Roojai

อาการแสบร้อนกลางอกแบบกรดไหลย้อน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ต่างกันอย่างไร?

อาการแสบร้อนกลางอก กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ต่างกันอย่างไร | รู้ใจ

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่าโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก สำหรับในบ้านเราข้อมูลสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจของคนไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปี

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ คนไทยส่วนใหญ่มีภาวะความเครียดมากขึ้น ทั้งในเรื่องงาน สภาพเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ด้วยภาวะความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

อาการเบื้องต้นของโรคหัวใจ มีลักษณะเป็นอย่างไร?

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจของเราทำงานผิดปกติ โดยสามารถแบ่งโรคหัวใจออกเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ

คนส่วนมากมักคิดเอาเองว่า โรคหัวใจมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น แต่ความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง โรคหัวใจสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ยิ่งในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีภาวะเครียดจากการทำงาน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์จัด พฤติกรรมของคนเหล่านี้ เสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ ซึ่งมีวิธีสังเกตุอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจเองได้ ดังนี้

  1. เหนื่อยง่าย ระหว่างการออกกำลังกายหรือเดินเร็ว ๆ
  2. มีอาการหายใจเข้าลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย หรือขณะที่ใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
  3. เจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้ง 2 ด้าน
  4. ไม่สามารถนอนราบได้เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ หรือมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
  5. เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  6. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  7. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ

ถ้าคุณเคยมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด แต่จะมีอาการบางอย่างที่ทำให้เราสับสนว่าอาการแบบนี้เป็นกรดไหลย้อนหรือเป็นอะไรกันแน่ คือ อาการแสบร้อนกลางอก

กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก โรคหัวใจ | รู้ใจ

อาการแสบร้อนกลางอก หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีลักษณะอย่างไร?

อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อน มักจะมีอาการเจ็บแสบร้อนที่เกิดขึ้นที่หน้าท้องส่วนบนหรือหน้าอกส่วนล่าง อาการนี้เกิดจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นท่ออาหาร

  • อาการเสียดท้อง และจะมีอาการแย่ลงหลังรับประทานอาหาร
  • อาการเสียดท้อง แสบกลางอก เพราะกรดไหลย้อนจะสามารถบรรเทาได้ด้วยยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • อาการของโรคกรดไหลย้อน จะไม่เกิดอาการหายใจไม่ออก

ส่วนอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะคล้าย ๆ กันกับโรคกรดไหลย้อน แต่จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างกะทันหัน และหายใจลำบาก เหงื่อออกและตัวเย็นร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการแบบนี้ควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะอาการนี้คืออาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและสามารถนำไปสู่อาการหัวใจวายได้ โดยอาการร่วมที่สามารถสังเกตุได้ว่ามีภาวะเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน คือ

  • เหงื่อออก ตัวเย็น
  • หายใจไม่ออก
  • วิงเวียน คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • รู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ

อาการของทั้ง 2 โรคนี้ ถ้าคนไม่เคยศึกษาข้อมูลมาก่อนจะแยกอาการได้ยาก ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่จะทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้

การตรวจสุขภาพประจำปีตามสวัสดิการของบริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถวินิฉัยได้ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าควรไปตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลจะดีกว่าและแม่นยำกว่า ซึ่งขั้นตอนการตรวจหาโรคหัวใจตามโรงพยาบาลจะมีขั้นตอนการตรวจ ดังนี้

  1. แพทย์จะทำการตรวจทุกระบบในร่างกาย รวมทั้งระบบการเต้นของหัวใจและหลอดเลือด วัดความดันโลหิต
  2. เอกซเรย์ทรวงอกและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะวิ่งบนสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
  3. อีกวิธีการตรวจที่แม่นยำคือ การตรวจแบบฉีดสี การฉีดสีนี้เพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ หรือการสวนหลอดเลือดหัวใจ จะได้ผลค่อนข้างแม่นยำ
  4. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงหรือ CT Coronary Artery การตรวจแบบนี้เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบจากการมีไขมันไปเกาะหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันเฉียบพลัน นำไปซึ่งภาวะหัวใจวายได้ การตรวจแบบนี้ช่วยให้แพทย์สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจให้ผู้ป่วยแต่ละรายได้
อาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก หรือโรคหัวใจ | รู้ใจ

มีวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อนและโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร?

เมื่อเราได้ทราบความคล้ายที่แตกต่างกันของอาการแสบร้อนกลางอกและเจ็บแน่นหน้าอกของทั้ง 2 โรคนี้แล้ว เรามาดูกันต่อว่ามีวิธีป้องกันและมีการดูแลสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหัวใจกัน

  1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  2. เลี่ยงหรืองดอาหารทอด และแอลกอฮออล์
  3. รับประทานอาหารที่เหมาะสม เลี่ยงหรือลดอาหารมันและรสจัด (หวานจัด เค็มจัด)
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ
  7. ตรวจเช็คร่างกายตามระยะเวลา

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ รู้ใจอยากเห็นเพื่อน ๆ ทุกคนมีสุขภาพดี การทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงที่ต้องเผชิญกับความเครียด อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน นานวันเข้าอาจจะส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรหันกลับมาเอาใจใส่และมีการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น

การมีประกันสุขภาพดี ๆ ไว้สักเล่มจะยิ่งช่วยทำให้คุณอุ่นใจมากยิ่งขึ้น เมื่อเราเกิดอาการเจ็บป่วยจนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อน ๆ คงไม่อยากเอาเงินเก็บที่อุตส่าห์ตั้งใจทำงานมาหลายปี หมดไปกับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรอก จริงไหม

สนใจทำประกันหรือต้องการดูข้อมูลแผนประกันสุขภาพต่าง ๆ สามารถดูข้อมูลได้เลยที่ www.roojai.com หรือติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai