Roojai

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายที่ผู้ชายต้องระวัง รู้เร็วรักษาทัน

มะเร็งต่อมลูกหมาก | การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยสถิติในปี พ.ศ.2563 โดยมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกในคนไทยวัย 50 ปีขึ้นไป คือ มะเร็งตับ 15.1% มะเร็งปอด 13.8% มะเร็งลำไส้ใหญ่ 12.1% มะเร็งเต้านม 10.3% และมะเร็งต่อมลูกหมาก 5.3% ไม่ว่าจะมะเร็งชนิดไหน ก็ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีด้วยกันทั้งสิ้น วันนี้รู้ใจจะพาเจาะลึกโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่ผู้ชายทุกคนต้องระวัง มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เนื้องอกที่ต่อมลูกหมาก สัญญาณเตือนที่ต้องรู้ ลองอ่านบทความนี้กัน 

ต่อมลูกหมากคืออะไร?

ต่อมลูกหมากหรือ Prostate Gland เป็นอวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะในเพศชาย ต่อมลูกหมากอยู่ระหว่างองคชาตและกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่ผลิตของเหลวที่หล่อเลี้ยงและขนส่งสเปิร์ม หลั่งสารแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากที่เป็นโปรตีนช่วยให้น้ำอสุจิคงสภาพเป็นของเหลว และยังมีหน้าที่ช่วยควบคุมปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมากมักเริ่มต้นจากเซลล์ในต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ 

มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมาก จนกลายมาเป็นเนื้องอกที่ต่อมลูกหมากหรือก้อนมะเร็งในที่สุด โดยเซลล์มะเร็งเหล่านั้นสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ เสียหายและถูกทำลาย มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนได้ว่าเกิดจากอะไร แต่มักจะเกิดในเพศชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะพบมากในชาวตะวันตก จึงเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมการกินอาหาร

อาการมะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการจะเหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่ในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ต้องทำการตรวจคัดกรองถึงจะเจอสารบ่งชี้การเกิดมะเร็ง การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ Prostate-Specific Antigen (PSA) หากพบว่ามีระดับสูงแปลว่าอาจเป็นมะเร็งได้ ซึ่งอาการที่มักจะตรวจพบได้แก่

  • มีความลำบากในการเริ่มต้นปัสสาวะและการปัสสาวะต่อเนื่อง
  • ปวดปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะไหลอ่อน ๆ 
  • มีเลือดปนมากับปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ
  • ปวดหลัง สะโพก หรือกระดูกเชิงกราน
  • อวัยวะเพศไม่ค่อยแข็งตัว

อาการมะเร็งต่อมลูกหมากเมื่อลุกลามมากขึ้น

  • ปวดกระดูก
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • รู้สึกเหนื่อย

หากพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด ยิ่งเจอเร็ว โอกาสในการรักษาให้หายก็จะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น 

มะเร็งต่อมลูกหมาก | โรคร้ายผู้ชาย | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การตรวจทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก
  • การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง สารชนิดนี้จะถูกผลิตขึ้นมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนักด้วยการใช้คลื่นเสียง โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักไปยังตำแหน่งของต่อมลูกหมาก จากนั้นจะใช้เข็มขนาดเล็กดูดเซลล์ต่อมลูกหมาก 12 ตัวอย่าง จาก 12 ตำแหน่ง ออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
  • MRI / Ultrasound Fusion Biopsy เป็นเทคโนโลยีสร้างภาพสามมิติ พร้อมการทำอัลตราซาวนด์แบบ Real-time ช่วยให้แพทย์เห็นรายละเอียดและตำแหน่งของก้อนมะเร็งได้อย่างชัดเจน ทำให้สะดวกในการกำหนดบริเวณที่จะตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้อย่างแม่นยำ 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความรุนแรงของโรค รวมไปถึงสุขภาพของผู้ป่วย 

  • ในผู้ป่วยระยะแรก อาจใช้วิธีติดตามโรค (Active Surveillance)
  • ใช้คลื่นความถี่สูง (HIFU) วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยในระยะแรกและไม่รุนแรงจนถึงขั้นผ่าตัดหรือให้คีโม
  • การผ่าตัดแบบแผลเล็กหรือ Minimal Invasive Surgery (MIS) เพื่อเอาต่อมลูกหมากส่วนที่เป็นมะเร็งออก วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องที่ไม่ไปรบกวนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะรอบข้าง 
  • การฉายรังสี โดยจะฉายรังสีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งสำหรับผู้ป่วยที่สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่พร้อมที่จะทำการผ่าตัด
  • การฝังแร่ โดยการสอดแท่งรังสีขนาดเล็กไปยังต่อมลูกหมากผ่านผิวหนังบริเวณฝีเย็บ
  • การใช้ฮอร์โมน โดยใช้ยาเพื่อลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สามารถใช้ได้ตั้งแต่ระยะแรกและในระยะอื่น ๆ ของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ใช้เคมีบำบัด แพทย์จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อการใช้ฮอร์โมนบำบัดไม่ได้ผล

วิธีรับมือเมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร เน้นผัก ผลไม้สีเข้ม และโปรตีนจากปลาทะเล
  • ลดอาหารจำพวกเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันสูง 
  • เลี่ยงอาหารที่อาจทำให้ท้องเสีย เช่น อาหารค้างคืน ของหมักดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละ 5 วัน
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หากิจกรรมที่ชอบทำเวลาว่างเพื่อลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นอาหารชั้นดีต่อมะเร็ง

สิ่งสำคัญในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก คือ การตรวจพบได้เร็วตั้งแต่ระยะแรก ๆ ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คตัวเองว่ามีอะไรผิดปกติมั้ย รวมถึงไม่นิ่งนอนใจเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติกับร่างกาย นอกจากนั้นการเริ่มต้นดูแลสุขภาพแต่เนิ่น ๆ กินอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพดีและลดความเสี่ยงจากโรคร้าย แต่สุดท้ายโรคร้ายอย่างมะเร็งก็เกิดขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้นการวางแผนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินจึงเป็นทางเลือกที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เงินในกระเป๋าหมดไปกับค่ารักษาพยาบาล ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 5 บาท เบี้ยคงที่ 5 ปี ซื้อง่ายใน 5 นาที เจอ จ่าย จบ คุ้มครองเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง   ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)