Roojai

แนะนำ 8 อุปกรณ์ช่วยชีวิต ติดรถไว้ SAVE ได้ทุกสถานการณ์เสี่ยง

อุปกรณ์ช่วยชีวิต | ฉุกเฉินในรถ | รู้ใจ

ด้วยความที่การใช้รถใช้ถนนมักมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว คุณจึงควรมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตในรถ เพื่อใช้สำหรับประคับประคองเหตุการณ์หนัก ๆ ให้กลายเป็นเบาได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์รถติด ไม่มีที่จอด รวมถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งในวันนี้เราก็มาพร้อมกับ 8 ไอเทมช่วยชีวิต ที่คุณไม่ควรมองข้าม! แต่จะมีไอเทมอะไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันได้เลย

1.สายพ่วงแบตเตอรี่

คงไม่ใช่เรื่องดีนักหากคุณเดินทางไปที่ไกล ๆ แล้วพบว่า “รถสตาร์ทไม่ติด” ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็มักเกิดจากแบตเตอรี่หมด ดังนั้นหากคุณมีสายต่อพ่วงแบตเตอรี่ติดรถมาด้วยล่ะก็ คุณจะสามารถขอพ่วงแบตเตอรี่กับรถที่สัญจรไปมาได้สบาย ๆ หรือในบางครั้งอาจจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในกรณีนี้ได้เช่นกัน

วิธีพ่วงแบตเตอรี่ พื้นฐานที่คนใช้รถต้องรู้

หากคุณเป็นมือใหม่ที่ไม่ชำนาญเรื่องการพ่วงแบตเตอรี่ ก็ไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด เพราะรู้ใจได้นำวิธีพ่วงแบตเตอรี่แบบง่าย ๆ มาให้คุณได้ทำตามเมื่อรถสตาร์ทไม่ติดเรียบร้อยแล้ว โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • นำสายแดงต่อขั้วบวกกับรถคันที่ใช้งานได้และตัวถังรถที่แบตหมด
  • นำสายดำมาต่อขั้วลบกับรถคันที่ใช้งานได้และตัวถังรถที่แบตหมด
  • สตาร์ทรถคันที่มีแบตเตอรี่ และเร่งเครื่องเล็กน้อย
  • ลองสตาร์ทรถคันที่แบตหมด พร้อมกับเร่งเครื่องเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องไม่ดับ
  • ถอดสายแดงและสายดำตามลำดับ
สายพ่วงแบตเตอรี่ | แบตเตอรี่หมด | รู้ใจ

2.กรวยวางถนนหรือสัญญาณสะท้อนแสง

“ป้ายสัญญาณ” ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่รถของคุณจอดเสียอยู่ข้างทาง เนื่องจากป้ายสัญญาณดังกล่าว จะมาพร้อมกับแถบสะท้อนแสง ทำให้รถที่สัญจรไปมามองเห็นและสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ทัน ซึ่งจะมีประโยชน์มากในช่วงเวลากลางคืน เพราะถ้าหากคุณไม่มีป้ายหรือสัญญาณเตือน อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนก็เป็นได้

การใช้งานกรวยวางถนน สัญญาณสะท้อนแสง หรือป้ายสัญญาณ ให้ตั้งห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 50-100 เมตร จะช่วยให้คนคันอื่นสามารถเบี่ยงเลนทันและขับผ่านได้อย่างปลอดภัย

กรวยถนน | รถเสีย | รู้ใจ

3.ตัวทุบกระจก และตัดสายเข็มขัดนิรภัยฉุกเฉิน

นอกจากอุปกรณ์ที่ช่วยคุณในกรณีที่รถเสียแล้ว “อุปกรณ์ช่วยชีวิต” ถือเป็นเรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน และหนึ่งในอุปกรณ์ที่แนะนำให้พกติดรถเสมอ เพราะ “มีโอกาส” ได้ใช้มากที่สุด คือ ที่ทุบกระจก ซึ่งมักจะมาพร้อมกับที่ตัดเข็มขัดนิรภัยในตัว มีประโยชน์มากในตอนที่คุณกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถเกิดอุบัติเหตุจนไม่สามารถปลดเข็มขัดได้ รถตกน้ำ หรืออื่น ๆ

