Roojai

รวมเรื่องต้องรู้ของการปลูกถ่ายไต ผ่าตัดแล้วอยู่ได้กี่ปี?

การผ่าตัดปลูกถ่ายไต | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

เราลองจินตนาการถึงรถยนต์ที่เราใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทางไปทำงานทุกวัน หากท่อไอเสียทำงานผิดปกติ ชำรุดเสียหาย การระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์คงทำงานแบบไม่สมบูรณ์ส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย เช่นเดียวกับร่างกายของเราที่ต้องขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายเช่นกัน เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ ซึ่งหน้าที่ในการขับของเสียเหล่านี้เป็นหน้าที่โดยตรงของไต หากไตไม่สามารถทำงานได้การปลูกถ่ายไตจึงเป็นคำตอบสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ไตจึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย หากไตทำงานผิดปกติ หรือไตเสื่อมสภาพ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเองและอาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาซึ่งการปลูกถ่ายไตนั้น หากไม่ปลูกถ่ายก็ต้องมีการฟอกไตซึ่งก็เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังฟอกไต การปลูกถ่ายไตถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง 

การปลูกถ่ายไต คืออะไร?

การปลูกถ่ายไต คือ การบำบัดทดแทนไตในการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยนำไตที่ยังทำงานได้ดีมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย โดยโอกาสในการปลูกถ่ายไตสำเร็จมีค่อนข้างสูง หรือมากกว่า 80-90% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไตที่ผู้ป่วยได้รับ ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตนั้น จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นใกล้เคียงกับคนทั่วไป 

นอกจากนั้นการปลูกถ่ายไต ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนจากการฟอกไต และมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต 

หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้วอยู่ได้กี่ปี | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

หลังการปลูกถ่ายไตแล้ว จะสามารถอยู่ได้อีกกี่ปี?

โดยทางการแพทย์แล้ว การจะให้ระบุหรือเจาะจงอย่างชัดเจนลงไปว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว จะมีชีวิตหลังเปลี่ยนไตได้กี่ปี คงจะบอกออกมาเป็นตัวเลขเป๊ะไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแล ปฏิบัติตน และปัจจัยรอบข้างอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน

หากเป็นการปลูกถ่ายไตที่มาจากพี่น้องหรือญาติของตัวเองที่เนื้อเยื่อสามารถเข้ากันได้ และยังเป็นไตที่มาจากคนที่ยังมีชีวิตอยู่จะสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้อีกยาวนาน แต่หากเป็นไตที่มาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วโอกาสที่ไตจะทำงานปกติก็จะลดลง

การปลูกถ่ายเปลี่ยนไต ราคาเท่าไหร่?

เบื้องต้นมีรายงานค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไตไว้ตั้งแต่ปี 2550 ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเปลี่ยนไต ไม่ว่าจะจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 200,000-250,000 บาท ในโรงพยาบาลรัฐบาล ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองไตวายเรื้องรัง เจอจ่ายจบ ตรวจพบรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท เลือกโฟกัสเฉพาะกลุ่มโรคได้ตามใจ ผ่อนได้ 12 เดือน แถมไม่มีระยะเวลารอคอยเมื่อต่ออายุประกัน

ไตที่ปลูกถ่าย รับจากใครได้บ้าง?

  1. ผู้บริจาคไตที่ยังมีชีวิตอยู่
    • ผู้บริจาคเป็นคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่น้องที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด
    • ผู้บริจาคที่เป็นคู่สมรส โดยมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส หรืออยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันผ่าตัด 
  2. ผู้บริจาคไตจากสภากาชาดที่มีภาวะสมองตาย
    ผู้บริจาคไตและผู้ป่วยที่รับไต ต้องผ่านการตรวจอย่างละเอียดก่อนว่ากรุ๊ปเลือดเข้ากันได้ และเนื้อเยื่อในร่างกายเข้ากันได้ จึงจะอนุญาตให้มีการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้

รู้ใจชี้เป้า 5 วิธีดูแลไตให้ดี สุขภาพที่ดีก็ตามมา

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่รักสุขภาพและดูแลรักษาไต ช่วยหลีกเลี่ยงโรคร้ายแรงอย่างโรคไตวายเรื้อรังและการปลูกถ่ายไตได้ โดยมีวิธีง่ายๆ เริ่มต้นได้ที่ตัวเราเอง ดังนี้

  1. เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น ปักผลไม้ ธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปแบบเนื้อหมัก เนื้อกระป๋อง ลดอาหารไขมันสูง
  2. ลดเค็มและลดหวาน ควรจำกัดน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และจำกัดโซเดียมไม่ให้เกิน 2000 มล.ต่อวัน
  3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น ให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ
  4. ไม่สูบบุหรี่ เพราะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในการกำจัดของเสีย เร่งกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย

ปลูกถ่ายไตซ้ำได้หรือไม่ ซ้ำได้กี่ครั้ง?

สำหรับคำถามที่ว่า หากเคยเปลี่ยนไตมาแล้วครั้งหนึ่ง จะสามารถเปลี่ยนอีกได้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้มากถึง 3-4 ครั้ง แต่จะมีความยุ่งยากกว่าครั้งแรก เนื่องจากร่างกายเคยได้รับการปลูกถ่ายไตมาแล้วครั้งหนึ่งระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานมากขึ้น จึงมีโอกาสที่การผ่าตัดปลูกถ่ายไตในครั้งที่ 2 ร่างกายจะเกิดการต่อต้าน แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยากดภูมิคุ้มกันที่แรงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นไปทำลายไต เมื่อผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิที่แรงขึ้น อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

ค่าใช้จ่ายเมื่อผ่าตัดเปลี่ยนไต | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

วิธีดูแลร่างกายหลังการปลูกถ่ายไต

  • ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันร่างกายปฏิเสธไตที่เพิ่งทำการปลูกถ่าย ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงกว่าคนปกติ หากเกิดการติดเชื้อแล้ว อาการจะรุนแรงกว่า 
  • มาติดตามผลการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง และควรรีบมาพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหลังผ่าตัดไตที่ผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะผิดปกติ มีปวดบวมแดงร้อนบริเวณแผลผ่าตัดวางไตใหม่ มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมออกมาจากแผลผ่าตัด ท้องเสีย เหนื่อยหอบ ปวดแผล มีแผลแบบงูสวัด ฯลฯ
  • อาหารหลังผ่าตัดไตควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เลี่ยงเค็ม เลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • เลี่ยงการทำงานที่มีสภาพแวดล้อมไม่สะอาด อับชื้น หากจำเป็นต้องสัมผัสสิ่งสกปรก ควรสวมถุงมือยาง หน้ากากปิดหน้าทุกครั้ง เลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัด
  • หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ 
  • ระวังโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ติดตามดูโรคประจำตัวที่มีมาก่อนผ่าตัด เช่น SLE เบาหวาน หอบหืด
  • ทำกิจกรรมอื่นได้ตามปกติ แต่งดการออกแรงหนักหรือหักโหมจนเกินไป 
  • หากต้องการที่จะเดินทางท่องเที่ยว ควรเลือกสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดภัย และมีโรงพยาบาลอยู่ใกล้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย 

ผลข้างเคียงหลังการปลูกถ่ายไต

หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนได้ ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนด้านอายุรกรรม – เกิดการติดเชื้อ หรือร่างกายปฏิเสธอวัยวะ และการกลับมาเป็นโรคไตซ้ำอีกรอบ
  • ภาวะแทรกซ้อนด้านศัลยกรรม – สาเหตุเกิดจากเลือดออกภายหลังการผ่าตัดไต ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดไตตีบหรือตัน จากท่อปัสสาวะรั่ว และการคั่งของน้ำเหลืองภายหลังการปลูกถ่ายไต 

สภาพแวดล้อมและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป เราจึงเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้น วางแผนสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อวันหน้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าโรคร้ายแรงหรือการปลูกถ่ายไตก็ตาม ที่รู้ใจเจอ จ่าย จบ หากตรวจพบโรคร้ายรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท เลือกโฟกัสกลุ่มโรคได้ตามใจคุ้มครองถึง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว แน่นอนว่ารวมความคุ้มครองโรคไตวายเรื้อรัง ที่สำคัญคือผ่อนได้สูงสุด 12 เดือน

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

อายุรกรรม การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องรักษาโรคด้วยยาเป็นหลัก
ศัลยกรรม การรักษาโรคด้วยวิธีการผ่าตัด
การปลูกถ่ายอวัยวะ (การปลูกถ่ายไต) การย้ายอวัยวะที่ไม่สามารถทำงานได้ปกติออก แล้วนำอวัยวะเดียวกันจาก บุคลอื่นมาแทนที่ เพื่อทดแทนอวัยวะที่เสียหายหรือขาดไป (ในบทความอวัยวะส่วนนั้นคือ ไต)
ยากดภูมิ ยากดภูมิ หรือยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) คือ ยากลุ่มที่ช่วยลดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ทำงานมากจนเกินไป เพื่อลดการต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายใหม่