Roojai

เบาะนั่งสำหรับเด็ก iSofix ความปลอดภัยที่คนไทยมองข้าม

เบาะนั่งสำหรับเด็ก iSofix ความปลอดภัยที่คนไทยมองข้าม

เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการนำเด็กโดยสารไปกับรถยนต์ในยุคนี้ หลายคนก็มองข้ามหรือมีความเข้าใจแบบผิดๆ ในเรื่องความปลอดภัยของเด็กที่นั่งอยู่ในรถยนต์ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ อายุไม่เกิน 2 ขวบ ไม่ว่าจะเป็นการนำเด็กไปอุ้มไว้บนตักที่เบาะโดยสารด้านหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ไม่ว่าคุณจะวิ่งด้วยความเร็วต่ำ หรือขับรถระมัดระวังแค่ไหน ถ้าเกิดเบรกอย่างกะทันหัน หรือโดนชนท้าย เด็กจะบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิตได้

เบาะนั่งสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็น แม้บางรุ่นอาจมีราคาที่สูงจนเกินไป เกรงว่าซื้อมาแล้วใช้ไม่คุ้ม ใช้ไม่กี่ปีก็นั่งไม่ได้แล้ว แต่ถ้าเทียบกับเมื่อก่อนเบาะนั่งสำหรับเด็กในรถยนต์นั้นมีราคาถูกกว่าเดิมลงมาก และมีหลากหลายแบบให้เลือก รวมถึงมีแบบมือสองให้เลือกซื้อกันได้ประหยัดกว่าเดิมเข้าไปอีก

คำว่า ISOFIX โดยเฉพาะกับเบาะนั่งสำหรับเด็กแรกเกิด มาจนถึงเบาะแบบ Toddler ส่วนพวก Booster อย่าง Group II/III จะถูกเรียกว่า ISOFIT ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกันแต่เรียกต่างกัน และใช้เข็มขัดนิรภัย 3 จุด เป็นตัวยึดรั้งเด็กเข้ากับเบาะนั่ง

มาตรฐานจุดยึด ISOFIX แทบจะไม่มีให้เห็นในรถยนต์ที่ประกอบในประเทศระดับราคา 1-2 ล้านบาท ซึ่งคนทั่วไปซื้อหามาใช้งาน นอกจากในระดับที่หรูมากๆ หรือไม่ก็รถนำเข้าจากผู้ค้าอิสระ

 

Roojai_ประกันภัยรถยนต์_คาร์ซีท02

 

ดังนั้น ISOFIX ก็คือมาตรฐานจุดยึดที่มีติดตั้งในรถยนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น และรวมถึงบ้านเรา หรือบางทีก็ถูกเรียกว่า UCSSS หรือ Universal Child Safety Seat System แต่ในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า LATCH หรือ Lower Anchors and Tethers for Children และในแคนาดาใช้ชื่อว่า Canfix หรือ Luas Lower Universal Anchorage System

การใช้เบาะนั่งสำหรับเด็กนั้น ตามหลักความปลอดภัยสากลในการโดยสารรถยนต์นั้น จะถูกติดตั้งไว้ที่เบาะนั่งแถวที่สองเท่านั้น จะไม่มีการมาติดตั้งไว้เบาะผู้โดยสารตอนหน้า ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะไม่ติดสายรัดไว้ที่เบาะหน้าอยู่แล้ว ยกเว้นเข็มขัดนิรภัย แต่ก็มีหลายคนที่พยายามดัดแปลง หรือซื้อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมายึดติดไว้กับเบาะผู้โดยสารตอนหน้า

เบาะผู้โดยสารตอนหน้านั้นอันตรายสำหรับเด็กเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบไหนก็ตาม ทั้งกระจกหน้ารถ อันตรายจากการระเบิดของแอร์แบ็ค ความเสี่ยงที่เด็กจะหลุดออกนอกรถ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คงต้องทำความเข้าใจกับบรรดาคุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ ที่อาจจะดูไม่สะดวกที่ต้องเอาลูกไปไว้ข้างหลัง หรือถ้าจะต้องเอาไปนั่งจริงๆ ต้องหาพี่เลี้ยงหรือคนอื่นมานั่งเป็นเพื่อนลูก ของแบบนี้มันฝึกกันได้ โดยเริ่มจากให้ลูกคุ้นเคยกับเบาะนั่งเด็กเสียก่อน โดยตั้งไว้ในบ้านแล้วจับเขาไปนั่งเล่น นอน กินนมบ้าง โดยครั้งแรกๆ ให้นำเด็กโดยสารไปในรถด้วยตอนหลับเสียก่อน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่งองแงในรถ

ถ้าเด็กเกิดตื่นในขณะขับรถ และร้องไห้งองแงในรถ หรือต้องป้อนนม ให้ผู้ขับขี่ใจเย็นๆ ไม่ต้องรีบร้อน หรือตื่นเต้นไปกับเสียงเด็ก หาจุดจอดรถที่ปลอดภัย เปิดไฟฉุกเฉิน แล้วจัดการภารกิจให้เสร็จสิ้น อย่าลงจากรถแล้วทิ้งเด็กไว้ในรถตามลำพัง ในกรณีที่ต้องจอดรถบนทางไฮเวย์ให้จอดชิดขอบทางด้านซ้ายให้มากที่สุด หรือจอดในจุดพักรถ และหลีกเลี่ยงการลงจากรถโดยไม่จำเป็น

การเลือกซื้อเบาะนั่งสำหรับเด็กในรถยนต์นั้น ให้ดูความแข็งแรงของจุดยึด จุดรัดกับพนักเบาะพิงว่าเข้ากันได้ หรือกระชับพอดีกับรถที่เราใช้ประจำหรือไม่ เมื่อนำเด็กลงไปนั่งจะต้องไม่โยกเยกไปมา ปรับรัดเข็มขัดรัดเด็กให้พอดีกับตัวเด็กทุกครั้งที่ใช้เบาะเด็ก

“รู้ใจ” พร้อมคลี่คลายทุกปัญหาของคุณ การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที คลิกเช็คเบี้ย!