Roojai

น่าห่วง! ไทยติด Top 10 ใช้ความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุดในโลก

ไทยติด Top 10 ใช้ความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุดในโลก

เป็นสถิติโลกที่ไม่น่าภูมิใจเอาซะเลย แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้งดใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีหรือคนในครอบครัว แต่ดูเหมือนว่ามันจะไม่ได้ผลสักเท่าไหร่ บทความนี้ เราจะมาพูดถึงความรุนแรงที่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัวว่ามีอะไรบ้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้น วิธีป้องกันและการรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรง | ครอบครัว | รู้ใจ

ผลการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในปี 2564 พบว่ามี หญิงไทยถูกล่วงละเมิดจากการถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ ไม่ต่ำกว่า 7 คนต่อวัน และมีผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 ราย ถือเป็นสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงที่สูงติด 1 ใน 10 ของโลก โดยสามารถแบ่งประเภทความรุนแรงออกได้เป็น

  • ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็น 32.3%
  • ความรุนแรงทางร่างกาย คิดเป็น 9.9%
  • ความรุนแรงทางเพศ คิดเป็น 4.5%

ความรุนแรงที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงตัวเลขจากรายการที่มีการร้องทุกข์เข้ามา ยังมีความรุนแรงในครอบครัวอีกมากมายที่ไม่ได้รับการแจ้ง ด้วยสาเหตุ เช่น ไม่กล้าแจ้งความ ถูกขู่หากมีการแจ้งความ หรืออายไม่อยากเปิดเผยเรื่องราวให้คนอื่นรับรู้

เป็นเรื่องปกติที่ทุกครอบครัวจะต้องมีปัญหา มีปากเสียง มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้าง แต่ในครอบครัวที่ไม่ปกติจะมีการใช้ความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งระหว่างสามีกับภรรยา ลูกกับพ่อหรือแม่ หรือกับเครือญาติ ซึ่งเมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัวขึ้นแล้ว สมาชิกทุกคนล้วนแต่ได้รับความบอบช้ำทั้งทางกายและทางใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความรุนแรงในครอบครัวคือเหตุผลหลักที่นำไปสู่การเป็นปัญหาสังคม หรือทำให้เกิดโรคทางจิตใจต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด

ปัญหาสังคม | รู้ใจ

ความรุนแรง คืออะไร

การกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ การทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ การกระทำทางเพศ การถูกทอดทิ้ง ความรุนแรงต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น

1.ความรุนแรงระหว่างคู่สมรส (Intimate Partner Violence and Abuse หรือ IPV)

IVP คือ พฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ หรือทางเพศต่อผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสหรือคู่ครอง มีได้หลายรูปแบบทั้งความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทุบตี ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การพูดจาให้เกิดความเจ็บใจ ด่าทอ หรือความรุนแรงทางเพศจากการล่วงละเมิดทางเพศ

2.ความรุนแรงต่อเด็ก (Child Abuse)

การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก สามารถแบ่งได้เป็น ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางจิตใจ และการถูกละเลยทอดทิ้ง เช่น

  • การล่วงละเมิดทางร่างกายทุกรูปแบบ ลวนลาม อนาจาร ทำร้ายร่างกาย ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์
  • การล่วงละเมิดทางใจ เช่น โดนตำหนิจนเกินเหตุ การเป็นที่รองรับอารมณ์ของผู้ใหญ่
  • การละเลยทางกายภาพ เช่น เด็กไม่รับการดูแลตามที่ควรจะเป็น
3.ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ (Elder Abuser)

คือการกระทำที่ส่งผลให้ผู้สุงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิดความทุกข์ ความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ และนำมาซึ่งอันตรายต่อสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ เช่น การทอดทิ้งผู้สูงอายุ การทำร้ายร่างกาย การด่าทอ เป็นต้น

ความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครและในสถานการณ์ไหน ก็ล้วนแล้วแต่ไม่เกิดผลดีด้วยกันทั้งสิ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงและเด็กมักจะตกเป็นเหยื่อและได้รับผลกระทบจากในสถานการณ์เหล่านั้น

ทำร้ายร่างกาย | รู้ใจ

ความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

  • ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เป็นการทำร้ายร่างกายโดยเจตนาที่จะใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ เช่น ทุบ ตี เตะ ต่อย ทำให้เกิดบาดแผลตามร่างกาย รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์เลี้ยงด้วย
  • ความรุนแรงที่ออกมาทางคำพูด พูดจาส่อเสียด พูดโดยใช้อารมณ์และคำหยาบ ในการด่า ทำร้ายจิตใจ เหยียดเพศ เหยียดศักดิ์ศรี และทำให้รู้สึกอาย
  • ความรุนแรงทางเพศ จะเห็นได้บ่อยตามข่าวที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน ความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นระหว่างคู่รักหรือระหว่างบุตรกับบุพการี เช่น พ่อบังคับขืนใจลูกสาว สามีตบตีบังคับและทำร้ายภรรยาระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือการกระทำทางเพศที่เป็นการบังคับขืนใจ เป็นต้น
  • ความรุนแรงทางอารมณ์ โดยผู้กระทำจะใช้การข่มขู่ ใช้อารมณ์ในการควบคุมให้อีกฝ่ายทำตาม เช่น การกล่าวหาคู่สมรสว่ามีการนอกใจ ใช้อารมณ์บังคับในการดูข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์ ใช้วาจาที่รุนแรง ด่าทอ วิพากษ์วิจารณ์ โดยห้ามอีกฝ่ายตอบโต้ และรวมไปถึงการเพิกเฉย ไม่ใส่ใจ ดูแลคุณภาพชีวิตของคู่สมรส หรือเหยียดศักดิ์ศรีคู่สมรสโดยการมีคนอื่น เป็นต้น

ปัญหาด้านสุขภาพจิตก็มีส่วนสำคัญในการเกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัว เช่น เป็นโรคซึมเศร้า การติดสุราเรื้อรัง ปัญหาการเงิน ปัญหาด้านยาเสพติดและการพนัน ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงเป็นสาเหตุหลักของการเป็นปัญหาสังคม

ความรุนแรงในครอบครัว | โรคซึมเศร้า | รู้ใจ

ผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวนับเป็นปัญหาสังคมใหญ่ของไทย เพราะครอบครัวควรจะเป็นที่ ๆ อยู่แล้วมีความสุข การที่ในครอบครัวมีแต่ความรุนแรงอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การลงโทษลูกด้วยการตีหรือใช้ความรุนแรงจนทำให้เกิดบาดแผล สิ่งต่าง ๆ นี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งสามารถแบ่งผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึันในครอบครัวได้ 2 ระยะ คือ

  1. ผลกระทบระยะสั้น – ส่งผลให้ลูกมีอาการหงุดหงิดง่าย เลี้ยงยาก เด็กไม่มีความสุข มองโลกในแง่
    ลบและมีปัญหาในการเข้าสังคม มีปัญหาในการเรียน ไม่เชื่อฟังครู
  2. ผลกระทบระยะยาว – ในระยะยาว หากเด็กยังต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงในครอบครัวมาโดยตลอด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการเข้าสังคม ชอบใช้ความรุนแรง เด็กมีความก้าวร้าวเพราะคิดว่าความรุนแรงและความก้าวร้าวเป็นเรื่องปกติ ต่อต้านสังคม ไม่ฟังความคิดเห็นคนอื่น เช่น หากเพื่อนในกลุ่มมีความคิดที่ต่างออกไป จะให้ความรุนแรงบังคับจิตใจให้เพื่อนคิดตามเราให้ได้ หากผู้ปกครองไม่เร่งแก้ไข มีความเป็นไปได้สูงว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นคนไม่ดีในสังคม

เหยื่อผู้ที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว มักจะได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นตรงหรือทางอ้อม เหยื่อจะมีความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กที่เห็นพ่อแม่ใช้ความรุนแรงบ่อย ๆ เมื่อเด็กเกิดความเครียดอาจจะส่งผลออกมาทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ฝันร้าย ในเด็กที่มีความเก็บกดมาก ๆ อาจมีการทำลายข้าวของร่วมด้วย

สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในขณะนี้ หรือสงสัยว่าคนในครอบครัวหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ลองนำคำแนะนำด้านล่างไปปฏิบัติดู

  • ขอความช่วยเหลือ เหยื่อหลายรายที่มักไม่กล้าขอความช่วยเหลือ จงจำไว้ว่าสิทธิการเป็นมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้เท่าเทียมกัน ไม่ควรมีใครได้รับการทำร้ายร่างกายทั้งนั้น หากมีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในครอบครัว ให้รีบแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที หน่วยงานในไทยที่เราคุ้นเคยก็ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิปวีณา
  • ป้องกันตัวเอง การป้องกันตัวเองเป็นการเห็นคุณค่าของตัวเรา เราทุกคนมีสิทธิในร่างกายของเรา หากใครมาทำร้ายร่างกายของเรา เราควรปกป้องไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น เดินหนี ร้องขอความช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งหาวิธีสู้กลับในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เป็นต้น
  • ไม่เชื่อในคำขู่ หากมีการขู่จากผู้ที่กระทำความรุนแรง เช่น โดนขู่ว่าหากแจ้งตำรวจจะทำร้ายร่างกายให้หนักขึ้น หากเราหลงเชื่อและกลัวในคำพูดขู่เหล่านี้ จะยิ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว เพราะนานวันเข้าความรุนแรงก็จะยิ่งทวีคูณขึ้น
  • เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้คนที่เชื่อใจได้ฟัง การบอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวกับเพื่อนสนิท หรือคนที่เราไว้ใจได้ เช่น ครู อาจารย์ เจ้านายที่ทำงาน หรือองค์กรต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการได้ระบายความเครียดที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลเหล่านี้อาจจะมีวิธีการช่วยเหลือให้เราหลุดพ้นจากความรุนแรงนี้ได้
ครอบครัว | รู้ใจ

วิธีป้องกันความรุนแรงในครอบครัว

  1. สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน – ใช้สติมากกว่าอารมณ์ มีเหตุผล เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว ให้หันหน้ามาช่วยกันแก้ปัญหา
  2. หาเวลาว่างทำกิจกรรมด้วยกัน – การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น หากีฬาที่พ่อแม่ลูกเล่นด้วยกันได้ หาเวลาไปพักผ่อนต่างจังหวัด จัดทริปเดินทาง การทำกิจกรรมร่วมกันจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
  3. เลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรง – เช่น การดื่มสุรา สารเสพติดต่าง ๆ ของมึนเมาเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความยับยั้งชั่งใจจะน้อยลง หากมีโต้เถียงกันเกิดขึ้น ให้พยายามหลบหลีกออกจากสถานการณ์นั้นให้เร็วที่สุด แล้วค่อยกลับมาคุยกันเมื่อสถานการณ์กลับมาสู่ปกติ
  4. ขอบคุณและขอโทษกันให้มากขึ้น – การฝึกพูดขอบคุณและขอโทษกันและกัน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดความรุนแรงในครอบครัว เมื่อทำผิดให้รีบขอโทษ โดยอีกฝ่ายต้องตั้งใจฟังและต้องใจกว้างในการให้อภัย ให้จำไว้ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่เคยทำผิดพลาดมาก่อนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
  5. เคลียร์ใจ – ควรหาโอกาสพูดคุยกันเองในครอบครัวถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้กำลังใจกันและกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ปัญหา หรือสามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาครอบครัว เพื่อช่วยกันหาทางออกร่วมกัน ทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีเป้าหมายเดียวกันคือ “อยากเป็น Happy Family” เมื่อความคิดของสมาชิกทุกคนในบ้านตรงกันแล้ว การทำให้เป็น Happy Family นั้นไม่ใช่เรื่องยาก

ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเหมือนเบ้าที่หล่อหลอมให้เด็กที่เกิดมาว่าโตขึ้นจะเป็นคนแบบไหน สถาบันครอบครัวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด หากพบเห็นปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือกำลังเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัว รู้ใจแนะนำให้โทรสายด่วน 1134 หรือแจ้งมูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรี เพื่อขอความช่วยเหลือในลำดับต่อไป

และการวางแผนเพื่อดูแลครอบครัว ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครอบครัวรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น รู้ใจแนะนำประกันมะเร็งและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้สมาชิกในครอบครัวได้ ด้วยราคาเบี้ยประหยัด เข้าถึงได้ทุกครอบครัว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)