Roojai

จะ ต่อภาษีรถยนต์ ต้องรู้! รถอายุกี่ปีต้องเข้า ตรวจสภาพรถ ได้แล้ว

ต่อภาษีรถยนต์ รถกี่ปีต้องตรวจสภาพรถ | รู้ใจ

ตรวจสภาพรถ สิ่งสำคัญที่คนรักรถต้องรู้เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั่นเอง ซึ่งหลายคนมักลืมเวลาสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ รวมไปถึงกฎระเบียบเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ ทำให้ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อภาษีรถยนต์ใกล้หมด และรู้ตัวอีกทีว่ารถตัวเองต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ นั่นหมายถึงเวลาที่เพิ่มขึ้นกับขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งอาจลงเอยไปถึงการจ่ายค่าปรับเนื่องจากภาษีรถยนต์ขาด

รู้ใจพร้อมเปิดเผยข้อมูลการตรวจสภาพรถยนต์ว่ามีความเกี่ยวพันกับการต่อภาษีรถยนต์อย่างไร และรถแบบไหน รุ่นใด ที่ต้องตรวจสภาพรถบ้าง และหากไม่มีเวลาไปตรวจสภาพรถพร้อมต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง จะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ เราพร้อมอธิบายทุกคำถามเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการต่อภาษีรถยนต์ให้กระจ่างชัดทั้งหมด เพื่อป้องกันการเสียเวลาสำหรับคนรักรถทุกคน เมื่อต้องต่อภาษีรถยนต์ของคุณ

สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) | รู้ใจ

มาทำความเข้าใจการตรวจสภาพรถ พร้อมต่อภาษีรถยนต์กัน

เคยหรือไม่ เมื่อถึงเวลาการต่อภาษีรถยนต์ คุณถึงได้รู้ว่ารถของคุณจำเป็นต้อง ตรวจสภาพรถ ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ซะแล้ว คำถามที่ตามมาคือ อะไรคือ กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องทำการตรวจสภาพรถควบคู่กันไปด้วย และถ้าหากละเลย หรือไม่ได้ทำการตรวจสภาพรถก่อนการไปต่อภาษีรถยนต์ จะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง

ข้อบังคับเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องมีการตรวจสภาพของรถก่อนคือ เมื่อใดก็ตามที่รถยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง หลังจากการใช้งานครบ 7 ปีแล้ว ในปีต่อไปก่อนการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีรถยนต์เสมอ โดยการตรวจสภาพรถแต่ละครั้ง จะเป็นการคำนวณภาษีรถยนต์รวมไปถึงการทำประกันเพื่อคุ้มครองรถยนต์ ซึ่งทุกอย่างจะถูกชี้แจงออกมาอย่างชัดเจนหลังจากการตรวจสภาพรถและต่อภาษีรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสภาพรถ โดยจะมีอัตราค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท

และในส่วนของรถจักรยายนต์ก็ต้องตรวจสภาพรถด้วยเช่นกัน เมื่อรถจักรยานยนต์คันนั้นมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ก่อนการต่อภาษีแต่ละครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีด้วย โดยอัตราค่าบริการในส่วนของรถจักรยานยนต์สำหรับการตรวจสภาพรถนั้น มีค่าธรรมเนียมที่คันละ 60 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากการต่อ พ.ร.บ.

เอกสารและสถานที่สำหรับยื่นเรื่อง ตรวจสภาพรถยนต์

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ทางกรมขนส่งทางบกจึงกำหนดเป็นนโยบาย ให้ทุกครั้งที่ทำการตรวจสภาพรถจะต้องทำควบคู่ไปกับการต่อภาษีรถยนต์พร้อมกันไปเลย ดังนั้น การเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ นั้น จึงใช้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการต่อ พ.ร.บ. ในการเป็นหลักฐานเพื่อยื่นสำหรับการตรวจสภาพรถซึ่งมีเอกสารที่จำเป็นสำหรับตรวจสภาพรถพร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ จะใช้เพียง ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือ สมุดทะเบียนรถ สามารถใช้ได้ทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนา (รถยนต์ : เล่มสีฟ้า / จักรยานยนต์ : เล่มสีเขียว )

สมุดทะเบียนรถ เล่มทะเบียนรถ | รู้ใจ

ซึ่งในส่วนของฉบับสำเนานั้นใช้ในกรณีที่รถยังอยู่ในการผ่อนชำระและกรรมสิทธิ์การครอบครองรถยังไม่ได้เป็นของคุณเอง แนบไปพร้อมกับบัตรประชาชนเพื่อทำการยืนยันสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถคันนั้นด้วย การยื่นตรวจสภาพรถสามารถแยกเวลาการทำเอกสารกับการยื่นขอ พ.ร.บ. ได้ แต่จะต้องตรวจสภาพรถพร้อมกับการยื่นขอต่อ พ.ร.บ. ภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากการตรวจสภาพรถแล้ว ดังนั้น เพื่อความสะดวก จึงมักทำควบคู่กันไปเลยในครั้งเดียว

สำหรับสถานที่ในการยื่นเรื่องเพื่อขอทำการตรวจสภาพรถ พร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั้น สามารถยื่นเรื่องได้ใน 2 พื้นที่ด้วยกัน ดังนี้

1.กรมการขนส่งทางบก – โดยที่เจ้าของรถสามารถนำรถไปรับการตรวจสภาพรถพร้อมกับยื่นความจำนงเพื่อขอต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกในจังหวัดที่ใกล้ที่สุดสำหรับการเดินทางของคุณ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การเข้าไปตรวจสภาพรถพร้อมกับต่อภาษีรถยนต์ประจำปีที่กรมการขนส่งทางบกนั้น มักเข้าไปต่อในกรณีที่การตรวจสภาพรถไม่สามารถทำ ณ จุดให้บริการอื่นได้

โดยเงื่อนไขที่ต้องนำรถมาตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบกเองคือ รถที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 1 ปีขึ้นไป หรือ รถที่มีการดัดแปลงสภาพ สี หรือ การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ รวมไปถึงรถที่มีปัญหาในเรื่องของความเลือนรางของหมายเลขตัวถังรถ ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากกรมการขนส่งทางบกเองทั้งหมด

กรมการขนส่งทางบก | รู้ใจ

2.สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. – เชื่อได้เลยว่า คำนี้เป็นคำที่ทุกคนคุ้นเคย แต่อาจเกิดความสงสัยจนไม่กล้าเข้าไปใช้บริการ ด้วยความเข้าใจผิดนานาประการสำหรับการใช้บริการตรวจสภาพรถพร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์โดยอาศัยการให้บริการของ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) โดยความเข้าใจผิดส่วนใหญ่คือ สถานที่ตรวจสภาพรถทำหน้าที่ตรวจสภาพรถแต่เพียงอย่างเดียว และไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ทำให้หลายคนเลือกที่จะไปใช้บริการโดยตรงกับกรมการขนส่งทางบกแทน

ซึ่งในการไปตรวจสภาพรถและต่อภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกนั้นมีคิวที่ยาวมาก อีกทั้งด้วยความเข้าใจผิด คิดว่า มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) จะมีการคิดค่าบริการเพิ่มในอัตราคันละ 200-300 บาท สำหรับการต่อภาษีรถยนต์และการตรวจสภาพรถ ซึ่งถือว่าเป็นความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการทำงานด้านเอกสารด้วยตัวของคุณเอง โดยที่คุณไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบก

รู้หรือไม่ การตรวจสภาพรถต้องตรวจสอบอะไรกันบ้าง

อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญที่นักขับทุกคนต้องรู้คือ ในการตรวจสภาพรถยนต์ในแต่ละครั้ง ทาง ตรอ. หรือกรมการขนส่งทางบกจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ผู้ขับขี่รถควรตรวจสอบให้รอบคอบว่าการตรวจสภาพรถนั้นครบในทุกขั้นตอนหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่อการนำส่งข้อมูลเพื่อขอต่อ พ.ร.บ. ต่อไป ซึ่งจุดที่ต้องตรวจสภาพรถมีดังนี้

  • ตรวจสอบข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ ว่ามีความถูกต้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่
  • ตรวจสภาพของตัวรถ นับตั้งแต่ ตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ามีความพร้อมใช้งานมากน้อยเพียงใด
  • ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรครถยนต์ ว่ามีการทำงานได้อย่างปกติหรือไม่
  • ตรวจสอบความสว่างของโคมไฟหน้า พร้อมกับทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง ว่ามีความสว่างเพียงพอต่อการส่งสัญญาณให้รถคันอื่น รวมถึงการขับขี่รถในยามค่ำคืนด้วยความปลอดภัยได้หรือไม่
  • ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ในระบบไอเสีย ซึ่งสำหรับความเข้าใจของคนทั่วไปก็คือ การตรวจสอบดูว่ารถยนต์คันนั้นมีควันขาวหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าการเผาไหม้ในห้องเครื่องเริ่มมีปัญหาและไม่สมบูรณ์แล้ว
  • ตรวจควันดำ สำหรับในส่วนของรถยนต์เครื่องดีเซล โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
  • ตรวจวัดระดับความดังของเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  • ตรวจสอบตามข้อต่อ ท่อ และอุปกร์ติดแก๊ส สำหรับรถที่ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบแก๊ส จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม คือ การตรวจทดสอบ เช็กตามข้อต่อ ตลอดจนท่อและอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี โดยรถยนต์ที่ใช้แก๊สมาถึง 10 ปีแล้ว ทางกรมการขนส่งทางบกจะอนุญาตให้ใช้งานต่อได้อีก 5 ปี หลังจากนั้นจะไม่ต่อ พ.ร.บ. ให้อีก
ตรวจสภาพรถ ที่กรมการขนส่งทางบก | รู้ใจ

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่นักขับทุกคนควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งคุณจะได้รับการต่อประกันภัยชั้น 3 สำหรับการคุ้มครองผู้ประสบเหตุอีกด้วย แต่หากต้องการความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ต้องไม่พลาดที่จะทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยให้รู้ใจเป็นผู้ดูแล เพราะเรารู้ใจกว่า ประหยัดกว่า ให้คุณเลือกปรับแต่งแผนได้เอง ประหยัดสูงสุดถึง 30% ซื้อง่ายทางออนไลน์ภายในไม่เกิน 3 นาที คุ้มครองคุณทุกที่ ทุกเวลา รับประกันคุณภาพงานซ่อม 12 เดือนที่อู่ในเครือของรู้ใจทั่วประเทศ

สามารถติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ที่ FB fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เลย