Roojai

รวมเส้นทางลัดหนีรถติดช่วงเที่ยวหยุดยาว

รวมเส้นทางลัดหนีรถติด

ในช่วงเทศกาลหยุดยาวของทุกปี เชื่อว่าหลายคนที่ต้องขับรถเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางไปท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ต้องประสบพบเจอปัญหารถติดเป็นทางยาว จนสร้างความหงุดหงิดใจรำคาญกายอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะบนเส้นทางสายหลักของทุกภูมิภาค Roojai.com จึงมีเส้นทางเบี่ยงเลี่ยงรถติดมาแนะนำ เพื่อช่วยลดเวลาและให้ความสะดวกในการเดินทางได้มากขึ้น

กรุงเทพฯ-ภาคเหนือ (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์)

สำหรับเส้นทางสู่ภาคเหนือนี้ส่วนใหญ่หลายคนจะมุ่งหน้าไปรังสิต โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านจังหวัดอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี ซึ่งในช่วงนี้จะพบว่ามีรถไปปริมาณรถเยอะชะลอตัวต่อเนื่อง จึงอยากลองให้เปลี่ยนไปทางจังหวัดนนทบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 340 มุ่งหน้าจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วตัดเข้าทางจังหวัดชัยนาทแทน จากนั้นค่อยมาใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน เพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนอีกเส้นทางที่จะแนะนำอาจอ้อมหน่อย คือไปทางจังหวัดนครปฐมโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 346 ต่อไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยทางหลวงหมายเลข 321 และต่อเนื่องไปจังหวัดอุทัยธานี ด้วยทางหลวงหมายเลข 333 มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์

กรุงเทพฯ-ภาคกลาง (กรุงเทพฯ-อ่างทอง)

จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดอ่างทอง ให้ไปทางรังสิต เลี้ยวซ้ายเข้าต่างระดับคลองหลวง มุ่งหน้าไปเชียงรากน้อย โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3214 แล้วต่อเนื่องใช้ทางหลวงหมายเลข 347 มุ่งหน้าสู่จังหวัดอ่างทอง อีกเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปวงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) ใช้ต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) ผ่านอำเภอวังน้อย-ถนนโรจนะ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 309 จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดอ่างทอง

กรุงเทพฯ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา)

เส้นทางนี้ส่วนใหญ่จากกรุงเทพฯ หลายคนมักขับไปทางอำเภอวังน้อย โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านจังหวัดสระบุรี-อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ เพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา เส้นทางที่แนะนำ จากกรุงเทพฯไปจังหวัดสระบุรี เริ่มต้นให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน-แล้วเปลี่ยนไปทางอำเภอม่วงค่อม โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 205 ต่อเนื่องไปทางอำเภอท่าหลวง โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2256 ผ่านอำเภอด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2148 ผ่านอำเภอขามทะเลสอ ทางหลวงหมายเลข 2068 จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนอีกเส้นทางจากกรุงเทพฯ ให้ขับไปทางจังหวัดนครนายก ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 ผ่าน อำเภอบ้านนา โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3051 หรือ 33 ต่อเนื่องไปอำเภอแก่งคอย ด้วยทางหลวงหมายเลข 3222 มุ่งหน้าอำเภอปากช่อง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

กรุงเทพฯ-ภาคตะวันออก (กรุงเทพฯ-ระยอง จันทบุรี ตราด)

เส้นทางหลักที่หลายคนส่วนใหญ่ใช้ จากกรุงเทพฯ ไปทางมอเตอร์เวย์-พัทยา โดยใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7  หรือทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท ผ่านแยกกระทิงลาย-เมืองพัทยา จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด แนะนำให้ใช้ทางเลี่ยง โดยจากกรุงเทพฯใไปมอเตอร์เวย์เช่นเดิม แล้วตัดออกช่วงอำเภอบ้านบึงเนื่องไปทางบ้านโป่ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 344 จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

กรุงเทพฯ-ภาคตะวันตก (กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี)

เส้นทางหลักที่คนส่วนใหญ่ใช้คือ จากกรุงเทพฯ -ถนนบรมราชชนนี ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านอำเภอนครชัยศรี-จังหวัดนครปฐม-อำเภอบ้านโป่ง ต่อเนื่องเข้าสู่ถนนหมายเลข 323 (แสงชูโต) ซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี แนะนำให้ลองใช้อีกเส้นทาง จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปถนนรัตนาธิเบศร์ ต่อเนื่องไปบางบัวทอง-สุพรรณบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 340 จากนั้นก็ให้ใช้เส้นทางอำเภอบางเลน-กำแพงแสน โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 346 ต่อเนื่องไปทางหลวงหมายเลข 321 ไปจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมุ่งหน้าไปทางอำเภอพนมทวน ด้วยทางหลวงหมายเลข 346 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 324 อำเภออู่ทอง-กาญจนบุรี

กรุงเทพฯ-ภาคใต้

เส้นทางสายหลักที่หลายคนใช้ คือ จากกรุงเทพฯไป ถนนพระราม2 (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร-สมุทรสงคราม แยกวังมะนาว-จังหวัดเพชรบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเส้นทางที่แนะนำจากกรุงเทพฯ ให้ใช้ถนนเพชรเกษม มุ่งหน้าอำเภอสามพราน-นครชัยศรี-จังหวัดนครปฐม-ราชบุรี แล้วมาบรรจบที่แยกวังมะนาว มุ่งหน้าจังหวัดเพชรบุรี  อีกเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปถนนบรมราชชนนี ผ่านอำเภอนครชัยศรี-จังหวัดนครปฐม-ราชบุรี แล้วมาบรรจบแยกวังมะนาว มุ่งหน้าสู่จังหวัดเพชรบุรีได้เช่นกัน  ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้

หากคุณไม่อยากต้องเผชิญกับปัญหารถติดบนเส้นทางสายเดิมที่คุ้นเคย ลองเปลี่ยนมาใช้เส้นทางเลี่ยงที่เราได้แนะนำกันได้ แม้ในบางเส้นทางอาจมีระยะทางไกลขึ้นหรือต้องขับอ้อม แต่ก็ช่วยให้ผู้เดินทางขับรถได้สะดวกขึ้นและไม่ต้องเจอกันรถติดๆ และบางคนที่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ซึ่งบางเส้นทางคุณอาจจะถึงที่หมายได้เร็วขึ้นกว่าเส้นทางปกติด้วยซ้ำไป และขาดไม่ได้คือเบอร์ฉุกเฉินที่ควรมีเอาไว้