม่ควรใช้ตอนไหน?
- ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในวันที่ฝนตกหรือหมองลง เนื่องจากเป็นการรบกวนสายตาของผู้ร่วมทาง
- เมื่อขับรถผ่านสี่แยกไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะอาจทำให้รถคันอื่นเข้าใจผิดคิดว่าคุณจะเลี้ยว จนเกิดอุบัติเหตุตามมาได้
จะเห็นได้ว่าการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างคนขับรถด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณเลี้ยวซ้าย ขวา หรือใด ๆ ก็ตาม ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะต่างฝ่ายต่างเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการจะสื่อ นอกจากทำความเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว ควรเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ขับรถยนต์ตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด เพียงเท่านี้จะช่วยให้การเดินทางราบรื่น ปลอดภัย ห่างไกลจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันแล้วล่ะ
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
เฉี่ยวชน | ยานพาหนะสองคันหรือมากกว่า เกิดการกระทบหรือเสียดสีกันโดยไม่รุนแรงมากนัก |
แซง | แทรกลำดับเพื่อจะขึ้นหน้า, เบียดเสียดขึ้นไป |