Roojai

เจาะลึก ประโยชน์ของระบบเบรค Regenerative braking ในรถไฟฟ้า

Article Roojai Verified
การทำงานของระบบเบรคแบบรีเจนเนอเรทีฟ (Regenerative braking) ในรถยนต์ไฟฟ้า

หนึ่งในความปลอดภัยที่คนมีรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถไฮบริควรให้ความใส่ใจไม่แพ้แบตเตอรี่ คือ ระบบเบรครถยนต์ โดยเฉพาะ Regenerative braking ที่ช่วยให้การขับขี่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในไทย แต่ระบบเบรครถยนต์ดังกล่าวคืออะไร มีระบบการทำงานเป็นยังไง และข้อควรรู้อื่น ๆ รู้ใจลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปทำความเข้าใจกันสักหน่อยดีกว่า

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ระบบเบรค Regenerative braking ในรถไฟฟ้า คืออะไร?

ระบบเบรค Regenerative braking คือ เทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นเมื่อเรากดเบรคให้รถชะลอหรือหยุด โดยพลังงานนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยิ่งเบรคยิ่งชาร์จพลังงานให้รถ โดยรถไฟฟ้า EV จะใช้พลังงานที่ผลิตขึ้นเมื่อเบรค แล้วอาจนำมาใช้งานเลยหรือเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ภายหลัง

ตัวระบบเบรครถยนต์นี้ไม่ได้เพิ่งถูกคิดค้นขึ้น แต่ได้มีการพัฒนามานานหลายทศวรรษนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1967 เป็นต้นมา กระบวนการนี้ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรก ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำพลังงานที่เกิดขึ้นระหว่างการเบรค ส่งกลับไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งระบบ Regenerative braking  ได้รับความนิยมมากขึ้นจากความต้องการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด

ข้อดีของระบบเบรคแบบรีเจนเนอเรทีฟ (Regenerative braking) ในรถยนต์ไฟฟ้า

Regenerative braking ทำงานยังไง?

ข้อมูลที่คนมีรถไฟฟ้าต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับต่อมา คือ การทำงานของระบบเบรค Regenerative braking  ในรถไฟฟ้า อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ โดยเทียบกับระบบเบรคดั้งเดิม

โดยเมื่อคุณเหยียบเบรคที่ใช้ระบบเบรคดั้งเดิม ผ้าเบรกจะกดทับจานเบรคและสร้างแรงเสียดทานเพื่อชะลอความเร็ว เมื่อรถชะลอความเร็ว พลังงานจลน์ของรถยนต์จะกลายเป็นความร้อน ณ จุดที่ผ้าเบรกและจานเบรคเสียดสีกันซึ่งพลังงานนี้ส่วนใหญ่จะสูญเสียไป ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่ในรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดได้รับการออกแบบมาให้เก็บพลังงานนั้นมาใช้ในแบตเตอรี่ หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือพลังงานจากการชะลอความเร็วจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วส่งกลับไปเก็บในแบตเตอรี่ แทนที่จะสูญเสียเป็นความร้อนแบบเบรคปกติ

Tips: รถที่มี Regenerative braking จะทำงานร่วมกับระบบเบรคดั้งเดิมนะ

ในรถยนต์ที่มีระบบ regenerative braking ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า (EV) หรือรถไฮบริด จะมีระบบเบรครถยนต์ทั้งสองแบบ ทั้ง regenerative braking และ เบรคดั้งเดิม (ที่ใช้ผ้าเบรก) จะทำงานร่วมกันโดย

  • Regenerative braking ใช้ได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องเบรคเบา ๆ หรือชะลอความเร็ว ซึ่งจพนำพลังงานกลับไปเก็บในแบตเตอรี่
  • ถ้าเบรคแรงมาก เบรคกะทันหัน ต้องการหยุดรถทันที ระบบเบรคดั้งเดิม จะเข้ามาช่วยเพื่อให้ความปลอดภัย ทำให้แรงเบรคเพียงพอ

ประสิทธิภาพของระบบ Regenerative braking

จริงอยู่ว่า การเหยียบเบรคในแต่ละครั้ง จะมีพลังงานบางส่วนถูกสะสมไว้ในแบตเตอรี่ ให้รถสามารถนำไปใช้งานได้ แต่ระบบเบรคแบบรีเจนเนอเรทีฟไม่สามารถชาร์จแบตรถไฟฟ้าให้เต็มได้ แต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและระยะทางการเดินทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการขับขี่ในเมือง โดยระบบเบรครถยนต์แบบรีเจเนอเรทีฟช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและยืดระยะทางการขับขี่ของรถไฟฟ้าได้ถึง 8-25% (อ้างอิง: circuitdigest.com)

จุดเด่น-จุดด้อยของระบบเบรค Regenerative braking 

จุดเด่นของระบบเบรค Regenerative braking

  • นำพลังงานที่ปกติจะสูญเสียไปในรูปของความร้อนขณะเบรคกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งช่วยให้รถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มระยะทางในการขับขี่ของรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถไฮบริด
  • ช่วยลดการสึกหรอของระบบเบรคแบบดั้งเดิม เพราะใช้เบรคจริงน้อยลง จึงยืดอายุการใช้งานของผ้าเบรกและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย

จุดด้อยของระบบเบรค Regenerative braking

  • ประสิทธิภาพของการเบรคจะลดลงหากแบตเตอรี่เต็มแล้ว เพราะไม่มีที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นไปเก็บ
  • บางสถานการณ์ที่ต้องการแรงเบรคมาก เช่น การเบรคกะทันหันหรือขณะขับลงเขา ระบบ regenerative braking อาจไม่สามารถให้แรงเบรคได้เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ระบบเบรครถยนต์ปกติร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
  • ความรู้สึกตอนเหยียบเบรคระบบ regenerative braking จะไม่ได้รู้สึกเหมือนเบรคปกติเป๊ะ ๆ โดยเฉพาะเวลาเหยียบเบรคเบา ๆ หรือปล่อยคันเร่งในรถไฟฟ้า EV บางรุ่นจะรู้สึกเหมือนรถหน่วงเอง
รถ EV ในไทยที่ใช้ระบบเบรคแบบรีเจนเนอเรทีฟ (Regenerative braking)

ประโยชน์ของเบรค Regenerative braking ไม่ได้ใช้แค่กับรถยนต์

ใจความสำคัญของระบบเบรคแบบ Regenerative ไม่ใช่แค่การ “เบรคแล้วชาร์จไฟ” ในรถไฟฟ้า แต่คือการประยุกต์เพื่อนำพลังงานที่สูญเสียเปล่า ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ในรถยนต์ แนวคิดนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น

  • จักรยานไฟฟ้า – ตอนนี้หลายรุ่นเริ่มติดตั้งระบบ regenerative braking แล้ว โดยเฉพาะรุ่นที่ใช้มอเตอร์ล้อหลัง เช่น เวลาเราปั่นลงเขาหรือเบรค ระบบจะดึงพลังงานกลับมาชาร์จแบตเล็ก ๆ ที่ใช้ช่วยตอนปั่นขึ้นทางชันได้อีก ช่วยยืดระยะทางการใช้งานโดยไม่ต้องชาร์จบ่อย
  • ลิฟต์ – ในลิฟต์บางรุ่น โดยเฉพาะลิฟต์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง เช่นในตึกสูงใหญ่ ๆ เวลาที่ลิฟต์เคลื่อนที่ลง (โดยเฉพาะขณะไม่มีผู้โดยสาร) จะมีแรงโน้มถ่วงดึงลิฟต์ลงมา ซึ่งปกติพลังงานตรงนี้จะถูกปล่อยทิ้งเป็นความร้อน แต่ระบบ regenerative จะเปลี่ยนพลังงานนี้ให้เป็นไฟฟ้ากลับเข้าระบบตึก ช่วยลดค่าไฟได้จริง

ต้องยอมรับว่ารถพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบเบรครถยนต์ที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจ และความปลอดภัยให้คุณได้ตลอดการเดินทาง ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ระบบเบรครถยนต์ถือเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาที่ไม่ควรปล่อยผ่าน เพื่อให้การใช้งานรถ ev ในไทยของคุณราบรื่น และเกิดอุปสรรคต่าง ๆ น้อยที่สุด

และนอกจากเรื่องประสิทธิภาพของระบบเบรครถยนต์แล้ว การมีประกันรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองจะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะคนที่ขับรถบ่อย ๆ หรือขับรถทางไกลยิ่งมีโอกาสเสี่ยงอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่า มีประกันติดไว้ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้ตลอดการเดินทางแล้ว สามารถเปรียบเทียบและเช็คแผนความคุ้มครองกับรู้ใจได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ด้านสุขภาพ รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยบกับประกันภัยต่าง ๆ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ได้เลย (Official LINE ID: @roojai)

คำจำกัดความ

พลังงานจลน์ พลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระบบเบรคแบบดั้งเดิม คือระบบเบรคที่ใช้หลักการ แรงเสียดทานเพื่อชะลอหรือหยุดการเคลื่อนที่ของรถ โดยเมื่อผู้ขับเหยียบเบรค จะเกิดการกดทับระหว่างผ้าเบรก (brake pad) กับจานเบรค (disc) หรือดรัมเบรค (drum) ซึ่งทำให้เกิดแรงต้าน และเปลี่ยนพลังงานจลน์ของรถให้กลายเป็นพลังงานความร้อน แล้วสลายไป
previous article
< บทความก่อนหน้า

รถขับเคลื่อน 2 ล้อ กับ 4 ล้อ ต่างกันยังไง? วิธีเลือกให้ตอบโจทย์