มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกต่างหวาดกลัว ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ในวัยใดก็ตาม มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้เหมือนกัน ด้วยความซับซ้อนของปัจจัยเสี่ยงและรวมถึงพันธุกรรม ฮอร์โมน และวิถีชีวิต การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและเฝ้าระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดู 6 ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ช่วยลดความเสี่ยง ป้องกันมะเร็งเต้านมกัน
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- มะเร็งเต้านมน่ากลัวแค่ไหน? ส่องสถานการณ์ทั่วโลกและในไทย
- มะเร็งเต้านม คืออะไร?
- มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร?
- 6 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?
- ปรับ 6 ไลฟ์สไตล์ ป้องกันมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมน่ากลัวแค่ไหน? ส่องสถานการณ์ทั่วโลกและในไทย
ก่อนที่เราจะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม ก่อนอื่นต้องรู้ว่าสถานการณ์มะเร็งเต้านมในปัจจุบันเป็นอย่างไร รวมถึงความน่ากลัวของโรคนี้ โดยนายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “ภัยของมะเร็งเต้านม” นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 2.3 ล้านคนทั่วโลก และเสียชีวิตประมาณ 685,000 คนต่อปี
สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย จากข้อมูลในปี พ.ศ.2563 พบว่ามีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2566 จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 22,000 คนต่อปี (อ้างอิง: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
มะเร็งเต้านม คืออะไร?
มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อของเต้านมเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไป มะเร็งเต้านมมักจะเริ่มต้นที่บริเวณท่อน้ำนม (ductal carcinoma) หรือเนื้อเยื่อผลิตน้ำนม (lobular carcinoma) ซึ่งมีโอกาสแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร?
มะเร็งเต้านม สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งสาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมหลัก ๆ ได้แก่
- พันธุกรรม – ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมมีความเสี่ยงสูง
- การกลายพันธุ์ของยีน – โดยเฉพาะยีน BRCA1 และ BRCA2 ที่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง
- ฮอร์โมน – ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมีส่วนในการกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- อายุ – ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม – การสัมผัสสารเคมี การได้รับรังสี หรือการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพ
6 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?
วิธีสังเกตอาการมะเร็งเต้านมที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือน มีดังนี้
- พบก้อนในเต้านมหรือบริเวณรักแร้
- เต้านมบวม
- ผิวหนังเต้านมเป็นหลุมหรือรอยย่น
- มีน้ำหรือสารแปลกปลอมออกจากหัวนม
- หัวนมหดตัวเข้าไป
- รู้สึกเจ็บเต้านมโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว ค่ารักษาพยาบาลมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและโรงพยาบาล โดยเฉลี่ยแล้วการรักษาอาจมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่น หลายแสนบาท หรืออาจเป็นหลักล้านสำหรับมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย การวางแผนด้วยการทำประกันมะเร็งเต้านมรวมมะเร็งชนิดอื่น ๆ ช่วยให้คุณและครอบครัวมีความมั่นคงทางการเงินมากพอให้เข้าถึงการรักษาที่เร็วและมีคุณภาพที่เลือกเองได้ โดยประกันมะเร็งที่รู้ใจ เป็นแบบเจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท และยังคุ้มครองทุกชนิด ทุกระยะมะเร็งอีกด้วย
ปรับ 6 ไลฟ์สไตล์ ป้องกันมะเร็งเต้านม
แม้ปัจจัยเสี่ยงจะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่รู้มั้ย? ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกว่าร้อยละ 90 เป็นสาเหตุจากปัจจัยภายนอก ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสามารถช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่น ๆ ได้มาก ดังนี้
1. ตรวจมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว และสามารถรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งเต้านมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำการตรวจแมมโมแกรม ทุก 2-3 ปี หรือทุกปี หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
น้ำหนักตัวที่เพิ่มสูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเซลล์ไขมันยังคงผลิตและหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการเน้นทานโปรตีนที่ดี และลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงได้
3. เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
ไลฟ์สไตล์การทานอาหารจากพืชธรรมชาติ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์ และเนื้อปลา ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ เพราะมีสารอาหารที่ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากกว่าเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ การดื่มชาเขียวหรือชาดำก็ช่วยป้องกันได้อีกด้วย
อาหารแบบไหน ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม?
อาหารที่มีประโยชน์มีหลากหลาย แล้วกินแบบไหนถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ อาหารช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม มีดังนี้
- ผักตระกูลครูซิเฟอรัส เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก อุดมไปด้วยสารอินโดล-ทรี-คาร์บินัล และซัลโฟราเฟน ซึ่งช่วยเพิ่มการขับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมออกมา
- เห็ดหลากชนิด มีสรรพคุณช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันมะเร็ง โดยเห็ดที่แนะนำ เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดหอม ถั่งเช่า เห็ดหางไก่งวง เห็ดหิ้งไซบีเรีย และเห็ดไมตาเกะ
- อาหารไฟเบอร์สูง แคลอรีต่ำ ร่างกายควรได้รับกากใยจากพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วขาว ถั่วปินโต ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วพีแคน และถั่ววอลนัต อย่างน้อย 10 กรัมต่อวัน เพื่อช่วยลดความเข้มข้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่ดีต่อร่างกาย
- อาหารอุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง พบได้ในชาเขียว องุ่นแดง ไวน์แดง ผลไม้เบอรี่ พริก ขมิ้นชัน ขิง และใบกะเพรา
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ เช่น มะเขือเทศปรุงสุก ฟักข้าว แครอท ฟักทอง และผักสีเขียม
- อาหารที่ช่วยลดการอักเสบ อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลา และน้ำมันมะกอก รวมถึงขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหักโหม เพียงแค่การเดินเร็วก็เพียงพอแล้ว เพราะจะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ชอบออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคต่าง ๆ อีกด้วย
5. หลีกเลี่ยงสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
การหลีกเลี่ยงสารพิษจากผักผลไม้ รวมถึงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ควรเลือกรับประทานสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากสารพิษ
6. เสริมวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยลดความเสี่ยง
อาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพเต้านม เช่น Calcium D-Glucarate จากแคลเซียมและกรดกลูคาริก ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม และช่วยให้ตับขับฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินได้ดี นอกจากนี้ วิตามินดี วิตามินซี และวิตามินรวม ก็สามารถรับประทานเสริมได้ตามคำแนะนำของแพทย์
มะเร็งเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ยิ่งในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงยิ่งต้องระวัง การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้ง 6 ข้อไม่ได้แค่ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันมะเร็งเต้านม แต่ช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนควรใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ วางแผนทำประกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งชนิดอื่น ๆ เอาไว้ในวันที่เจ็บป่วย
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน | เป็นฮอร์โมนเพศที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ผลิตขึ้นจากรังไข่เป็นหลัก และบางส่วนผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน |
ปัจจัยภายนอก | ปัจจัยที่มาจากสิ่งแวดล้อมหรือพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพของเรา เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ มลพิษในอากาศ เป็นต้น |