ที่ทุบกระจก | ช่วยชีวิต | รู้ใจ

แม้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนมักมองข้าม อาจเป็นเพราะว่าเชื่อมั่นในฝีมือการขับขี่ของตัวเอง รวมถึงมั่นใจว่าเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน แต่คุณรู้ไหมว่าอุปกรณ์ดังกล่าวอาจช่วยให้คุณ “หลุดพ้น” จากสถานการณ์เลวร้าย จนสามารถเอาชีวิตรอดได้เลยล่ะ

ที่่ตัดสายรัดเข็มขัด | เอาตัวรอด | รู้ใจ

4.กล้องติดรถยนต์

ในปัจจุบันกล้องติดรถยนต์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดรถไว้เสมอ บางประเทศถึงกลับออกเป็นกฎหมายกันเลยทีเดียว เนื่องจากกล้องติดรถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่ “เป็นกลาง” มากที่สุด ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยคลิปวิดีโอที่บันทึกได้ จะกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถใช้แจ้งความได้ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกร้องประกันภัยได้อีกด้วย

ภาพเคลื่อนไหวจากกล้องติดรถยนต์เหล่านี้ “ช่วยลดคำพูดเป็นร้อยเป็นพันคำ” แถมยังป้องกันคุณจากการถูกใส่ร้ายหรือใส่ความต่าง ๆ จากคู่กรณีได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันมีผู้คนหันมาให้ความสนใจ และใช้กล้องติดรถยนต์กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นพยานปากสำคัญได้แล้ว ยังช่วยคุณในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อีกด้วย โดยเฉพาะ “ช่วยเป็นหลักฐานตามจับคนร้าย”

กล้องติดรถยนต์ | อุปกรณ์ในรถยนต์ | รู้ใจ

5.ไฟฉาย

ไฟฉายถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ เปลี่ยนอะไหล่ยาง รวมถึงการค้นหาเบอร์โทรศัพท์ หรือสมุดประกันในช่วงเวลากลางคืน ยิ่งถ้าหากเป็นไฟฉายแบบคาดศีรษะยิ่งดีใหญ่ เพราะทำให้สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ไฟฉายยังสามารถเป็น “ตัวส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ” หรือเป็นตัวส่งสัญญาณให้รถคันอื่นหลีกทางจากจุดที่รถเสียในเวลากลางคืนได้อีกด้วย

ไฟฉาย | รถเสีย | รู้ใจ

6.ยางอะไหล่พร้อมแม่แรง

ยางรถยนต์ถือเป็นส่วนที่สัมผัสกับท้องถนนบ่อยที่สุด และถนนในปัจจุบันมีหลากหลายสภาพ เช่น ยางมะตอย คอนกรีต และลูกรัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ จนบางครั้งก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมา เช่น ยางแบน ยางรั่ว ยางแตก หากคุณไม่มียางอะไหล่ติดไว้ในรถ คุณจะไม่สามารถเดินทางต่อได้ จนอาจจะทำให้ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องงาน เรื่องเวลา หรือเลวร้ายที่สุดคือยางรถยนต์มีปัญหา ไม่สามารถขับรถไปต่อได้ และขณะนั้นคุณอยู่บนเส้นทางเปลี่ยว ไม่มีผู้คนสัญจร เสี่ยงอันตรายจากทั้งสัตว์ป่าและมิจฉาชีพ แนะนำให้คุณเตรียมยางอะไหล่พร้อมแม่แรงติดรถยนต์ไว้เสมอ และอย่าลืม “ตรวจสอบ” ยางอะไหล่ให้พร้อมใช้งานด้วย โดยระยะเวลาในการตรวจสอบคือทุก ๆ 3 เดือนนั่นเอง

