Roojai

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยช่วยคุณได้แม้โดนชนแล้วหนี

ข้อมูลที่ผู้ขับขี่หลายท่านอาจจะไม่เคยทราบ ว่าประกันรถแบบ พ.ร.บ. นอกจากที่จะต้องทำตามกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง เจ้าของรถ และบุคคลทั่วไปที่ประสบภัยจากรถหากเกิดอุบัติเหตุกรณีต่างๆได้มากมาย  เช่น ข่าวนขับรถตู้หลับในพุ่งชนรถดูดฝุ่นบนโทลล์เวย์ พ.ร.บ. ช่วยชดเชย วันนี้เรามาทำความรู้จักประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ให้มากขึ้น พร้อมตัวอย่างการช่วยเหลือทดแทนผู้ประสบภัย กรณีต่างๆ กัน

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่  เจ้าของรถยนต์ทุกประเภท ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ. กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  เข้าใจอย่างนี้แล้วก็จำเป็นต้องทำพ.ร.บ. ให้เรียบร้อยต่อเนื่องทุกปี แต่นอกจากที่กฎหมายบังคับแล้ว ควร ศึกษาความคุ้มครองดังนี้

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.

ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้

  1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  3. (ก) ตาบอด
  4. (ข) หูหนวก
  5. (ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
  6. (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
  7. (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
  8. (ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
  9. (ช) จิตพิการอย่างติดตัว
  10. (ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
  11. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  12. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  13. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน

นอกจากนี้ยังมีส่วนของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกัน  ซึ่งรวมถึงกรณีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย กรณีดังต่อไปนี้

  1. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยมิได้จัดทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 30,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท )
  2. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้ว

3.รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามที่กฎหมายกำหนดไว้

  1. รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
  2. บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
  3. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย

กฎหมายกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

ประโยชน์ของการประกันภัยรถยนต์

ทั้งการทำประกัน พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์ภาคสมัคร ถือเป็นวิธีที่ดีในการบริหารทรัพย์สิน เพราะช่วยลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติภัยหรือการสูญหายที่อาจเกิดต่อรถยนต์ของผู้เอาประกัน ช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และไม่ทำให้เจ้าของรถต้องชดเชยความเสียหายที่อาจมากเกินรับไหว

ด้วยระบบการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ของรู้ใจ คุณสามารถเช็คเบี้ยประกันรถ และเลือกซื้อทั้ง ประกัน พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครในคราวเดียวกัน เพียงคลิก “รวมประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)” ด้วยดังภาพ

ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ “รู้ใจ” ดูแลรถให้คุณ คลิก เช็คเบี้ยประกันรถ หรือโทร 02 582 8888

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oic.or.th