Roojai

แนะลดค่าเบี้ยประกัน ด้วย “ความเสียหายส่วนแรก” ในประกันรถยนต์

บทความประกันภัย โดย ยุทธพงษ์ ภาษี

ลดค่าเบี้ยประกันได้มากมาย ด้วย ”ค่าเสียหายส่วนแรก”

อุบัติเหตุ เป็นสิ่งไม่เคยมีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจ และอุบัติเหตุจากรถมักเป็นสิ่งที่คู่มากับการเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งทำให้เราเสียเวลาหรือไม่ก็เสียทรัพย์สิน เนื่องจากเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร และเกิดขึ้นโดยใคร หลายท่านเป็นนักขับที่ดี มีวินัย ระมัดระวังตัวเต็มที่แต่อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นได้ ด้วยความประมาทของบุคคลอื่น ทำให้เราเสียเวลาและทรัพย์สินเสียหาย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราไม่มีทางแก้ไขผลกระทบจากอุบัติเหตุ แนวทางหนึ่งที่ช่วยให้บรรเทาความเสียหายและเป็นการจัดการความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง คือการโอนความเสี่ยงภัยไปยังบริษัทประกันภัย เพื่อช่วยรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุจากรถที่เกิดขึ้นได้โดยการทำประกันภัยรถยนต์นั่นเอง

การทำประกันภัยรถยนต์ปัจจุบันมีความหลากหลาย มีการนำเสนอเงื่อนไขแบบความคุ้มครองให้เลือกมากมาย ผู้เอาประกันภัยจำเป็นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน รอบด้านด้วยการทำความเข้าใจในหลักการของเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกัน ทุนประกัน รายละเอียดความคุ้มครอง บริการด้านการเคลมต่างๆ บริษัทประกันภัยที่มั่นคง รวมถึง ตัวแทนขายหรือนายหน้า

การศึกษาและทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้ออย่างถ่องแท้เชื่อหรือไม่ว่าคุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันภัยได้หลายเงินทีเดียว

ระบบของประกันภัยรถยนต์ เปิดโอกาสให้เราสามารถเลือกความคุ้มครองได้มากมาย ดังจะเห็นว่า การเสนอขายประกันภัย มีระดับราคาต่างกัน แต่ล่ะตัวแทน/นายหน้าก็เสนอเงื่อนไขแตกต่างกันไป

สำหรับการเลือกอย่างชาญฉลาดแล้ว ควรพิจารณาเงื่อนไขความคุ้มครองและทุนประกัน มากกว่าเลือกที่ราคาประกัน

เงื่อนไขความคุ้มครอง สะท้อนออกมาในรูปแบบประเภทของประกันภัย คือ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 5 ภาษาชาวบ้านเรียกว่าประกันชั้น 1 หรือประกัน ชั้น 2 หรือชั้น 3 หรือ 2 พลัส, 3 พลัส ตามลำดับ ส่วนทุนประกัน ก็คือ จำนวนเงินเอาประกันภัยซึ่งจะแปรผันไปตามยี่ห้อ, รุ่น และปีรถยนต์

หากเราต้องการทุนประกันสูงราคาเบี้ยอาจต้องเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีทางเลือกอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ซื้อสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันภัยรถยนต์ นั่นคือ การใช้ “ค่าเสียหายส่วนแรก” เป็นเครื่องมือ

“ค่าความเสียหายส่วนแรก” คือ ส่วนแรกของความรับผิดหรือค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ในกรณีมีการแจ้งเคลมและผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด โดยมีจำนวนเงินตามที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งการซื้อประกันแบบระบุค่าความเสียหายส่วนแรก นั้นจะทำให้เบี้ยประกันถูกลง

ลองมาดูกัน ว่าเมื่อเลือกซื้อกรมธรรม์แบบระบุค่าเสียหายส่วนแรกตามคำแนะนำนี้ จะสามารถประหยัดงบประมาณ ได้มากน้อยเพียงไร

คุณสามารถทดลองคำนวณค่าเบี้ยประกันสำหรับรถยนต์ของคุณ โดยการเข้าไปยังเว็บไซด์รู้ใจ (www.roojai.com) และลองใส่ข้อมูลรถยนต์พร้อมกับเลือกแผนประกันภัย เลือกกำหนดวงเงินค่าเสียหายส่วนแรกได้หลายราคา ตั้งแต่ 0 บาท, 3,000 บาทหรือ 5,000 บาท ระบบจะคำนวนค่าเบี้ยประกันที่คุณต้องจ่ายและส่งใบเสนอราคาให้คุณทางอีเมล์ ตัวอย่างเช่นลองเลือก ประเภท1 สำหรับรถเก๋งส่วนบุคคล เลือกซื้อแบบระบุค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท เปรียบเทียบกับ แบบไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก ผลที่ออกมาคือ แผนประกันภัยแบบระบุค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท มีราคาเบี้ยต่ำกว่า แบบไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก ถึง 70%

หมายเหตุ: ข้อมูลของรุ่น Toyota VIOS 1500 C.C. ปี 2013 คนขับเพศหญิง สถานภาพสมรส อายุ 37 ปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน ส่วนลดประวัติดี 30 % ประสบการณ์ขับรถมากกว่า 5 ปี

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเลือกซื้อกรมธรรม์แบบระบุค่าเสียหายส่วนแรก คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ นำรถเข้าเคลมประกัน ต้องจ่าย ค่าเสียหายส่วนแรกทุกกรณี

ก่อนอื่นๆ ต้องทำความเข้าใจว่า ค่าความเสียหายส่วนแรก ไม่ได้เป็นส่วนที่ประกันภัยเก็บเพิ่มจากผู้เอาประกันและจะเสียกรณีเคลมฝ่ายผิดเท่านั้น นอกจากนี้ค่าเสียหายส่วนแรกยังเป็นข้อตกลงที่บริษัทประกันเสนอเป็นทางเลือกเพื่อประหยัดค่าเบี้ยประกันให้แก่ผู้เอาประกันภัยตเพราะเมื่อเจ้าของรถตกลงรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรก บริษัทประกันภัยก็จะต้องลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างของค่าเบี้ยประกันที่แตกต่างได้อย่างชัดเจนตามตัวอย่างข้างต้น

สรุปว่า การขับขี่รถยนต์มีความเสี่ยง เสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย ไม่มีใครรู้ได้และรู้ดีที่สุด แต่สำหรับที่รู้ใจดอทคอม คุณสามารถเลือกคุ้มครองให้ใกล้เคียงและเหมาะสมกับการขับขี่ของคุณที่สุด พร้อมเลือกได้ใน

เช็คเบี้ย ซื้อประกัน แจ้งเคลม ผ่านออนไลน์ 24 ชั่วโมง เช็คเบี้ยเลย! ที่ www.Roojai.com