Roojai

7 ค่าใช้จ่ายประจำที่คนใช้รถต้องเสียทุกปี

สำหรับผู้ใช้รถทุกท่าน..มีใครเคยคิดไหมว่า ในแต่ละปีเราต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรไปกับรถบ้าง รวมๆ แล้วเป็นเงินเท่าไร มีค่าอะไรที่จำเป็นต้องจ่าย และอะไรไม่จำเป็นต้องจ่ายในแต่ละปี Roojai.com ได้รวมเอา 7 ค่าใช้จ่ายประจำที่ผู้ใช้รถต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี มาให้ดูว่ามีอะไรเท่าไหร่บ้าง เผื่อว่าจะเอาเป็นตัวอย่างในการวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนให้เป็นไปอย่างราบรื่นแบบไม่มีสะดุด

แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในแต่ละปีนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจัย เช่น ถ้าขับรถหรูราคาแพง ค่าใช้จ่ายก็แรงตามไปด้วย ระยะทางการใช้รถในแต่ละวันก็มีผล คนที่ทำงานไกลบ้านคงต้องแบกภาระหนักหน่อย รวมถึงความผันผวนของราคาน้ำมัน และอื่นๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายทั้งสิ้น

ในยุคนี้ค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้เงินอย่างและคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อรักษาสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินแต่ละเดือน

ค่าใช้จ่ายหลักๆ ในรอบปีแบ่งได้เป็นกลุ่มๆ ตามกรอบระยะเวลาที่ต้องใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายรายวันอย่าง ค่าน้ำมัน, ค่าทางด่วน หรือค่าจอดรถ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าผ่อนงวดรถ, ค่าล้างรถ และค่าบำรุงรักษารถ และ ค่าใช้จ่ายรายปี เช่น ค่าประกันภัย, ค่าต่อภาษี และค่าต่อ พรบ. ซึ่งทั้งหมดนี้คือค่าใช้จ่ายประจำ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งานและตัวแปรต่างๆ มากมายตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นไม่รวมเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละปี  เรามาลองมาคำนวณกันดูว่าปีๆ นึงคุณหมดไปกับรถเท่าไหร่ กับ 7 ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสียเป็นประจำในแต่ละปี

ค่าผ่อนงวดรถ

1. ค่าผ่อนงวดรถ ถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องใช้เงินก้อนโตในการจ่ายค่างวดในแต่ละเดือน จำนวนเงินผ่อนในแต่ละเดือนนั้นจะคิดแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ คือ เงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแล้วหารจำนวนเดือนที่จะผ่อน

ตัวอย่างเช่น..ถ้าเราต้องการจะซื้อรถคันใหม่ราคา 600,000 บาท มีเงินดาวน์ 300,000 บาท ผ่อน 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5% ตัวเลขยอดจัดเช่าซื้อคือ 300,000 บาท ผ่อน 60 เดือน เดือนละ 6,250 บาท เป็นต้น ก่อนจะซื้อรถแนะนำให้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแคมเปญและดอกเบี้ยอย่างละเอียด อย่าหลงกลโปรชั่นส่งเสริมการตลาด เพราะสุดท้ายคนที่เสียเปรียบจะกลายเป็นตัวคุณเอง โดยเฉพาะโปรฯ ดาวน์น้อยผ่อนนาน ที่อาจจ่ายน้อยในตอนแรก แต่เมื่อบวกลบคูณหารดีๆ แล้วอาจต้องเจอกับดอกเบี้ยที่บานเบอะจนน่าตกใจ ดังนั้นก่อนซื้อควรดูภาพรวมว่าสุดท้ายเราต้องจ่ายเท่าไหร่ จะผ่อนมากผ่อนน้อยหรือผ่อนยาวต้องดูกันให้ดีๆ

นอกเราจะต้องรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อแล้ว เมื่อซื้อมาแล้วเราก็มีหน้าที่จ่ายค่างวดให้ตรงทุกๆ เดือนเพราะถ้าคุณส่งค่างวดช้าจะต้องเสียค่าปรับ และอาจทำให้เสียเครดิต หรือร้ายแรงจนถึงขั้นถูกยึดรถได้ เราควรมีวินัยในการใช้จ่ายตรงจุดนี้ เตรียมเงินไว้ให้พร้อมก่อนถึงกำหนดส่งค่างวดในทุกๆ เดือนดีที่สุด

ค่าประกันรถยนต์

2. ค่าประกันภัยรถยนต์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ่ายในทุกๆ ปี เพื่อเป็นตัวช่วยโอนความเสี่ยงเมื่อเกิดอุบัติเหตุไปให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อม มีให้เลือกประกันตั้งแต่ประกันชั้น 3 ราคา เริ่มต้นประมาณพันกว่าบาท ไปจนถึงประกันชั้น 1 ราคาประมาณ 5,xxx – 10,xxx บาท ขึ้นไป (ราคาจาก Roojai.com) ตามประเภท, ขนาดของรถ และรายละเอียดอื่นๆ รวมถึงโปรโมชั่นของแต่ละบริษัทประกัน ถ้ารถใหม่ป้ายแดงปีแรกมักจะมีประกันชั้น 1 แถมมาให้

อย่างไรก็ตามเพื่อความสบายใจอย่างน้อยควรทำประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ไว้เผื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียค่าซ่อมที่แพงกว่าค่าประกันภัยหลายเท่าตัว แต่สำหรับผุ้ที่มีกำลังซื้อ จัดประกันชั้น 1 ได้เลยรับรองหายห่วง ลองเข้าไปเช็ครายละเอียด คลิกเช็คราคาเบี้ยในเว็บไซต์ Roojai.com นี้ดูก่อนก็ได้ จะซื้อก็ง่ายแค่นั่งคลิกอยู่ที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แค่นี้คุณก็ได้ประกันภัยรถยนต์ไปคุ้มครองให้เสร็จสรรพ แถมยังเลือกได้ว่าจะจ่ายครั้งเดียว หรือผ่อนผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตเป็นงวดๆ ก็ได้ สบายกระเป๋า

ค่าประกัน พ.ร.บ.

3. ค่าประกัน พ.ร.บ. ที่เราต้องเสียเป็นประจำทุกปีนั้น ถือเป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมีไว้สำหรับคุ้มครองผู้ประสบภัย ที่เราจำเป็นต้องจ่ายในทุกๆ ปี ซึ่งมีความสำคัญและคุ้มค่ามากๆ ในราคาที่แสนถูก แต่ให้ความคุ้มครองกับทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด (เฉพาะคนเท่านั้น) ไม่เกี่ยวกับรถที่เสียหาย

อัตราเบี้ยประกันภัยคงที่ไม่รวมภาษีอากร สำหรับการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คือ  รถเก๋ง 600 บาท รถกระบะ 900 บาท และรถตู้ (ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) 1,100 บาท (ราคากลางจาก คปภ.) แนะนำว่าจำเป็นต้องทำเพราะถ้าคุณไม่ยอมต่อ พ.ร.บ. อย่างแรกคือ คุณจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ หากคุณใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. แล้วเจอตำรวจเรียกจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 หรือทำแล้วไม่ติดก็จะโดนค่าปรับถึง 1,000 บาท ซึ่งแพงกว่าค่า พ.ร.บ.เสียอีก

4. ค่าต่อภาษีรถยนต์ประจำปี เป็นอีกหนึ่งภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเป็นประจำทุกปี ซึ่งค่าภาษีของรถแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถ ความจุเครื่องยนต์ ไปจนถึงอายุการใช้งาน เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (0.5-1.5 บาท/ซีซี) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถ SUV รถประเภทนี้คิดภาษี ตามซีซี แบบเป็นสเต็ปขั้น คือ ตั้งแต่ 1 – 600 ซีซี ละ 0.50 สตางค์ จาก 601-1800 ซีซี ละ 1.50 บาท และ 1801 ซีซี ขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท ตัวอย่างการคำนวณภาษี รถยนต์ Honda Jazz เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี

  • คิด 600 ซีซี แรก ซีซี ละ 0.5 บาท ดังนั้น 600 x 0.5 = 300 บาท
  • ตั้งแต่ 601-1500 ซีซี ละ 1.50 บาท ดังนั้นเฉลี่ย(1,500 – 600) = 900 x 1.50 = 1,350 บาท รวมเป็นค่าภาษีทั้งหมด 300 + 1,350 = 1,650 บาท

โดยอัตราค่าภาษี ปีที่ 1 – 5 จะคงที่ ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะลดภาษีลง 10% ไปจนสูงสุดถึง 50% ในปีที่ 10 และจะคงที่ 50% ในปีต่อๆ ไป  และรถที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี จะต้องจะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพ ตรอ. จึงจะสามารถต่อภาษีได้

ในกรณีที่ขาดการต่อภาษีประจำปี คุณจะโดนค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ นอกจากนี้ยังอาจถูกจับปรับ หากใช้รถที่ไม่เสียภาษีประจำปี หรือไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี จะมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ถ้าขาดการชำระค่าภาษีติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี รถยนต์นั้นจะถูกระงับในส่วนของการใช้ทะเบียน

ดังนั้นเรื่องแบบนี้ไม่ควรเพิกเฉยหรือล่าช้าไม่งั้นจะไม่คุ้มกับค่าปรับ จะไปต่อที่ขนส่งฯใกล้บ้าน จะจ่ายผ่านเซเว่นอีเลฟเว่นก็สะดวกดี หรือ ต่อภาษีแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บของกรมขนส่งทางบก ก็ได้สะดวกมากๆ

ค่าบำรุงรักษารถยนต์

5. ค่าบำรุงรักษารถยนต์ เช็กตามระยะทุก 10,000 กม. หรือประมาณ 6-12 เดือน คุณต้องนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการ ค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็จะเป็นพวก ของเหลว เช่น น้ำมันเครื่อง, กรองอากาศ ที่ต้องเปลี่ยนทุกรอบที่เข้าเช็ค นอกจากนี้ยังมีอะไหล่ต่างๆ ที่เสื่อมสภาพและต้องเปลี่ยนตามระยะการใช้งาน เช่น ผ้าเบรก, น้ำมันเบรก, แบตเตอรี่ และอื่นๆ สำหรับรถใหม่ป้ายแดงในระยะ 3 ปี หรือ 100,000 กม. แรกมักจะมีเคมเปญดูแลค่าแรงให้ฟรี เสียแค่ค่าอะไหล่เท่านั้น บางยี่ห้อให้มา 5 ปีกันเลย ไม่ควรเสียโอกาสอย่างยิ่ง ควรเข้าไปเช็คและเปลี่ยนตามระยะจะคุ้มค่ากว่า อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหนักกว่าเดิม ทำให้ต้องเสียเงินมากขึ้นด้วย

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง คือค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายบ่อยที่สุดและมากที่สุด ขึ้นอยู่กับการใช้งานและอัตราสิ้นเปลืองของรถยนต์แต่ละรุ่น รวมถึงพฤติกรรมการขับไปจนถึงสภาพรถ ล้วนมีส่วนทำให้ค่าน้ำมันของคุณมากหรือน้อย ซึ่งคุณสามารถคำนวนค่าน้ำมันได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ เริ่มต้นด้วยการหาค่าอัตราสิ้นเปลืองสิ้นเปลืองเฉลี่ยว่าวิ่งได้กี่ (กม./ลิตร) จากนั้นค่อยคิดว่าตกกิโลเมตรละกี่บาท (กม./บาท) ใน 1 วันเราใช้รถประมาณกี่กิโลเมตรก็คูณเข้าไปจะได้ ค่าน้ำมันต่อ 1 วัน (บาท/วัน) แล้วนำไป คูณจำนวนวันในแต่ละเดือน และจบด้วยการคูณ 12 เดือน ได้ออกมาเป็นค่าน้ำมันที่ต้องเติมใน 1 ปี

ค่าล้างรถ

7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าล้างรถ, ค่าที่จอดรถ, ค่าทางด่วน และค่าตกแต่งรถยนต์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มียอดตายตัวที่จ่ายกันอยู่เป็นประจำ เช่น ค่าล้างรถที่อาจเสียบ่อยช่วงซื้อรถมาใหม่ๆ และค่อยๆ น้อยลงตามสภาพการใช้งาน ค่าทางด่วนขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้างตามความจำเป็น ค่าจอดรถแต่ละที่เก็บไม่เท่ากันอยู่แล้วเว้นแต่ว่าคุณจะต้องเช่าที่จอดรายเดือน ส่วนค่าตกแต่งรถยนต์ขึ้นอยู่กับความชอบประเมินราคาไม่ได้เช่นกัน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถปรับลดทอนได้ตามความจำเป็น

ตัวอย่างการคำนวณค่าใช้จ่าย

ตัวอย่าง รถยนต์ Honda Jazz  รุ่น S/AT ปี 2017 เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ราคา 594,000 บาท (ดาวน์ 25% ผ่อน 72 งวด) เลขไมล์อยู่ 21,000 กม. สิ่งที่ต้องจ่ายประจำทุกปีต่างๆ มีดังนี้

1. ค่าผ่อนงวดรถ : 7,300 บาท/เดือน หรือ 87,600 บาท/ปี
2. ค่าประกันภัยชั้น 1 : 10,000 บาท/ปี (ราคาจาก Roojai.com คุณสามารถลองเช็คเบี้ยราคาดีแบบนี้ได้ด้วยตัวเอง เพียงคลิก “เช็คราคา”)
3. ค่าต่อภาษีรถยนต์ประจำปี : 1,650 บาท/ปี
4. ค่า พ.ร.บ. : 645 บาท/ปี
5. ค่าบำรุงรักษารถยต์ : เช็คระยะทุก 10,000 กม. หรือประมาณ 6-12 เดือน/ครั้งค่าอะไหล่รวมค่าแรงตั้งแต่ 987.4 ไปจนถึง 5,263.1 บาท (ตามระยะทาง) ปีนี้เช็คระยะ ที่ 30,000 กม. ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,921.4 บาท เป็นต้น
6. ค่าน้ำมัน : ขับใช้งานในชีวิตประจำวันไม่เกิน 60 กม./วัน อัตราสิ้นปลืองเฉลี่ยอยู่ที่ 12 กม./ลิตร เติมแก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 26.75 บาท (ราคาล่าสุดวันที่ 17 ก.พ.2019) ค่าน้ำมันจะอยู่ที่ประมาณ 133.75 บาท/วัน หรือ 4,012 บาท/เดือน และ 48,150 บาท/ปี
7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ : เช่น ค่าล้างรถ, ค่าทางด่วน ,ค่าที่จอด, ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวและอื่นๆ ราว 5,000 – 8,000 บาท/ปี โดยประมาณ

รวมค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายแต่ละปีประมาณ 165,966 บาท/ปี ไม่รวมค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น ยางแตก ยางรั่ว แบตฯหมด รวมถึง ค่าปรับ และอื่นๆ บวก/ลบ 5,000 – 10,000 บาท/ปี เบ็ดเสร็จต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 170,000 – 180,000 บาท/ปี สำหรับรถยนต์ราคาไม่เกิน 6 แสนบาท 1  คัน

เมื่อเราทราบค่าใช้จ่ายในแต่ละปีว่าต้องจ่ายค่าอะไรตอนไหนแล้ว เราก็สามารถวางแผนการค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ ตรงไหนลดได้ก็ลองลดดู อะไรที่จำเป็นก็จ่ายไปตามเดิม ตัวอย่างเช่น ค่าประกันภัยรถยนต์ ที่มียอดค่อนข้างสูง ถ้าเราจ่ายทีเดียวพร้อมกับค่าผ่อนงวดรถ รับรองเดือนนั้นคุณหน้ามืดแน่ ซึ่งเราสามารถเลือกที่ถูกกว่าและเหมาะกับการใช้งานของคุณมากกว่าได้ ลองเข้าไปเปรียบเทียบราคาดูได้ที่เว็บไซด์ Roojai.com แห่งนี้ เพราะมีตัวเลือกส่วนลดให้ค่าประกันภัยรถยนต์ประหยัดขึ้นมาก ดังนี้

  • การปรับแต่งเลือก ค่าเสียหายส่วนแรก
  • หากติดตั้งกล้องติดรถยนต์ ได้ส่วนลด อีก 10%
  • การระบุชื่อผู้ขับขี่
  • การเลือกซ่อมอู่ในเครือ ซึ่งรับประกันงานซ่อม 12 เดือน
  • การเลือกรับส่วนลดประวัติดี (อ้างอิงจากข้อมูลประกันภัยที่ผ่านมา)
  • และยังสามารถผ่อนสบาย 10 งวด ได้อีกด้วย เพียงผ่อนผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ลองคลิกเช็คราคา ได้เลย

แล้วคุณจะรู้ว่าไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เพื่อเป็นการตีกรอบค่าใช้จ่ายให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับรายได้ เช่น
– ค่าใช้จ่ายประจำทุกเดือน ไม่ควรเกิน 45% ของรายได้
– ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ควรเกิน 35% ของรายได้
– ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินไม่ควรเกิน 10% ของรายได้
– ที่เหลือเป็นเงินเก็บ 10% สำหรับไว้ใช้จ่ายในอนาคต

สุดท้ายอย่าลืมเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทาง ด้วยประกันรถที่รู้ใจคุณที่สุด ประกันชั้น 2 กับ Roojai.com ประกันรถออนไลน์ พร้อมบริการคุณตลอดเวลา เช็คเบี้ยออนไลน์ได้ราคาทันทีผ่านเว็บไซต์ กับราคาที่แฟร์กว่า คำนวณตามลักษณะการขับขี่ของคุณโดยเฉพาะ