Roojai

วิธีรับมือกับคนโกรธ จากกรณีข่าว ลุงฉุนซัดไม้เท้าทุบรถคู่กรณี

จากกรณีข่าวคุณลุงโมโหควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่เมื่อมีรถอีกคันมาบีบแตรใส่ ลงจากรถคว้าไม้เท้าทุบรถคู่กรณีไม่ยั้งจนกระจกแตกและมีผู้บาดเจ็บ เรื่องราวก็จบที่ลุงถูกตำรวจแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกาย, ทำให้เสียทรัพย์, ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น และทำลายความสงบสุขของประชาชนในถนนหรือทางหลวงโดยขู่เข็ญ ดูหมิ่น หรือ รังแก ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ก่อนจะนำตัวพิมพ์ลายนิ้วมือทำประวัติเพื่อส่งฟ้องต่อไป

ดูคลิปเพิ่มเติม: https://www.youtube.com/watch?v=pIrleL1Hpxc

ซึ่งหากเป็นรถของเราโดนแบบนี้บ้างควรจะจัดการอย่างไร มีคำตอบมาฝากตามด้านล่างนี้

เมื่อโดนผู้อื่นมาทุบรถควรจัดการอย่างไร?

สิ่งที่ต้องทำคงหนีไม่พ้นการเจรจากับผู้ทำผิดและที่สำคัญต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้มาดำเนินคดีทางกฎหมาย จากนั้นจึงเรียกประกันเพื่อให้มาดำเนินการชดเชยค่าสินไหม แต่ประกันภัยจะคุ้มครองหรือไม่ ลองมาดูรายละเอียดของการประกันภัยรถยนต์กัน

ลุงฉุนคุมตัวเองไม่อยู่ ซัดไม้เท้าทุบรถ ถ้าคุณคือคู่กรณีจะจัดการอย่างไรได้บ้าง

การประกันภัยรถยนต์ คือการประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance)

หมายความถึง การประกันภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฎหมาย เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายบุคคล ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติ” คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ( พ.ร.บ. ) เพื่อให้ประชาชน ผู้ประสบภัย ได้รับความคุ้มครอง และการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็วและเป็นธรรม

2.การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ(Voluntary Motor Insurance)

หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้นเป็นโดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์  ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด โดยการประกันภัยรถยนต์แบบใหม่ มีความคุ้มครองให้เลือก 5 ประเภท ดังนี้
ประเภท 1 (ประกันชั้น1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด

  • รับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ
  • รับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • รับผิดชอบความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • รับผิดชอบความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้และการสูญหาย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ได้รับความคุ้มครอง

  • รับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ
  • รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • รับผิดชอบต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้และการสูญหาย

ประเภท 3 (ชั้น 3) ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก

  • รับผิดต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • รับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก

  • รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ประเภท 5 ได้รับความคุ้มครอง

  • รับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ
  • รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • รับผิดชอบความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยแต่ต้องแจ้งคู่กรณีได้เท่านั้น
  • รับผิดชอบความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดเหตุโดนทุบรถแบบนี้ มีเพียงประกันชั้น 1 เท่านั้นที่คุ้มครอง แต่ทั้งนี้ถึงจะเป็นประกันชั้น 1 หากเราซึ่งเป็นผู้เสียหายทำผิดกฎจราจรเสียเอง แบบนี้อาจไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือหากมีหลักฐานชัดเจนว่า รถยนต์ของเราถูกทุบด้วยเหตุที่ไม่ใช่การมุ่งเพื่อโจรกรรมหรือการงัดรถ แต่เป็นการกระทำผิดกฎหมายของเราเอง และมีภาพถ่ายระบุเลขทะเบียนเป็นหลักฐานยืนยันชัดเจน แบบนี้ บริษัทประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธไม่จ่ายค่าซ่อม หรือค่าสินไหมคุ้มครองได้ และอาจส่งผลให้มีการยกเลิกความคุ้มครองกรมธรรม์ ในปีถัดไปได้อีก ดังนั้นผู้ทำประกันรถจึงต้องอ่านสัญญากรมธรรม์ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน

หากคุณกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ไว้ใจได้เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ทุกการเดินทาง เลือกประกันภัยรถยนต์จากรู้ใจ เคลมง่าย ผ่อนสบาย ติดต่อฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง