Roojai

ไอเดียสั่งอาหารตามสั่ง ไม่เสี่ยงโรคไต-เบาหวาน

Article Roojai Verified
วิธีกินอาหารตามสั่งให้ห่างไกลโรคไตและเบาหวาน | รู้ใจ

อาหารเป็นแหล่งพลังงานของเราทุกคน แต่รู้ไหมว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยก็มาจากอาหารเช่นกัน การจะกินอะไรสักอย่างเข้าไปจึงควรระมัดระวังและเลือกให้ถี่ถ้วน และถ้าพูดถึงการกินเวลาคิดอะไรไม่ออกก็ต้องบอกร้านอาหารตามสั่ง เพราะถือเป็นร้านอาหารยอดนิยมที่ไม่ว่าจะไปไหนก็เจอ แต่จะสั่งยังไงให้ปลอดภัยและเลี่ยงโรคไตและเบาหวานที่สุดล่ะ? วันนี้รู้ใจมาแนะนำวิธีสั่งอาหารตามสั่งยังไงให้อร่อยและสุขภาพดี ไม่เสี่ยงโรคไต และโรคเบาหวาน

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

อาหารตามสั่งเพิ่มความเสี่ยงโรคไต-เบาหวานยังไง?

เชื่อว่าคนไทย ก็กินอาหารตามสั่งกันเป็นประจำ เพราะอาหารทั้งร้อน ได้เร็ว กินสะดวก แต่รู้มั้ย การกินอาหารตามสั่งบ่อย ๆ อาจทำลายสุขภาพไม่รู้ตัว แม้จะไม่ได้ทำลายสุขภาพทันทีที่กินเข้าไป แต่การกินทุกวัน ๆ หลายมื้อเป็นระยะเวลาหลายปี ย่อมเกิดผลต่อสุขภาพ แล้วการกินอาหารตามสั่งทำไมถึงเพิ่มความเสี่ยงโรคไต-เบาหวาน เหตุผลมีดังนี้

  1. รสจัด-โซเดียมสูง อาหารตามสั่งหลายเมนูมักปรุงรสจัด จึงมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น ผัดกระเพรา มาม่าผัดกระเพรา ยำมาม่า เป็นต้น ซึ่งทำให้ไตต้องทำงานหนักในการขับโซเดียมออกจากร่างกาย
  2. อาหารแปรรูป อาหารแปรรูปมักมีสารกันบูด น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง เมนูที่เรามักกินกันอยู่บ่อย ๆ เช่น ข้าวผัดแหนม ไส้กรอกทอด ยำหมูยอ เป็นต้น
  3. น้ำตาลสูง การกินอาหารตามสั่ง เราอาจไม่ทันรู้ตัวว่ามีการเติมน้ำตาลลงไปเยอะเพื่อให้รสกลมกล่อม จึงมีน้ำตาลที่กินเข้าไปโดยไม่รู้ตัวปริมาณมาก โดยเฉพาะเมนูอาหารเช่น ยำ น้ำซุป กระเพรา เป็นต้น
  4. ไขมันสูง จากการใช้น้ำมันผัดเนื้อสัตว์ติดมัน และการใช้น้ำมันท่วมในการทอด
  5. พลังงานสูง การกินอาหารพลังงานสูง คุณค่าทางโภชนาการน้อย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคไขมัน และเบาหวานได้ โดยยกตัวอย่างพลังงานที่ได้จากอาหารตามสั่ง ดังนี้
    • ข้าวผัดกระเพราหมูกรอบ ประมาณ 754 กิโลแคลอรี่ 
    • ข้าวผัดกระเพราหมูสับ ประมาณ 580 กิโลแคลอรี่ 
    • ข้าวผัดหมู ประมาณ 627 กิโลแคลอรี่ 
    • ข้าวผัดแหนม ประมาณ 610 กิโลแคลอรี่ 
    • ข้าวคะน้าหมูกรอบ ประมาณ 670 กิโลแคลอรี่ 
    • ข้าวคะน้าหมู ประมาณ 516 กิโลแคลอรี่ 
    • ผัดผักบุ้งไฟแดง ประมาณ 533 กิโลแคลอรี่ 
    • ไข่ดาวน้ำมันท่วม ประมาณ 250-300 กิโลแคลอรี่  
    • ไข่เจียวน้ำมันท่วม ประมาณ 250 กิโลแคลอรี่ต่อฟอง

แม้สาเหตุของโรคเบาหวานและโรคไตจะไม่ได้เกิดจากการกินเพียงอย่างเดียว แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทานอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงได้ ดังนั้น ค่อย ๆ ปรับการกินไปทีละนิด เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เลี่ยงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ

อาหารตามสั่งไม่ดีต่อสุขภาพยังไง | รู้ใจ

เคล็ดลับสั่งอาหารตามสั่งแบบไม่เสี่ยงโรคไต-โรคเบาหวาน

เมนูอาหารตามสั่งที่ควรสั่ง

ผศ.นพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้เผยว่า ในการกินอาหาร 3 มื้อของเราในแต่ละวัน ควรเลือก “1 มื้อ” ที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีผักหลากสี ผลไม้ และโปรตีนอย่างครบถ้วน และมีการปรุงที่พอดีและสมดุลกับความต้องการของร่างกาย เท่านี้ก็สามารถมีสุขภาพดีได้แล้ว

ดังนั้น การสั่งอาหารตามสั่งให้เป็นเมนูที่ดีต่อร่างกาย ควรเน้นเนื้อสัตว์และมีผักเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนและดีต่อสุขภาพ และควรเลือกกรรมวิธีเช่น ต้ม นึ่ง เช่น

  • สุกี้น้ำไก่ 
  • ต้มจืดหมูสับ 
  • ข้าวต้มปลา 
  • ต้มยำน้ำใส 
  • หมูมะนาว 
  • ผัดผักรวมใส่กุ้ง 
  • ไก่ผัดพริกหยวก

เมนูอาหารตามสั่งที่ไม่ควรกินมาก แต่หากอยากกิน ควรสั่งยังไง?

เมนูยอดฮิตอย่าง ข้าวผัดกะเพรา ข้าวผัดพริกแกง ข้าวผัดผงกะหรี่ ผัดคะน้าหมูกรอบ หมูทอดกระเทียม เมนูเหล่านี้ แคลอรี่สูงด้วยเนื้อสัตว์ติดมันแล้วถูกผัดด้วยน้ำมัน + การปรุงรสที่จัดจ้าน + ไข่ดาวไข่เจียวทอดน้ำมันท่วมกรอบ ๆ เข้าไปอีก แคลอรี่รวมก็เกือบ 600-700 แคลอรี่ ซึ่งเกือบถึงครึ่งของความต้องการในแต่ละวันของบางคนเสียอีก มาดูกันว่าเมนูไหนบ้างที่ต้องระวังเมื่อต้องสั่ง เช่น

  1. กะเพรา โดยเฉพาะหมูสับ-หมูกรอบ เพราะมักมีมันหมูผสมอยู่ในปริมาณมาก และปรุงรสจัด
  2. ทอดกระเทียม เป็นเมนูที่ไม่มีผักเลย แถมยังมีแต่น้ำมันจากการทอดเนื้อสัตว์ติดมัน มารวมกับกระเทียมเจียวอีก 
  3. ราดหน้า โดยเฉพาะราดหน้าหมี่กรอบ ที่นำเส้น (แป้ง) ไปทอดในน้ำมัน จากนั้นมากินกับแป้งมันในราดหน้า กลายเป็นว่าจะเป็นมื้อที่ได้รับไขมันและแป้งอย่างคาดไม่ถึงเลย 
  4. สุกี้แห้ง แม้สุกี้จะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ซ่อนอันตราย จากน้ำจิ้มสุกี้ที่เราใส่เพิ่มเข้าทีหลังเพื่อให้ได้รสชาติกลมกล่อมนั่นเอง

มีวิธีสั่งยังไงให้เลี่ยงโรคไต-เบาหวาน

  1. ลดหวาน ลดผงชูรส โดยการบอกพ่อค้าแม่ค้าไปตามตรงได้เลย
  2. เลือกไก่-กุ้ง-ปลา แทนหมูสับหรือหมูกรอบ เพราะหมูสับและหมูกรอบมักมีมันหมูผสมอยู่เยอะ 
  3. ไม่กินกับพริกน้ำปลา  
  4. ไม่ใส่ซอสเพิ่ม ทั้งซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้  
  5. เลือกไข่ตุ๋น-ไข่ต้ม (หากมี) แทนไข่ดาว-ไข่เจียว  
  6. ผัดน้ำ แทนการผัดด้วยน้ำมัน

Tips: เรื่องใกล้ตัว สายหมูกรอบควรรู้ กินมากเสี่ยงสารพัดโรค

เมื่อไปร้านอาหารตามสั่ง เมนูแรกที่คิดมาคงไม่พ้นหมูกรอบ ข้าวผัดหมูกรอบ กระเพราหมูกรอบ เมนูยอดฮิตร้านตามสั่ง แต่รู้มั้ย? พลังงานจากหมูกรอบ 100 กรัม (7-10 ชิ้นคำ) ให้พลังงานประมาณ 385 -420 แคลอรี่ โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 แคลอรี่ และหากเป็นเมนูหมูกรอบที่มีการนำไปผัดกับน้ำมันก็จะทำให้ยิ่งเพิ่มพลังงานมากขึ้น แถมกินแล้วเสี่ยงโรคสารพัด เช่น โรคไต, ความดันโลหิตสูง,​ มะเร็งปอด เป็นต้น ตามบทความของดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

และต่อมาอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาให้ความรู้เพิ่ม พร้อมแนะนำว่า ไม่ควรกินหมูกรอบมากเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

(ที่มา: thairath.co.th)

เคล็ดลับสั่งอาหารตามสั่งเพื่อสุขภาพที่ดี | รู้ใจ

นอกจากการเลือกกินอาหารที่ดี มีทริคการสั่งอาหารตามสั่งเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีพร้อมและแข็งแรงแล้ว การมีประกันด้านสุขภาพเผื่อเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง หรือประกันมะเร็ง ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้มีหลักประกันสุขภาพที่คุณสามารถเลือกการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ในวันที่เจ็บป่วย และไม่ส่งผลกระทบต่อการเงินของครอบครัว  

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ด้านสุขภาพ รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยบกับประกันภัยต่าง ๆ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ได้เลย (Official LINE ID: @roojai)

คำจำกัดความ

แคลอรี หน่วยวัดพลังงานที่ใช้ในการบอกปริมาณพลังงานที่ได้รับจากอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภคเข้าไป
previous article
< บทความก่อนหน้า

เจาะลึก โรคภูมิแพ้มีกี่แบบ? แม้ไม่หายขาด แต่รู้ทันก็ดีขึ้นได้

บทความถัดไป >

ฝันร้ายบ่อยๆ สัญญาณบอกปัญหาสุขภาพที่คุณคาดไม่ถึง!

Next article