Roojai

ท้องผูกเรื้อรังร้ายแรงกว่าที่คิด อาการแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

ท้องผูก | ท้องป่อง | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ท้องป่อง อึดอัด น่ารำคาญ ใครมีปัญหาในการขับถ่าย อย่างถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระมีขนาดก้อนที่เล็กลงและมีความแข็งมากขึ้นจนต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติ หรือเบ่งแล้วอุจจาระไม่ออก ปัญหาเหล่านี้ ร่างกายกำลังบอกว่า คุณกำลังมีปัญหาท้องผูก

ซึ่งปัญหาท้องผูกเรื้อรัง นอกจากจะสร้างความหงุดหงิด อึดอัด น่ารำคาญแล้ว ท้องผูกยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอันตรายอีกหลายอย่าง เรามาดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้ท้องผูกนั้นเกิดจากอะไร อาการท้องผูกเป็นยังไง มีวิธีแก้อย่างไร และท้องผูกก่อให้เกิดโรคอันตรายอะไรได้บ้าง

ท้องผูกคืออะไร?

ท้องผูกคือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระจะมีลักษณะแข็งและแห้งใช้เวลานานกว่าจะขับถ่ายเสร็จหรือถ่ายเสร็จแล้วแต่เหมือนถ่ายยังไม่สุด

อาการแบบไหนเรียกว่าท้องผูก?

  • อุจจาระมีลักษณะแข็ง แห้ง
  • ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระไม่เหมือนเดิม คือน้อยกว่าปกติ หรือน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ใช้เวลาค่อนข้างนานในการขับถ่ายอุจจาระแต่ละที
  • เจ็บหรือมีเลือดออกขณะที่ถ่ายอุจจาระ
  • หลังการขับถ่ายอุจจาระยังมีความรู้สึกเหมือนว่าถ่ายไม่หมด

สาเหตุที่ทำให้ท้องผูก

  • เกิดจากโรคบางโรค เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน และโรคที่ทำให้ลำไส้ตีบตัน
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุม ยาลดกรด ยาลดความดัน ยาแก้ปวด ยาแก้หวัดคัดจมูก ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก หรือชากาแฟ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดท้องผูก
  • การทำงานของลำไส้ผิดปกติหรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติ
  • ความเครียด
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่มักจะเลือกอาหารที่มีกากใยน้อย 
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • รับประทานยาระบายเป็นประจำและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 
  • มีนิสัยชอบกลั้นอุจจาระ

ท้องผูกเรื้อรังส่งผลยังไง?

ท้องผูกเรื้อรังส่งผลให้มีอาการเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่น ปวดหัว ปวดหลัง แน่นท้อง อึดอัด และการเบ่งอุจจาระแรง ๆ ทุกวัน ส่งผลโดยตรงต่อร่างกายหรือส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น 

  • อาจเกิดริดสีดวงทวารหรือมีเลือดออก
  • ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ส่งผลต่อความดันลูกนัยน์ตาสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการรักษาผ่าตัดตาและหู
  • ส่งผลให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของไส้เลื่อน
  • ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ท้องผูกเรื้อรัง อาจทำให้มีอาการลำไส้อุดตันและนำพาไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้

อาการท้องผูกแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

  1. ถ่ายอุจจาระออกมาแล้วมีเลือดปน ถ่ายเป็นเลือด สีหรือลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป และขณะที่ขับถ่ายมีเลือดออกทางทวารหนัก
  2. ถ่ายอุจจาระบ่อยจนผิดปกติ
  3. คลำพบก้อนในช่องท้อง
  4. รู้สึกปวดอุจจาระตลอดเวลา
  5. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  6. ร่างกายซีด อ่อนเพลียง่าย
  7. ปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ถ่ายไม่ออกหรือไม่ผายลม

อาการที่ว่ามานี้ อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ท้องผูก | มะเร็งลำไส้ใหญ่ | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

ท้องผูกเรื้อรังป้องกันได้มั้ย?

หากคุณมีภาวะท้องผูกเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่มีวิธีที่สามารถป้องกันได้ เช่น

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • น้ำดื่มอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ข้าวกล้อง ผลไม้ ธัญพืช
  • หมั่นสังเกตอุจจาระว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 
  • ฝึกนิสัยในการขับถ่ายให้เป็นเวลา 
  • ไม่กลั้นอุจจาระ

อาหารอะไรบ้างที่ป้องกันท้องผูก?

การปรับเรื่องอาหารการกิน เป็นอีกวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ แต่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ แม้ว่าอาการท้องผูกจะทุเลาลงแล้วก็ไม่ควรหยุดการกินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น

  • ข้าวกล้อง ธัญพืช 
  • ผลไม้ เช่น มะละกอสุก 
  • ผักใบเขียว เช่น กุยช่าย ผักโขม 

การปรับอาหารและฝึกนิสัยในการขับถ่าย อาจช่วยบรรเทาอาการหรือช่วยแก้ปัญหาท้องผูกเรื้อรังได้ แต่ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการรักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง

  1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ขับถ่ายทุกเช้าหรือเย็นจนเป็นนิสัย 
  2. กินอาหารเช้า เพราะตอนเช้าลำไส้ใหญ่ทำงานมากที่สุด อาหารที่เรากินเข้าไปจะไปช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ให้บีบตัวจนรู้สึกอยากขับถ่าย
  3. การเดินออกกำลังกาย หลังอาหารเช้าสักประมาณ 30 นาที จะช่วยให้ลำไส้ได้ขยับตัว และหากรู้สึกอยากขับถ่ายให้ขับถ่ายทันที
  4. ในคนที่ท้องผูกควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตร
  5. กินผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยอาหาร
  6. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะไขมันเป็นตัวทำให้การบีบของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง
  7. ความเครียดส่งผลต่อระบบภายในร่างกายของเรา 
  8. รับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติก โพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ตัวดีที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยเศษอาหารและดูแลการขับถ่าย เช่น พวกอาหารหมักดอง กิมจิ 

อาการท้องผูกที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่หากไม่รีบรักษาและปล่อยให้ลุกลามจนร้ายแรงขึ้น อาการท้องผูกเรื้อรังก็อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงขึ้นอย่างโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การเริ่มต้นดูแลตัวเองรวมไปถึงการเตรียมความพร้อมจึงสำคัญ เพราะหากวันนี้ตรวจเจอมะเร็งหรือโรคร้ายแรงขึ้นมาคงต้องหมดเงินเก็บทั้งชีวิตไปกับค่ารักษาพยาบาล การวางแผนความเสี่ยงทางการเงินด้วยการทำประกันมะเร็งจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุณมีเงินก้อนเป็นทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรักษา รู้ใจประกันออนไลน์มีประกันโรคมะเร็ง เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้นวันละ 5 บาท เบี้ยคงที่ 5 ปี ซื้อง่ายใน 5 นาที พร้อมคุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะที่รู้ใจ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)