Roojai

เตือน! จอดนอนในรถเสี่ยงถึงชีวิต แนะ 4 ทริคนอนในรถให้ปลอดภัย

เปิดแอร์นอนในรถให้ปลอดภัย | นอนในรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

การนอนในรถไม่ว่าจะเพื่อพักงีบให้หายจากการง่วงหรือการเมาจนขับรถต่อไม่ได้ การเปิดแอร์ นอนในรถนี่แหละ สะดวกที่สุด ปัญหาที่ตามมาที่เห็นกันได้จากข่าวก็คือมีการเสียชีวิตจากการนอนในรถเพราะอะไรการนอนเปิดแอร์ในรถถึงทำให้คนเสียชีวิตได้ และถ้าขับต่อไม่ไหวจริง ๆ ต้องนอนในรถ มีวิธีเปิดแอร์นอนในรถให้ปลอดภัยได้ยังไง วันนี้รู้ใจมีคำตอบ

เราคงเคยเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการนอนในรถอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังไม่วายที่จะมีข่าวการเสียชีวิตในลักษณะนี้ออกมาอยู่เรื่อย ๆ นั่นเพราะความเข้าใจผิดบางอย่างสำหรับการนอนในรถ โดยปกติแล้วขณะที่รถยนต์กำลังขับเคลื่อนอยู่บนท้องถนน จะมีการไหลเวียนของอากาศภายนอกรถและอากาศภายในรถอยู่เสมอด้วยการถ่ายอากาศเสียออกทางท่อไอเสีย แล้วรับอากาศที่ดีกลับเข้ามาภายในห้องโดยสาร แต่หากรถยนต์จอดสนิทแล้วเครื่องยนต์ยังทำงาน เครื่องยนต์จะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นภายในห้องโดยสารโดยไม่มีการถ่ายเทออกนอกตัวรถ ก๊าซพิษนี้ก็จะวนเวียนอบอวลอยู่ภายในห้องโดยสาร ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย 

ทำไมนอนในรถถึงอันตราย?

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ขณะที่รถหยุดจะไปแย่งออกซิเจนจับตัวกับเม็ดเลือดแดง ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อหรือส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนเกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ทำให้เลือดเป็นกรดและทำงานไม่ปกติ นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งการเสียชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้ หลังจากการนอนหลับไปแล้ว 2 ชั่วโมง 

แต่สำหรับคนที่ตื่นอยู่อาจมีอาการอย่าง ปวดหัว คลื่นไส้ หายใจลำบาก สับสน และอาจเกิดการชักได้ ยิ่งสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากเท่าไหร่ อาการก็จะยิ่งแย่ลงเท่านั้น

ลดกระจกนอนในรถได้มั้ย?

มีบางความเชื่อที่ว่าการเปิดหน้าต่างเอาไว้ อาจช่วยลดการสะสมของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในห้องโดยสารได้ แต่! มันช่วยถ่ายเทได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ถ่ายเทอากาศเสียออกทั้งหมด เพราะการนอนในรถไม่ว่าจะลดกระจกลงก็ตาม แต่อากาศบางส่วนยังถูกขังอยู่ในรถทำให้ระดับคาร์บอนมอนนอกไซด์เพิ่มขึ้น และออกซิเจนลดลงส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนและนำไปสู่การเสียชีวิต

หากได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มากจนเกินไปต้องทำยังไง?

หากคุณมีอาการเหล่านี้ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดู 

  1. ดับเครื่องยนต์หรือหาที่จอดรถที่ใกล้ที่สุด 
  2. เปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในห้องโดยสาร
  3. ลงจากรถทันที และรอให้อาการต่าง ๆ หายก่อนค่อยกลับขึ้นรถ 
เปิดแอร์นอนในรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ทริคนอนในรถให้ปลอดภัย

บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงการนอนในรถไม่ได้จริง ๆ อย่างการเดินทางไกล ขับรถนาน ต้องมีช่วงเวลาที่รู้สึกง่วงหรืออยากพักสายตาแน่นอน ขับต่อไปก็อาจเกิดอันตรายจากการหลับในจนอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ รู้ใจจึงมาแชร์เปิดแอร์นอนในรถให้ปลอดภัย โดยต้องคำนึงว่าควรทำเทคนิคเหล่านี้ให้ครบถ้วน ดังนี้

1. เปิดกระจกหรือปรับโหมดเครื่องปรับอากาศ

นอนในรถโดยเปิดกระจกหรือปรับโหมดเครื่องปรับอากาศให้สามารถรับอากาศจากภายนอกเข้ามาได้ เพราะโดยปกติแล้วก๊าซจากท่อไอเสียที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวได้สูง ถ้าหากจอดรถในที่โล่งโอกาสที่ก๊าซพิษจะย้อนกลับเข้ามาในรถมีน้อยมาก แต่หากจอดในพื้นที่ปิด เช่น ลานจอดรถ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มันจะไม่สามารถลอยออกไปได้แล้วมันจะย้อนกลับเข้ามาภายในรถ

2. หาที่โล่งสำหรับจอดรถ

หากจำเป็นต้องนอนในรถจริง ๆ ให้หาที่โล่ง ๆ สำหรับจอดรถ และลดกระจกลงมานิดหน่อยพอให้มือลอดเข้ามาไม่ได้เพื่อทำให้เกิดการระบายอากาศภายในรถ

3. ตั้งเวลาในการนอน

จงระลึกไว้เสมอว่านอนให้พอหายง่วง ไม่ใช่นอนยาวเพื่อรอเช้าวันใหม่ ควรตั้งเวลางีบสัก 15 – 20 นาที เป็นเวลาที่กำลังพอดีที่ช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูความสดชื่นและไม่นานจนเกินไป หากมีการรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อตื่นขึ้นมาคุณจะรู้สึกตัวก่อนว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่ และถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติใด ก็ห้ามนอนจนนานเกินไปโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัว

4. เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง

เมื่อรู้ว่าต้องเดินทางควรเตรียมร่างกายให้พร้อม พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามดื่มแอลกอฮอลล์ระหว่างขับรถโดยเด็ดขาด และถ้าเป็นไปได้หากต้องขับรถทางไกลควรหาเพื่อนที่ขับรถเป็นเหมือนกัน คอยสลับการขับจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

การพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องเดินทางไม่ว่าใกล้หรือไกลเพื่อให้คุณมีสติอยู่ตลอดเวลาเมื่อขับรถ เพราะบนท้องถนนไม่ได้มีเพียงแค่คุณ แต่ยังมีคนอื่น ๆ บนท้องถนนอีกด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องจอดพักเพื่องีบก็ควรจอดนอนและทำตามทริคด้านบนได้เลย และอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคิดถึงคือการวางแผนเพื่อรับมือความเสี่ยงทางการเงินหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือเรื่องไม่คาดฝัน เพราะในหลายเหตุการณ์แม้จะระวังแค่ไหนก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ การทำประกันภัยรถยนต์ให้ครอบคลุมก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี รู้ใจ ประกันออนไลน์ เราช่วยคุณเซฟสูงสุด 30% มีแอปเคลมแบบเรียลไทม์ พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม.

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)