Roojai

โรงพยาบาลรัฐบาล VS โรงพยาบาลเอกชน แตกต่างกันยังไง?

โรงพยาบาลเอกชน | โรงพยาบาลรัฐบาล | ประกันสังคม | คลินิก | รู้ใจ

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่น่าจะเคยใช้บริการทั้งโรงพยาบาลของรัฐบาลและโรงพยาบาลที่จัดตั้งโดยเอกชน และน่าจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่าง 2 องค์กรนี้ วันนี้รู้ใจจะมาบอกถึงความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนในบ้านเรา เพื่อเป็นข้อมูลให้กับเพื่อน ๆ ผู้อ่านได้ใช้ในการตัดสินใจเข้ารับการรักษาในครั้งต่อไป

รู้ใจรวบรวมข้อมูล และแชร์บทความนี้เพื่อเป็นทางเลือกให้คนไทยให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ว่าจะโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชนต่างมีข้อดี – ข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการของแต่ละบุคคล จะมีความแตกต่างกันยังไง ทั้งเรื่องของการบริการ คลินิกนอกเวลา ค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการอย่างสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ สิทธิบัตรทอง รวมถึงการทำประกันภัย มีข้อดี-ข้อเสียยังไง เหมาะกับใคร อ่านด้านล่างได้เลย

โรงพยาบาลรัฐบาล

โรงพยาบาลรัฐบาลดำเนินการภายใต้กระทรวงสาธารณสุขโดยทุนและเงินของรัฐบาล ตั้งแต่ค่าก่อสร้างไปจนถึงค่าแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ โรงพยาบาลรัฐบาลจัดว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ที่มีรายได้ไม่มากนักหรือพนักงานที่ทำงานในส่วนของข้าราชการ โรงพยาบาลรัฐบาลเหล่านี้รองรับผู้ป่วยเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่ไปใช้บริการอาจต้องรอนาน อย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมงขึ้นไป หรือในกรณีต้องการพบแพทย์เฉพาะทาง อาจต้องรอคิวนานถึง 1 – 2 เดือนเลยก็ได้ แต่หากไม่อยากเข้าคิวรอนาน ๆ ยังมีทางเลือกอีกทางที่เรียกว่า “คลินิกพิเศษ”

คลีนิคพิเศษ

คลินิกพิเศษ เป็นคลินิกที่ให้บริการนอกเวลาราชการ เป็นการยกระดับด้านการบริการ การรักษาพยาบาลต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐ นอกจากจะให้บริการทางแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่าแล้ว ลำดับคิวของผู้ใช้บริการยังน้อยกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลในเวลาปกติอีกด้วย แต่ใครที่อยากจะมาใช้บริการคลินิกพิเศษเหล่านี้จำเป็นต้องทราบไว้ว่า ค่ารักษาพยาบาลจะสูงหรืออาจเทียบเท่าค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน

รพ.เอกชน | รพ.รัฐ | ประกันสังคม | คลินิก | รู้ใจ

ข้อดีของโรงพยาบาลรัฐบาล

สามารถใช้สิทธิ์และสวัสดิการจากรัฐบาลได้ เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือสิทธิข้าราชการ สิทธิ์ในการรักษาจากสวัสดิการเหล่านี้ ครอบคลุมค่าตรวจ ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล และค่าเจาะเลือดเพื่อตรวจผลแล็บต่าง ๆ สำหรับค่าใช้จ่ายของผู้ที่ไม่ได้ถือสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคหรือสิทธิข้ราชการ เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชนก็ยังถือว่าถูกกว่ามาก นอกจากนั้นบุคลากรทางการแพทย์ เช่น อาจาร์ยหมอผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ที่โรงพยาบาลรัฐบาลเป็นหลัก แต่ก็สามารถพบแพทย์เหล่านี้ได้ตามโรงพยาบาลเอกชนในบางวันเช่นกัน

ข้อเสียของโรงพยาบาลรัฐบาล

โรงพยาบาลรัฐในแต่ละวันมีผู้เข้ารับการรักษาจำนวนมาก จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลน้อยกว่าจำนวนผู้ที่เข้ามารับการรักษา ทำให้ต้องรอนานกว่า 2 – 3 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ได้พบแพทย์มีระยะสั้น รวมถึงการบริการบางอย่างอาจไม่ทั่วถึง เนื่องจากต้องแข่งกับจำนวนคนที่มารอรับการรักษา

โรงพยาบาลเอกชน

สำหรับคนที่ไม่ชอบการรอนาน ๆ ชอบที่จะได้รับการบริการที่ดีเหมือนไปเข้าพักที่โรงแรม และมีงบประมาณเพียงพอ โรงพยาบาลเอกชนเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับคุณ แม้ว่าโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีอาจารย์หมอเก่ง ๆ แต่ที่โรงพยาบาลเอกชนเองก็มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีแพทย์ให้เลือกหลากหลายเช่นกัน รวมไปถึงการบริการที่ดีด้วยเหล่าบุคลากรที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี 

สำหรับการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน เหมือนกับกลุ่มบริษัทเอกชนทั่วไปที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหาผลกำไร จึงทำให้โรงพยาบาลเอกชนต่างปรับปรุงการให้บริการ โปรโมชั่นเชิญชวน แพ็คเกจตรวจสุขภาพต่าง ๆ และแข่งกันในเรื่องความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางกันมากขึ้น

ข้อดีของโรงพยาบาลเอกชน

รวดเร็ว สะดวกสบาย เจ้าหน้าที่และบุคลากรต่าง ๆ ให้บริการดีระดับพรีเมี่ยม ไม่ต้องรอคิวนาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เทคโนโลยีทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ทันสมัย สามารถใช้สิทธิประกันสังคม รวมถึงการทำประกันภัยก็สามารถซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชนได้

ข้อเสียของโรงพยาบาลเอกชน

มีค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล

รพ.เอกชน | รพ.รัฐ | 30 บาทรักษาทุกโรค | คลินิก | รู้ใจ

ความแตกต่างของโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน

  • โรงพยาบาลเอกชนดำเนินการภายใต้บุคคลหรือหลายบุคคลร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาล ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐ ดำเนินการภายใต้กระทรวงสาธารณสุขโดยทุนและเงินของรัฐบาล
  • ค่าบริการที่แตกต่างกัน โดยโรงพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
  • เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ให้บริการฟรี คิวสำหรับการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายหากไม่ได้เป็นเคสเร่งด่วนอาจรอนานหลายเดือน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชน ไม่จำเป็นต้องรอนานเป็นเดือน สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้เร็วกว่า
  • โรงพยาบาลเอกชนมักจะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่ใช้งานได้นานกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลรัฐจะมีอุปกรณ์ที่ไม่ทันสมัย แต่เนื่องจากจำนวนผู้เข้ามารับการรักษาในแต่ละวันมีจำนวนมาก ทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า

แม้ว่าทั้ง 2 องค์กรจะมีความแตกต่างกันแต่มีจุดหมายเดียวกันนั่นคือ การรักษาโรคให้กับผู้ป่วยอย่างดีที่สุด แต่จะเลือกใช้บริการที่ไหน ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความสะดวกของแต่ละคน

โรคภัย ความเจ็บป่วย รวมไปถึงอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดหรืออยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว คงจะดีไม่น้อยหากเราวางแผนบริหารความเสี่ยงทางการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ การทำประกันภัยจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณ เซฟคุณในวันที่คุณป่วยจากโรคร้ายแรงหรืออุบัติเหตุ เมื่อหายดีแล้วคุณก็ยังมีเงินเก็บ ใช้ชีวิตต่อได้ไม่มีสะดุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)