ขั้นตอนการเปลี่ยนยางอะไหล่รถยนต์

  • สอดแม่แรงเข้าไปใต้ท้องรถ วางตำแหน่งให้ดี พร้อมกับหมุนแม่แรงให้ล้อลอยขึ้นมา
  • นำล็อค มาถอดน็อตล้อ แล้วคลายล็อคให้ครบทุกตัว ด้วยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา หากต้องการใส่กลับให้หมุนตามเข็มนาฬิกาแทน
  • อย่าเพิ่งนำน็อตล้อออกมาจากยาง ให้ทำการหมุนแม่แรงให้ยกล้ออยู่เหนือพื้นถนนเล็กน้อย
  • ไขน็อตล้อออกทั้งหมด นำยางเก่าออกแล้วใส่ยางอะไหล่เข้าไปแทน พร้อมกับใช้มือใส่น็อตล้อเข้าไปให้แน่น
  • ลดระดับแม่แรงจนล้อลงมาติดพื้น หลังจากนั้นนำแม่แรงออกมาจากใต้ท้องรถ นำล็อคมาขันน็อตใส่ล้อ แล้วขันน็อตให้แน่นที่สุด

เมื่อเปลี่ยนยางอะไหล่รถยนต์ด้วยตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อม เพื่อให้ช่างมืออาชีพช่วยเช็คความเรียบร้อยให้อีกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

ยางอะไหล่ | ยางรถยนต์ | รู้ใจ

7.สายชาร์จมือถือ ที่ชาร์จแบตสำรอง

โทรศัพท์มือถือนับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากที่สุดในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกรณีรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ เพราะสามารถใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากหลาย ๆ หน่วยได้อย่างรวดเร็ว เช่น ช่างซ่อม เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงประกันภัย ดังนั้นคุณจึงควรทำให้โทรศัพท์มือถือของคุณพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ด้วยการตรวจเช็กสถานะแบตเตอรี่ พกสายชาร์จมือถือติดรถอยู่เสมอ รวมถึงการพกที่ชาร์จแบตสำรองเมื่อต้องเดินทางไกล หรือต้องใช้โทรศัพท์ทั้งวันจนเสี่ยงแบตเตอรี่หมดระหว่างเดินทาง

สายชาร์จมือถือ | แบตสำรอง | รู้ใจ

8.เอกสารสำคัญของรถ

เอกสารสำคัญของรถควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และสามารถหยิบใช้งานได้ง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน คุณจะต้องตั้งสติและรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดฝันให้ได้ โดยเอกสารที่แนะนำให้เก็บติดรถไว้เสมอ มีทั้งหมด 4 ชุด ดังนี้

  • กรมธรรม์ประกันภัย ควรถ่ายสำเนาและเก็บตัวจริงไว้ในรถ ปัจจุบันบริษัทประกันภัยหลายแห่งมีการใช้แอปพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น รู้ใจ ประกันออนไลน์ ลูกค้าสามารถอ่านรายละเอียดความคุ้มครองและแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านแอปได้ทันที หรือเข้าสู่ระบบผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ ง่าย และสะดวกอย่างมากต่อผู้ใช้งาน
  • คู่มือรถ เมื่อรถเสียหรืออยู่ในช่วงเวลาฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากใครได้ สามารถหาวิธีแก้ไขจากหนังสือคู่มือรถแทน แนะนำให้ไฮไลท์ข้อความสำคัญ ๆ ไว้ล่วงหน้าจะดีที่สุด
  • เล่มทะเบียน ควรใช้สำเนาไม่ควรเก็บตัวจริงไว้บนรถ เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คิดฝัน เช่น รถหาย หรือรถถูกขโมย
  • ใบขับขี่ ควรพกติดตัวหรือเก็บสำเนาแบบขีดคร่อมหน้าไว้ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นลักลอบนำไปใช้ในทางที่มิชอบ
กรมธรรม์ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ในความเป็นจริงแล้วยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ควรพกติดรถอีกมากมาย ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณแล้วว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนจะช่วยเหลือคุณในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และถ้าหากคุณต้องการความอุ่นใจที่เพิ่มมากขึ้น การเลือกซื้อประกันรถยนต์ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่น่าสนใจ เพราะรู้ใจ มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ทั่วไทย ที่พร้อมส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับคุณระหว่างการเดินทาง ไม่ให้คุณต้องโดดเดี่ยวเผชิญปัญหาเพียงลำพัง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)