Roojai

กินบุฟเฟ่ต์บ่อยเสี่ยงโรคอะไรบ้าง! แนะวิธีกินให้สบายท้อง

กินบุฟเฟ่ต์บ่อยเสี่ยงโรคอะไรบ้าง | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

กองทัพต้องเดินด้วยท้อง แต่บางครั้งท้องหนักเกินไปก็เดินไม่ไหวได้เหมือนกัน ขึ้นชื่อเรื่องของกินใครจะไม่สนใจบ้าง และยิ่งอาหารบ้านเรามีขายตลอดเกือบ 24 ชั่วโมง แถมยังอร่อยถูกปาก บางร้านมีการออก

กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ฉีกจากรูปแบบเดิม ๆ เปิดไลน์บุฟเฟต์ (Buffet) เสิร์ฟตอนหลังเที่ยงคืนถึงเช้า นักดื่มที่เพิ่งเสร็จสิ้นจากการดื่มที่ผับ บาร์ สามารถมากินบุฟเฟ่ต์ต่อก่อนกลับบ้านไปนอน พฤติกรรมแบบนี้ นอกจากจะเสี่ยงโรคอ้วนและเบาหวานแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอีกมากมาย 

สายกินจุกินดุ รู้มั้ย? กินมื้อใหญ่ร่างกายใช้เวลาย่อยนานเท่าไหร่?

ระยะเวลาในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของ อาหาร ความละเอียดในการเคี้ยว อายุ เพศ วัย และระบบเผาผลาญของแต่ละคน โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาประมาณ 24-72 ชั่วโมง (1-2 วัน) ในการย่อย ลองยกตัวอย่างให้ดู เช่น นาย A จัดบุฟเฟ่ต์ชาบูหมูสไลด์แบบเต็มที่ 1 มื้อใหญ่ ร่างกายต้องใช้เวลาย่อยอาหารเหล่านี้อย่างไรถึงจะหมด

  • ถ้าเป็นอาหารประเภทโปรตีน เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา เวลาในการย่อยและดูดซึมประมาณ 1-2 วัน เพราะในโปรตีนและไขมันเนื้อสัตว์ มีโครงสร้างที่ย่อยยาก 
  • ผัก เช่น ผักกาด ผักบุ้ง กวางตุ้ง ฯลฯ มีกากใยสูง ใช้เวลาย่อยไม่นานเท่าเนื้อสัตว์ประมาณ 4-12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก และความละเอียดในการเคี้ยวด้วย 
  • แป้ง น้ำหวาน ขนมหวาน ไม่น่าเชื่อว่าเป็นอาหารที่ย่อยและดูดซึมได้เร็วที่สุด ใช้เวลาเพียง 30-1 ชั่วโมงเท่านั้นในการย่อย และจะถูกดึงไปใช้เป็นพลังงานตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 

กินบุฟเฟ่ต์บ่อยเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

ไม่เฉพาะนักดื่มที่พูดถึง แต่ยังรวมถึงสายกินดุ กินจุ แข่งกันกินเร็ว มีบุฟเฟ่ต์ที่ไหน ฉันจะต้องไปพิชิตให้ได้ การกินที่เยอะมากเกินความจำเป็น เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้หลายโรคทีเดียว เช่น 

1. โรคหัวใจ

ไขมันและน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป จะทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ยากขึ้น ไขมันที่สะสมตามหน้าท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง คลอเรสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดาสูง

2. โรคเบาหวาน

เมื่อไปกินบุฟเฟ่ต์ เรามักกินเยอะ ๆ เพื่อความคุ้มค่า ทั้งน้ำหวาน น้ำอัดลม เนื้อ ของกินเล่น การทานแบบนี้บ่อยเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน และทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยาก

3. โรคซึมเศร้า

ผู้ที่มีพฤติกรรมการกินครั้งละเยอะกินจุ มักจะมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือภาวะวิตกกังวล โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะใช้การกินเป็นการเยียวยาอารมณ์ด้านลบของพวกเขา ซึ่งหลังจากกินมากมายชนาดนั้นแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีความรู้สึกผิดกับตัวเองที่กินเยอะ เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า 

