Roojai

วิธีรับมือ…เมื่อรถที่ขับมาเกิดความร้อนขึ้น

ความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูง หรือที่เรียกกันว่า โอเวอร์ฮีท (Over heat) มีผลอย่างมากกับระบบการทำงานของเครื่องยนต์ และเป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่งต่ออายุการใช้งานของรถยนต์ท่าน ถ้าไม่มีการระวังหรือตรวจสอบให้ดี จะมีผลต่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก ในกรณีที่เครื่องเกิดความร้อนสูงขึ้นกับเครื่องยนต์

โดยทั่วไปแล้วมาตรวัดความร้อนเครื่องยนต์จะมีด้วยกัน 2 แบบด้วย คือแบบเข็ม การทำงานของเข็มชี้วัด ยามเมื่อเครื่องยนต์อยู่ในช่วงอุณหภูมิการทำงานจะต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของมาตรวัด ตราบใดเข็มชี้วัดเกินครึ่งหนึ่ง ให้นึกถึงเสมอว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระบบหล่อเย็น อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูง

แบบไฟเตือน กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ โดยรูปแบบของไฟเตือนนั้น จะมีในเรื่องของสีเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับรุ่นรถยนต์ที่ใช้ไฟเตือนประเภทนี้ ต้องสังเกตสีของการเตือนด้วย (ศึกษาจากคู่มือประจำรุ่นรถ) โดยทั่วไปแล้วจะมีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้ ไฟเตือนสีเขียว หรือสีฟ้า แสดงว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิต่ำ กรณีเป็นไฟเตือนสีแดง แสดงว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูง

ไม่ว่าการแจ้งเตือนจะมีรูปแบบอย่างไร จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน แสดงว่า มีชิ้นส่วนที่ชำรุดเกิดขึ้น ไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง ในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำ หม้อน้ำ พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน เป็นต้น นอกจากมีการแจ้งเตือนที่มาตรวัดแล้ว ยังมีการเตือนในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น รูปไฟเตือนเครื่องยนต์ (สีส้ม) ติดค้าง, เสียงเครื่องยนต์ ผิดปกติไปจากเดิม ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ระบบควบคุมเครื่องยนต์อาจจะตัดการทำงานของเครื่องยนต์โดยอัตมัติ เพื่อมิให้เครื่องยนต์เกิดการเสียหายไปมากกว่านี้

สำหรับวิธีรับมือ เมื่อรถความร้อนขึ้น ให้จอดรถในที่ปลอดภัย เปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากห้องเครื่องให้เร็วขึ้นจะได้ไม่ต้องรอนาน จากนั้นให้รอจนเครื่องยนต์เย็นลง จึงค่อยเปิดฝาหม้อน้ำ โดยใช้ผ้าช่วยจับเพราะอาจจะยังร้อนอยู่บ้าง หรือสวมถุงมือถ้ามีอยู่ อย่าเอาหน้าเราเข้าไปใกล้หม้อน้ำ เพราะแรงดันน้ำในหม้อน้ำ ที่น้ำยังอาจจะร้อนอยู่นั้น อาจพุ่งขึ้นมาโดนหน้าจนได้รับบาดเจ็บได้ ให้เติมน้ำทีละน้อยๆอย่างช้าๆ โดยทิ้งช่วงเวลาห่างกัน 5 นาที ในเวลาเดียวกันคอยสังเกตดูระดับน้ำในหม้อน้ำ หากน้ำที่เติมลงไปแล้วไม่เต็มสักทีแถมมองไปใต้รถมีน้ำไหลไหลรั่วออกมาหมด สันนิฐานได้ก่อนเลยว่า หม้อน้ำแตก ให้แจ้งศูนย์บริการได้เลย เพราะเราคงจะทำอะไรเองไม่ได้แล้ว ให้ศูนย์มาลากรถไปแก้ไขต่อไป แต่ถ้าน้ำรั่วซึมเพียงเล็กน้อย ก็ยังสามารถขับรถต่อไปได้แต่อย่าขับเร็ว ให้หมั่นสังเกตเข็มวัดอุณหภูมิบนหน้าปัดรถ และเมื่อความร้อนขึ้นสูงให้หยุดรถเป็นระยะๆ แล้วทำแบบเดิมๆ จนกว่าถึงจุดหมายปลายทางและนำรถไปซ่อมหม้อน้ำ หรือแก้ไขต่อไป

ส่วนวิธีป้องกันนั้น ให้หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ประจำรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น สายพานไม่หย่อนหรือตึงเกินไป พัดลมระบายความร้อนไม่บิดงอหรือแตกหัก และยังทำงานได้อยู่ หากพบรอยรั่วตามจุดต่างๆ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้งหม้อน้ำ ปั๊มน้ำ ให้รีบแก้ไขโดยด่วนอย่าปล่อยไว้

ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำอยู่เสมอ รถใหม่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป ควรตรวจสอบ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้เติมน้ำสะอาดและถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4 – 6 เดือน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างจนหม้อน้ำเกิดการอุดตัน และไม่สามารถระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ ไม่เติมน้ำเกินขีดที่กำหนด เพราะเมื่อน้ำเดือด หม้อน้ำจะเกิดการขยายตัว ทำให้หม้อน้ำแตกได้

และที่สำคัญขณะขับขี่ ให้สังเกตที่หน้าปัดว่าความร้อนอยู่ในระดับปกติที่เป็นหรือไม่  อย่าลืมว่าถ้าเกิดโอเวอร์ฮีทกับเครื่องยนต์แล้วถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ มีผลต่อความเสียหายหลายส่วนกับเครื่องยนต์อย่างแน่นอน

แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจริงๆ Roojai.com ประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ พร้อมดูแล คลี่คลายทุกปัญหาของคุณ การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที โดยลูกค้าสามารถแจ้งรถเสียฉุกเฉินทั่วไทย ผ่าน Roojai Mobile App นวัตกรรมใหม่ที่สามารถแชร์ตำแหน่งจุดเกิดเหตุของลูกค้าด้วยระบบ GPS ทำให้เจ้าหน้าที่สำรวจภัยที่อยู่ใกล้ที่สุดเดินทางมาช่วยเหลือลูกค้าที่จุดเกิดเหตุได้อย่างแม่นยำฉับไว ในขณะเดียวกันลูกค้า ก็สามารถมองเห็นตำแหน่งความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ จนกว่าจะมาถึงจุดเกิดเหตุ ทำให้ลูกค้ารู้สึกอุ่นใจมากขึ้น