Roojai

เบี้ยวใบสั่ง ยังต่อภาษีได้หรือไม่

เป็นประเด็นที่พูดถึงในสังคมโลกโซเชียลพอสมควร กับกรณีที่มีผู้ใช้รถทำผิดกฎจราจรจนได้รับใบสั่งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือมีการส่งใบสั่งไปยังบ้านของผู้กระทำความผิด แล้วบางคนไม่ยอมไปเสียค่าปรับ เพราะเชื่อว่ายังไงก็สามารถต่อภาษีได้ เนื่องจากคิดว่าการต่อภาษีเป็นเรื่องของกรมขนส่งทางบก ส่วนใบสั่งเป็นเรื่องของตำรวจจึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน เพื่อความชัวร์และไม่มั่วนิ่ม…วันนี้เราจึงมีคำตอบมาบอกคุณ!!

โดยล่าสุดทางกรมขนส่งทางบกได้มีการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ หลังคสช. ได้ออก ม.44 เพื่อคุมเข้มวินัยจราจร มีผลบังคับใบสั่งที่ออกตั้งแต่ 21 มีนาคมเป็นต้นไป หากไม่เสียค่าปรับ ‘ต่อทะเบียนได้แค่ป้ายภาษีชั่วคราว 30 วันเท่านั้น’ หากเกิน ทางตำรวจจะส่งฟ้องศาลทันที

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้ข้อมูลว่า หลังคสช. ออก ม.44 เพื่อแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของรถโดยสาร พร้อมกับคุมเข้มวินัยจราจร โดยในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการออกใบสั่งรถทั่วไป มีผลตั้งแต่ใบสั่งที่ออกตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป หากผู้ใช้รถได้รับใบสั่งแล้วไม่ยอมไปชำระ จะไม่สามารถต่อภาษีได้เหมือนปกติ เพราะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งนั่นหมายถึงว่า กรมการขนส่งทางบกสามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและไม่ยอมชำระค่าปรับ

อย่างไรก็ดีทางกรมการขนส่งทางบก ได้เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถที่กระทำผิดกฎจราจรและยังไม่ได้ชำระค่าปรับ สามารถชำระค่าปรับได้ที่กรมการขนส่งทางบกได้และสามารถต่อภาษีได้ทันที สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกจะชำระค่าปรับที่กรมการขนส่งทางบก ทางเจ้าหน้าที่ก็จะออกป้ายต่อภาษีชั่วคราวไว้ให้ ในกรณีที่ขับรถไปแล้วถูก จนท.ตำรวจเรียกตรวจ ก็สามารถแสดงหลักฐานป้ายชั่วคราวได้ ซึ่งจะมีอายุการใช้งานเพียง 30 วันเท่านั้น

สรุปได้อย่างชัดเจนแล้วนะครับ ว่าต่อไปนี้หากใครเบี้ยวค่าปรับนั้นมีผลกับการต่อภาษีรถอย่างแน่นอน ทางที่ดีคือ มีจิตสำนึกที่ดีขับรถให้ถูกกฎจราจร และการใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้อื่นอย่างระมัดระวัง ซึ่งนอกจากช่วยลดอุบัติเหตุแล้วก็ยังไม่ต้องเดือดร้อนกับการเสียเงินค่าปรับและก็ไม่ต้องกังวลกับการต่อภาษีอีกด้วยครับ

Roojai.com ห่วงใยคุณ พร้อมอยู่เคียงข้าง ด้วยประกันแสนดี การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที ประกันชั้น 1 ผ่อนสบายๆ 0% ยาว 10 เดือน

ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ Roojai.com ดูแลรถให้คุณ คลิกเช็คเบี้ยประกันรถ หรือโทร 02 582 8888