4. โรคอ้วน

หากเรากินจุ กินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ อาจเป็นโรคอ้วนซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากจนเกินกว่าร่างกายจะเผาผลาญหมด จึงเกิดการสะสมไขมันตามอวัยวะต่าง ๆเช่น ไขมันหน้าท้องและยังทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ

5. โรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

พฤติกรรมการกินจุ กินเร็ว กินมันบ่อย ๆ อาจมีอาการทั้งท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย มีลมในกระเพาะ และเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น

6. โรคมะเร็ง

โดยเฉพาะในคนที่ชอบกินปิ้งย่างและหมูกระทะแบบบุฟเฟ่ต์ เพราะในเนื้อแดงที่ถูกปรุงด้วยความร้อนสูง สัมผัสโดยตรงกับอาหาร จะเกิดสารก่อมะเร็ง ชื่อว่า PAH ยิ่งกินบ่อย กินอร่อยก็ยิ่งเสี่ยงมะเร็ง

แม้โรคมะเร็งจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและคนที่เรารัก แต่พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจนำไปสู่โรคร้าย ไม่ว่าโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็งได้ การวางแผนการเงินในวันที่ป่วยจึงสำคัญ ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท ใช้คุณอุ่นใจเมื่อต้องรักษามะเร็งไม่กระทบเงินเก็บ

กินบุฟเฟ่ต์ ชาบู ปิ้งย่าง หมูกระทะ รู้ใจแนะแยกตะเกียบสุก-ดิบ

สายบุฟเฟ่ต์ (Buffet) ชาบูปิ้งย่างหมูกระทะ แน่นอนว่าพอถึงร้านแล้วก็คงสั่งเนื้อหมูมาทานฉ่ำแน่นอน แต่รู้มั้ย? พฤติกรรมการกินโดยใช้ตะเกียบคู่เดียวคีบของสุกและดิบเข้าปาก แบบนี้เสี่ยงโรคไข้หูดับ โดยหากติดเชื้อแล้วจะเริ่มมีอาการเฉลี่ยภายใน 3 วัน อาการมักจะมีไข้สูง ปวดหัว ปวดมื่อยตามตัว/ตามข้อ เวียนหัว ซึม และหากเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ประสาทหูอักเสบจนหูดับ และบางรายอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ รู้ใจแนะนำให้กินหมูที่สุกและแยกตะเกียบคีบเนื้อสุกและดิบด้วยนะ

กินบุฟเฟ่ต์บ่อย ต้องระวังอะไรบ้าง?

1. ระวังเรื่องการกินที่มากเกินความจำเป็น

โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เบค่อน แต่เมื่อจ่ายเงินค่าบุฟเฟ่ต์ไปแล้วต้องกินให้คุ้ม พฤติกรรมการกินแบบนี้ต้องเปลี่ยน! เพราะนอกจากจะเป็นการทรมานร่างกายตัวเองแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสเชิญชวนโรคร้ายต่าง ๆ ให้เข้ามาหาด้วย 

2. ระวังสารก่อมะเร็งที่มาจากอาหารปิ้งย่าง

พฤติกรรมการกินเบค่อนย่างกรอบ ๆ เกรียม ๆ ต้องเปลี่ยน เพราะแม้จะอร่อยสุด ๆ แต่กลับเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็นที่สุดด้วยเช่นกัน เพราะในอาหารปิ้งย่าง ที่เกรียมหรือไหม้ จะมีสารก่อมะเร็งอยู่ คือ Nitrosamines, Pyrolysates และ PAH หากกินบ่อย ๆ ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

3. ระวังเครื่องดื่มและขนมหวาน

เครื่องดื่มตามไลน์อาหารบุฟเฟ่ต์ที่มักจะมีน้ำหวาน ๆ เช่น น้ำอัดลมสีต่าง ๆ น้ำสมุนไพรที่ผสมน้ำตาลซะจนไม่มีรสสมุนไพรอยู่เลย และน้ำเปล่า ที่คนส่วนใหญ่ที่มากินบุฟเฟ่ต์มักจะไม่เลือกดื่มน้ำเปล่า ทั้งน้ำและขนมหวาน ๆ มีน้ำตาลอยู่สูงมาก ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และเป็นการเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดอีกด้วย

แนะนำวิธีกินบุฟเฟ่ต์ให้สบายท้อง | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

4. ระวังโซเดียมเกินจากน้ำซุปและเนื้อสัตว์แปรรูป

ในน้ำซุปตามร้านบุฟเฟ่ต์มีปริมาณโซเดียมอยู่เยอะพอสมควร ใครที่ชอบซดน้ำซุป ซดร้อน ๆ อร่อย ๆ ระวังน้ำหนักตัวจะขึ้น มีภาวะบวมน้ำ และโซเดียมที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของไต และหัวใจ

5. ระวังท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษ

เนื่องจากบางร้านที่ไม่ได้มาตรฐานหรือสนใจแค่กำไรของธุรกิจตัวเอง ก็มักจะเลือกอาหารที่ไม่มีคุณภาพ หรือของถูก เช่น เนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลที่ไม่สด มักจะเป็นสาเหตุหลักของอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ในบางคนที่โชคร้ายมาก ๆ อาจเจอเชื้อแบคทีเรียที่ร่างกายแพ้จนเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน ดังนั้น หากไม่เเน่ใจควรทำให้สุกก่อนกิน หรือเลือกกินบุฟเฟ่ต์ร้านอื่นจะดีกว่า 

กินบุฟเฟ่ต์ยังไง? ให้แฮปปี้ สุขภาพดี สบายท้อง

  1. ไม่ควรอดอาหารก่อนไปกินบุฟเฟ่ต์ เพราะเมื่อเวลาเราหิวมาก ๆ จะกินอาหารเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ
  2. เคี้ยวให้ละเอียด กินอย่างช้า ๆ และกินแต่พออิ่ม
  3. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด เนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ เลือกกินไก่ ปลา หรือหมูที่ไม่ติดมัน 
  4. เน้นผักให้มากกว่าโปรตีน ใยอาหารจากผักจะทำให้รู้สึกอิ่ม ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล และช่วยลดการดูดซึมไขมัน 
  5. เลือกกินอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มากจนเกินไป 
  6. ให้เลือกกินผลไม้ แทนขนมหวาน 
  7. เลือกเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล น้ำเปล่า น้ำชา ไม่แนะนำน้ำอัดลมที่มีน้ำตาล 0% เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมสูง
  8. ระวังการกินน้ำจิ้ม และน้ำซุป ในน้ำจิ้มและน้ำซุปจะมีปริมาณโซเดียมอยู่สูง 
  9. กินอาหารสุกเท่านั้น ไม่เน้นอาหารเกรียม ๆ ไหม้ ๆ หรือกึ่งสุก กึ่งดิบ
  10. เลือกนั่งที่ห่างไกลจากไลน์บุฟเฟ่ต์ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย 

การกินอาหารมื้อพิเศษ ไม่ว่าเพื่อน คนรัก ครอบครัว หลายคนก็เลือกที่จะกินบุฟเฟ่ต์เพราะมีอาหารที่หลากหลาย แต่นอกจากความเอนจอยในมื้ออาหารแล้ว อย่าลืมใส่ใจสุขภาพเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ  กินช้า ๆ ค่อย ๆ เคี้ยว ไม่กินจนแน่นท้องเกินไป ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ และเลือกกินอาหารที่ปรุงสุก

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

สารก่อมะเร็ง สาร รังสี หรือสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เรารับโดยไม่คาดคิดทั้งจากการสัมผัส สูดดม การกินดื่ม เข้าไปเป็นระยะเวลานานและเป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดมะเร็ง
บุฟเฟ่ต์ (Buffet) รูปแบบการกินอาหารที่ผู้ทานสามารถเลือกทานอาหารได้เอง เลือกได้หลากหลาย โดยไม่จำกัดปริมาณ ในราคาและระยะเวลาที่กำหนดไว้
โซเดียม แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ ของเหลว และความดันโลหิตด้วย แต่หากทานมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย