Roojai

ทำไมชนกันทีไร รถใหญ่ผิดเสมอ

รถชน, อุบัติเหตุ

‘รถใหญ่ผิดเสมอ’ เชื่อว่าผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเคยได้ยินประโยคดังกล่าวนี้ติดหูกันมาบ้าง แถมบางครั้งบางคนก็ยังเชื่ออย่างสนิทใจเลยว่า เวลาที่ขับรถยนต์แล้วเฉี่ยว-ชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ก็มักต้องเป็นฝ่ายผิดอย่างแน่นอน ซึ่งต้องอธิบายก่อนเลยว่าไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นเสมอไป เพราะต้องดูว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาทก่อนและเป็นต้นเหตุให้เกิดรถชนกัน ส่วนการวินิจฉัยว่าใครเป็นฝ่ายประมาทต้องดูที่องค์ประกอบตามกฎหมาย คือพฤติการณ์ของคนขับรถแต่ละคัน มีการฝ่าฝืนกฎจราจรเพียงใด ดูที่เจตนา และดูที่ผลของการกระทำผิด ซึ่งนั่นก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใครคือฝ่ายประมาท และใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างจากคำพิพากษาเกี่ยวกับรถเล็กชนกับรถใหญ่ มาเป็นกรณีศึกษา

คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2526 ผู้ตายขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ชำนาญพอขับรถออกจากทางโท โดยประมาทพุ่งเข้าชนรถยนต์จำเลยที่ขับอยู่ในทางเอก ดังนั้นความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว หาใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยขับรถยนต์ผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่ ฉะนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ สรุปคือ หากรถเล็กขับรถด้วยความเร็วหรือด้วยความประมาท และเกิดการเฉี่ยวชนขึ้นมา รถเล็กก็เป็นฝ่ายผิดได้ ไม่ได้วัดกันที่ขนาดของรถว่าเล็กหรือใหญ่นะครับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59  วรรค 4  เป็นการกระทำผิดที่ “มิใช่โดยเจตนา” แต่ขาดความระมัดระวังซึ่ง “บุคคลในภาวะเช่นนั้น” จักต้องมีตาม “วิสัย” และ “พฤติการณ์” หรือได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ไม่เพียงพอ

อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นคลิปแชร์กันบนโลกโชเซียลเมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีที่แล้ว ก็คือเหตุการณ์อุบัติเหตุระหว่างรถเก๋งกับรถพ่วงที่ตีวงเลี้ยวขวาเพื่อกลับรถใต้สะพาน ในขณะที่เก๋งก็จะเลี้ยวขวาเช่นเดียวกัน ทำให้รถเก๋งโดนเบียด และเข้าไปติดใต้ท้องรถพ่วงทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นความผิดของรถพ่วงที่ไม่เปิดสัญญาณไฟหรือรถเก๋งที่ไม่ชะลอให้ไปก่อนแน่

ชาวเน็ตหลายคนต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า ถ้าสังเกตให้ดีช่องนั้น เป็นที่กลับรถสำหรับรถบรรทุกเท่านั้น ใต้สะพานแหลมฉบังจะมีช่องกลับรถ 2 ช่อง ช่องแรกสำหรับรถเล็ก แต่รถเก๋งไม่ยอมกลับช่องที่จัดไว้ให้ วิ่งเลยไปกลับในช่องของรถบรรทุก ซึ่งมีป้ายบอกชัดเจนช่องกลับรถตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ส่วนรถพ่วงครั้งนี้ก็มีส่วนผิดที่ไม่เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวมาแต่เนิ่นๆ

สรุปคือ หากรถเล็กขับรถด้วยความเร็วหรือด้วยความประมาท หรือทำผิดกฎจราจรและเกิดการเฉี่ยวชนขึ้นมา รถเล็กก็เป็นฝ่ายผิดได้ ไม่ได้วัดกันที่ขนาดของรถว่าเล็กหรือใหญ่นะครับ ส่วนความเชื่อว่า รถใหญ่ผิดเสมอ หากมองตามประมวลกฎหมายน่าจะมาจาก การขับสวนกันในซอยคับแคบ ซึ่งรถใหญ่ต้องให้รถเล็กไปก่อน

บนท้องถนนอุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้อยู่ทุกเมื่อทั้งรถเล็ก-รถใหญ่ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ เวลาขับรถควรใช้ความระมัดระวังและมีสติอยู่ตลอดเวลาของการเดินทาง น้ำใจไมตรีต่อกัน และเคารพกฎจราจร เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและเพื่อนร่วมถนน นอกจากนี้ควรมีประกันดี ๆ ติดรถไว้เสมอ อย่าลืมให้ประกันจาก “รู้ใจ” ช่วยดูแลและปกป้องรถคุณ

ข้อมูลบางส่วนจาก https://www.closelawyer.com