Roojai

ใช้รถขับรับจ้างผ่านแอป ประกันคุ้มครองมั้ย? ประกันรถยนต์สาธารณะคืออะไร?

นำรถยนต์ส่วนตัวไปขับรับจ้างผ่านแอป ประกันรถยนต์คุ้มครองมั้ย | รู้ใจ

ปัจจุบันมีคนนำรถยนต์ไปสร้างรายได้เพิ่มเติม ซึ่งคนก็นิยมสมัครขับแกร็บรถยนต์ ไลน์แมน อูเบอร์ หรืออื่น ๆ เมื่อว่างจากงานประจำ เพราะจะขับไปไหนก็สร้างรายได้ทุกที่ทุกเวลา แต่เมื่อนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้รับจ้างผ่านแอป เคลมประกันรถยนต์ได้มั้ย มารู้จักประกันรถยนต์สาธารณะ และการจดทะเบียนรถรับจ้างกัน รู้ใจมีคำตอบในเรื่องนี้มาฝากกัน

ใช้รถส่วนบุคคลไปขับรับจ้างผิดกฎหมายมั้ย?

เมื่อคิดอยากจะเปลี่ยนรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นรถยนต์รับจ้างแบบนี้ทำได้มั้ยหรือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด ซึ่งเดิมทีการใช้รถส่วนตัว (รถป้ายขาว) ไปขับรับจ้างถือเป็นการใช้งานแบบผิดประเภท แต่เมื่อปี พ.ศ.2564 ครม.ไฟเขียว “รถยนต์ส่วนบุคคลวิ่งรับจ้างผ่านแอปฯ ถูกกฎหมาย”

โดยเป็นการอนุญาตให้รถยนต์ส่วนบุคคล มาจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์รับจ้างด้วยการรับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็น “ทางเลือก” สำหรับประชาชนในการให้บริการ และส่งเสริมให้ผู้ขับรถยนต์สามารถประกอบอาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ประกันรถยนต์สาธารณะคืออะไร | ประกันรถ | รู้ใจ

ใช้รถยนต์ส่วนตัวขับรับจ้าง เคลมประกันรถยนต์ได้มั้ย?

กรณีที่คุณนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะแล้วเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จะแบ่งเป็น 2 กรณี

1. พรบ.รถยนต์

หากมี พรบ.รถยนต์ ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ตามเดิม ซึ่งจะคุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายทั้งของเราและคู่กรณี เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน รวมถึงกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิต แต่จะไม่ให้ความคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถ เป็นต้น

2. ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ในปัจจุบันนี้การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ อาจมีการนำรถไปใช้แบบผิดประเภท ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งบางครั้งผู้เอาประกันภัยก็ไม่รู้และนำรถส่วนบุคคลไปวิ่งแกร็บหรือนำรถจักรยานยนต์ไปวิ่งวิน วิ่งแกร็บ วิ่งส่งของ หรือนำรถตู้ รถสองแถว ไปวิ่งรับ-ส่งนักเรียน แต่ตอนทำประกันภัยแจ้งว่าใช้ส่วนบุคคลแบบนี้ถือว่าใช้รถผิดประเภทซึ่งบริษัทประกันภัยจะไม่คุ้มครอง
โดยการใช้รถผิดประเภทในที่นี้คือ “นำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ในเชิงพาณิชย์” ซึ่งถ้าหากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม ทางบริษัทประกันอาจไม่ชดใช้ความเสียหายให้กับผู้เอาประกัน เนื่องจากถือว่า “ละเมิดเงื่อนไขในกรมธรรม์” แต่ไม่ต้องกังวล เพราะถึงแม้ว่าประกันภัยรถยนต์จะไม่คุ้มครองรถยนต์ที่นำมารับจ้าง แต่ในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก คู่กรณีหรือผู้โดยสาร จะยังคงได้รับความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไข

รู้ใจตอบ! แอปพลิเคชั่นไหนที่ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกแล้วบ้าง?

สำหรับใครที่อยากนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ขับรถยนต์รับจ้างผ่านแอปต้องรู้ก่อนว่ามีแอปพลิเคชั่นไหนที่ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกแล้วบ้าง ตอนนี้มีทั้งหมด 8 ราย ได้แก่ ฮัลโหลภูเก็ต เซอร์วิส (Hello Phuket Service), บอนกุ (Bonku), เอเชีย แค็บ (Asia Cab), โรบินฮู้ด (Robinhood), แกร็บ (Grab), แอร์เอเชียซูเปอร์แอป (Air Asia SuperApp), โบลท์ (Bolt) และ อินไดรฟ์ (InDrive)

ต้องทำยังไง? ถ้าอยากได้ความคุ้มครองจากประกันภัย

  • รถแท็กซี่

สิ่งที่ต้องทำหากต้องการการคุ้มครองในเรื่องประกันรถยนต์เมื่อรถไปใช้รับจ้าง หากจริงจังถึงขั้นเป็นรถแท็กซี่ก็ต้องไปจดทะเบียนรถสาธารณะให้ถูกต้องจะได้ป้ายทะเบียนสีเหลือง แล้วเลือกประกันรถยนต์ประเภทใช้งานเชิงพาณิชย์หรือประกันรถยนต์สาธารณะจะได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้อง ครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตัวรถจะได้รับความคุ้มครองแบบจัดเต็ม 

  • รถยนต์รับจ้างผ่านแอป

หากคุณสมัครขับแกร็บรถยนต์ ไลน์แมน โบลท์ ต้องจดทะเบียนรถรับจ้างผ่านแอป โดยต้องเป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกต้องมีกรมการขนส่งทางบกรับรอง เมื่อเปลี่ยนเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะมีสติกเกอร์ให้ติดตั้งหน้า-หลังรถ เราต้องติดในที่ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน แบบนี้หากเราซื้อประกันภัยรถยนต์สาธารณะไว้ก็เบาใจได้เมื่อเกิดเหตุร้ายและยังทำถูกต้องตามกฎหมายด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้าง? สำหรับรายละเอียดของการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาขับรับจ้างและประกันรถยนต์สาธารณะ จะเห็นได้ว่าประกันรถยนต์ไม่ว่าประกันรถสาธารณะ หรือประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ รวมไปถึงพรบ.รถยนต์มีความสำคัญมาก ๆ หากไม่ต้องการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพียงลำพัง อย่าลืมเลือกซื้อประกันที่ตอบโจทย์ และถูกต้องตามลักษณะการใช้งานให้มากที่สุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

รถยนต์ส่วนบุคคล ยานพาหนะประเภท 4 ล้อ ที่ใช้สำหรับการเดินทางส่วนตัว โดยไม่ได้ใช้เพื่อการค้าหรือรับจ้าง สามารถเป็นได้ทั้งรถเก๋ง กระบะ รถตู้ หรือรถ SUV
รถรับจ้างสาธารณะ ยานพาหนะที่ใช้รับส่งผู้โดยสารโดยคิดค่าบริการ
ประกันรถยนต์สาธารณะ ประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่ใช้ในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร