
เรามักจะเห็นเด็กเล็กหรือเด็กแรกเกิด เดินหรือคลานหกล้มอยู่บ่อย ๆ เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ยังไม่แข็งแรงมากนัก ประกอบกับวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็นเล่นซนไปเรื่อย ทั้งอุบัติเหตุจากการหกล้มหัวกระแทกพื้น หัวแตก หรือแม้กระทั่งตกจากบันได ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฎบาดแผลภายนอก แต่บางครั้งอาจส่งผลให้สมองของเด็กได้รับการกระทบกระเทือนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพัฒนาการเด็กได้ ในบทความนี้ รู้ใจอยากให้ผู้ปกครองที่กำลังมีลูกน้อยได้อ่านไว้เป็นความรู้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นและเด็กเริ่มมีอาการที่แสดงถึงความผิดปกติ จะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- หัวกระแทกพื้นบ่อยแค่ไหนถึงอันตราย?
- หัวกระแทกพื้นแบบไหนถึงอันตราย?
- เมื่อเด็กหัวกระแทกพื้นต้องทำยังไงบ้าง?
- หลังการรักษาหัวกระแทกพื้น เด็กควรปรับตัวในชีวิตประจำวันยังไง?
- วิธีป้องกันไม่ให้เด็กหัวกระแทกพื้นรุนแรง
หัวกระแทกพื้นบ่อยแค่ไหนถึงอันตราย?
การที่หัวกระแทกพื้นบ่อย ๆ แบบไม่รุนแรง ไม่มีแผลภายนอกชัดเจน หรือทำให้หมดสติไปเลยในเด็กนั้นอาจส่งผลถึงพัฒนาการบางอย่างในสมองได้ และสามารถส่งผลเสียสะสมในอนาคต จนส่งผลให้เกิดโรคในเด็กได้อาการที่อาจพบได้ มีดังนี้
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- ความจำเสื่อม
- อารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า
- เคลื่อนไหวไม่ปกติ
- ปัญหาการนอนหลับไม่สนิท
อย่างไรก็ตาม หากลูกล้มบ่อย ๆ ควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หาสาเหตุ และวิธีป้องกันจะดีที่สุด
หัวกระแทกพื้นแบบไหนถึงอันตราย?
ความอันตรายจากเหตุที่เด็กหัวกระแทกพื้นสามารถพิจารณาได้จาก 2 ปัจจัยหลัก
- สภาพสถานที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ถูกของแหลมคม กระแทกพื้นอย่างแรง แบบนี้ควรรีบไปพบแพทย์
- สังเกตอาการผิดปกติ โดยหากมีอาการดังนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
- หมดสติ ชักเกร็ง กระตุก
- ซึมผิดปกติ
- อาเจียน
- ปวดหัวรุนแรง
- ตาพร่ามัวหรือมองเห็นภาพซ้อน
เมื่อเด็กหัวกระแทกพื้นต้องทำยังไงบ้าง?
สำหรับการปฐมพยาบาลให้เด็กหัวกระแทกพื้นหรือการล้มหัวฟาดพื้นที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ การประคบเย็นเพื่อลดความบวม หากมีแผลสามารถทาแผลได้ แต่!!! ไม่ควรให้เด็กรับประทานยาชนิดใดทั้งสิ้น เช่น ยาแก้ปวด แก้อักเสบ เพราะยาเหล่านี้อาจทำให้สัญญาณเตือนความผิดปกติหายไป และผู้ปกครองต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตอาการที่อาจตามมาทีหลัง เพื่อไม่ทำให้การรักษาล่าช้าและอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก หรืออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กด้านอื่น ๆ
การล้มหัวกระแทกพื้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ยิ่งในเด็กที่ชอบวิ่งเล่นหรือปีนป่าย โอกาสในการหกล้มจึงสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ศีรษะได้ การมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะช่วยซัพพอร์ตค่ารักษาที่พ่อแม่ต้องจ่าย ประกันอุบัติเหตุที่รู้ใจทำได้ตั้งแต่อายุ 1 – 65 ปี ปรับแต่งแผนความคุ้มครองได้ตามใจ เลือกตามไลฟ์สไตล์ที่คุณต้องการ
Tips : เบอร์ฉุกเฉิน เพื่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วน
หากเกิดเหตุการณ์เด็กล้มหัวกระแทกพื้น หรือตกจากที่สูงและหมดสติ ไม่ควรทำการเคลื่อนย้ายเด็กเด็ดขาด เพราะอาจจะทำผิดวิธีและอาจทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงกว่าเดิม แนะนำว่าควรโทรขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1669
หลังการรักษาหัวกระแทกพื้น เด็กควรปรับตัวในชีวิตประจำวันยังไง?
- หากอยู่ในวัยเรียน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้หยุดเรียนไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ช่วงที่งดเรียนควรพักผ่อนให้มาก ๆ
- กลับมาเรียนช่วงแรก ๆ ควรให้เรียนแค่ครึ่งวันก่อนและให้ครูคอยสังเกตอาการ หากเด็กมีอาการผิดปกติ หรือเรียนไม่ไหวแนะนำให้ผู้ปกครองมารับกลับบ้าน
- หากเด็กกลับมาเรียนได้ตามปกติ ควรงดวิชาพลศึกษาก่อนจนกว่าจะครบ 6 สัปดาห์
- งดการเล่นกีฬาที่มีการปะทะกันแรง ๆ หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น ปีนต้นไม้ กระโดดแทรมโพลีน ปั่นจักรยาน โดยต้องงดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมลักษณะนี้ 6 สัปดาห์ แต่หากเด็กสบายดีแล้ว สามารถให้วิ่งเล่นเบา ๆ ได้ แต่ต้องหลัง 4 สัปดาห์หลังจากเกิดการบาดเจ็บ
- จำกัดเวลาในการเล่นโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่เกิน 30 นาที/ครั้ง และไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง/วัน อุปกรณ์เหล่านี้อาจไปรบกวนการทำงานของสมอง
- แนะนำให้อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนอนหลับพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นตัวจะดีที่สุด
- กิจกรรมที่แนะนําช่วงพักฟื้นคือ อ่านหนังสือ ฟังเพลงบรรเลงเบา ๆ และนอนหลับให้เพียงพอ
- ควรมาตามนัดแพทย์ทุกครั้งแม้ว่าอาการจะหายดีแล้วก็ตาม
วิธีป้องกันไม่ให้เด็กหัวกระแทกพื้นรุนแรง
วัยเด็กเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง และไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ดังนั้นแล้วสิ่งที่เราต้องทำให้ดีคือเลี้ยงเด็กให้ปลอดภัยจากปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เด็กหัวกระแทกพื้นได้ ดังนี้
- จัดบ้านให้ปลอดภัย เก็บข้าวของให้เป็นที่ ไม่รกเกะกะทางเดิน และไม่ให้เด็กไปเล่นในบริเวณพื้นต่างระดับหรือบันได
- เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ปลอดภัย ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีเหลี่ยมมุมแหลมคม และมีความมั่นคง เพื่อลดความรุนแรงเมื่อหัวไปกระแทก หรือหากมีขอบหรือมุมที่แหลม แนะนำให้ซื้อซิลิโคนหรือยางกันกระแทกขอบโต๊ะ
- ให้เด็กใส่รองเท้าหรือถุงเท้าที่มียางกันลื่น เพื่อป้องกันการลื่นล้มขณะเดินหรือคลาน หรือปูพื้นด้วยแผ่นรองสำหรับเด็ก
- เลือกของเล่นเด็กที่ไม่มีเหลี่ยม ไม่มีมุมแหลมคม น้ำหนักเบา มีปัจจัยก่อให้เกิดอันตรายจากการกระแทกหัวได้น้อย
- ทาน้ำยากันลื่น ในบริเวณที่มีโอกาสลื่นล้ม เช่น ห้องน้ำหรือพื้นที่ที่เปียกบ่อย
- ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นอยู่ตามลำพัง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง
การทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันสุขภาพเด็ก ให้กับลูกหรือเด็กวัยกำลังซนเป็นทางเลือกให้ผู้ปกครองนำมาพิจารณา เพราะวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และเล่นซน การหกล้ม บาดเจ็บ มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย และเมื่อเกิดขึ้นประกันจะช่วยซัพพอร์ตค่ารักษา รวมทั้งสามารถเลือกให้ลูกเข้าถึงการรักษาที่ต้องการได้อีกด้วย
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ด้านสุขภาพ รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประกันภัยต่าง ๆ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ได้เลย (Official LINE ID: @roojai)
คำจำกัดความ
แทรมโพลีน | คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับออกกำลังกายประเภทหนึ่ง ที่ใช้ผืนผ้าใบขึงให้ตึงกับคานยึดที่เป็นเหล็กและมีสปริงคอยทำหน้าที่ในการขึงผ้าใบให้ตึง เป็นเครื่องเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใช้สำหรับกระโดดบนแทรมโพลีน ถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง |
หมดสติ | หมายถึง ภาวะที่ร่างกายสูญเสียสติ หรือความรู้สึกตัวชั่วคราว เป็นการสูญเสียการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นใด ๆ ได้ |