Roojai

รวมเส้นทางรถติดที่เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่คุณควรเลี่ยง

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา รมว.คมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมมีการวางแผนสำหรับการแก้ปัญหาเรื่องรถติดในกรุงเทพมหานครไว้หลายขั้นตอนด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาให้กับประชาชนนั่นเอง

โดยเผยว่าแผนระยะแรกคือ การก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อการขนส่ง – คมนาคมกางแผนแก้ปัญหารถติด ห่วงกรุงเทพฯ ตะวันออกวิกฤตช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง (http://bit.ly/2vuJYSm) โดย Plus.co.th

ซึ่งก็นับว่าเป็นข่าวดีของชาวกรุงไม่น้อย เพราะอีกไม่นานเกินรอก็คงได้มีรถไฟฟ้าให้ใช้เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่ทว่า… ก่อนหน้าที่จะไปถึงจุดนั้น ปัญหาแรกที่คนเมืองต้องเจอโดยเฉพาะผู้ใช้รถใช้ถนนคือ ปัญหารถติดในเขตการก่อสร้างรถไฟฟ้านั่นเอง

ในบทความนี้รู้ใจจึงขอรวบรวมเส้นทางที่ควรเลี่ยง หรือควรวางแผนให้ดีก่อนการเดินทาง เพราะเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

สำหรับโครงการนี้นั้นมีการประเมินว่าจะสร้างเสร็จปี พ.ศ. 2562 และเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2563 ตามจุดประสงค์แล้วต้องการช่วยให้ระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพดีขึ้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

ส่วนเส้นทางการก่อสร้างนั้นมีระยะทางรวมประมาณ 19 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น จำนวน 16 สถานี เป็นทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง เริ่มต้นต่อเนื่องจากสถานีหมอชิตไปตามถนนพหลโยธิน และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสองที่สถานีคูคต

โครงการนี้จะกินเส้นทางตั้งแต่ช่วงหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว หรือห้าแยกลาดพร้าวในตำนาน ไล่เลียงไปช่วงพหลโยธิน รัชโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะพานใหม่ กองทัพอากาศ สุดทางที่ช่วงคูคต ซึ่งหากใครที่ใช้ถนนสายนี้เป็นประจำคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า รถค่อยข้างติด ยิ่งในช่วงเวลาเดินทางของคนทำงานยิ่งหนัก

ที่มาภาพ: https://www.facebook.com/Greenlinenorth/

เส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1C67lbEMF5cYykDdh0CxlcjGd2NE&ll=13.878940770855577%2C100.58166602613983&z=12

 

โครงการรถไฟใต้ดินสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

โครงการนี้มีการประเมินว่าจะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 เป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าที่แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 แบบคือ แบบยกระดับระยะทาง 9 กม. สถานียกระดับ 7 สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดินระยะทาง 30.6 กม. สถานีใต้ดิน 23 สถานี

เส้นทางจะเริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน และวิ่งตามแนวรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต

ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี้ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี – อ้างอิง รถไฟฟ้าสายสีส้ม (http://bit.ly/2gsa6cn) โดย Realist.co.th

จะเป็นเส้นที่ดูซับซ้อนเสียหน่อย และกินเส้นทางระยะยาวพอสมควร ซึ่งเส้นทางที่มีปัญหาหนัก (เดิมแม้ไม่มีการก่อสร้างก็ค่อนข้างจะรถติดหนักอยู่แล้ว) คือช่วงรามคำแหง ที่มีความจำเป็นต้องปิดทางเพื่อทำการก่อสร้างนั่นเอง

ที่มาภาพ: http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=617316&page=108

เส้นทาง โครงการรถไฟใต้ดินสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1W9KIQ1_Qu3q7TNO2O2O4t7XedFY&ll=13.767138097836524%2C100.50399677940732&z=12

นอกเหนือจาก 2 โครงการก่อสร้างนี้แล้ว ในอนาคตอันใกล้ก็มีความเป็นไปได้ว่า จะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งจะเริ่มโครงการก่อสร้างไม่เกินช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน  จุดที่น่าสนใจคือช่วงห้าแยกปากเกร็ด แจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา ส่วนสายสีเหลืองก็จะมีจุดแยกพัฒนาการ ที่อาจเกิดปัญหารถติดหนักได้

ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้เส้นทางดังกล่าว ผู้ใช้รถจำเป็นต้องวางแผนการเดินทาง หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องเผื่อเวลาการเดินทางเอาไว้

และอย่าลืมพกประกัน “รู้ใจ” เคียงข้าง หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาในระหว่างทางผ่านเขตก่อสร้าง คุ้มครองรถสุดที่รักของคุณด้วยประกันชั้น 1 รู้ใจดอทคอม ผ่อนสบาย 0% ยาว 10 เดือน

ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ “รู้ใจ” ดูแลรถให้คุณ คลิกเช็คเบี้ยประกันรถ หรือโทร 02 582 8888