Roojai

รวม 5 ป้ายจราจร/ป้ายบอกทาง ที่หลายคนเข้าใจผิด เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

ป้ายจราจร/ป้ายบอกทางที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ | รู้ใจ

เชื่อไหม? ว่าอุบัติเหตุทางจราจรที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งเกิดจากการตีความป้ายจราจรผิดไปจากความหมายที่ถูกกำหนดไว้ ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ รู้ใจขอรวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับป้ายจราจรหรือป้ายบอกทางที่มองผิวเผินทำให้เข้าใจได้อีกทาง แต่ความหมายที่แท้จริงนั้นอาจกลับเป็นอีกทางหนึ่งเลยก็ได้ เมื่อคุณขับรถแล้วเจอป้ายจราจรเหล่านี้ จะได้เพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น และเป็นการลดอุบัติเหตุลงไปได้อีกทางหนึ่งด้วย

ป้ายจราจร/ป้ายบอกทาง ในประเทศไทย | รู้ใจ

ป้ายจราจร/ป้ายบอกทางที่ควรระวัง! เข้าใจผิดชีวิตเปลี่ยน อาจเกิดอุบัติเหตุได้

เพราะสัญญาณจราจรที่ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของป้ายจราจรนั้นมีหลายรูปแบบ และบ่อยครั้งป้ายจราจรแต่ละอย่างอาจสื่อความหมายได้กำกวมมาก จึงเกิดเหตุเข้าใจผิดบ่อยครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับป้ายจราจรที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาก รู้ใจเลยขอรวบรวมป้ายจราจรที่หลายคนมักเข้าใจผิดที่พบเห็นได้บนท้องถนนมาให้ในบทความนี้ เพราะการตีความหมายป้ายจราจรที่ผิดไปอาจหมายถึงอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นได้ เรามาดูกันว่ามีป้ายจราจรไหนที่สร้างความปั่นป่วนและเข้าใจผิดให้กับคนขับรถได้อยู่บ่อยครั้ง ดังนี้

1.ป้ายห้ามจอด

สัญลักษณ์แผ่นป้ายจราจรนี้มักสร้างปัญหาเรื่องการตีความกันอยู่พอสมควร เพราะแผ่นป้ายจราจรนี้มีรูปร่างใกล้เคียงกับเครื่องหมายป้ายจราจรห้ามเข้า ดังนั้นการตีความโดยมองว่าเป็นป้ายห้ามเข้าแทนเครื่องหมายของป้ายห้ามจอด จึงกลายเป็นเรื่องราวทำให้เกิดรถติดหรืออุบัติเหตุที่ผู้ขับขี่ไม่ทราบเมื่อขับรถมาในเส้นทางปกติ โดยเข้าใจว่ารถที่จอดอยู่นั้นยังคงวิ่งอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วรถคันนั้นจอดอยู่กับที่ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นมาได้

ป้ายห้ามจอด เป็นป้ายบอกทางที่คนมักเข้าใจผิด | รู้ใจ

นอกจากนั้น ป้ายห้ามจอดยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องของข้อกำหนด ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบของป้ายห้ามจอดมีอยู่ 2 รูปแบบคือ ห้ามจอด (แต่สามารถจอดส่งของได้ชั่วคราว) ซึ่งเป็นลักษณะของป้ายห้ามจอดที่มีเส้นสีแดงคาดข้างเดียว กับป้ายห้ามจอดโดยเด็ดขาด ซึ่งป้ายในลักษณะนี้ผู้ขับรถไม่มีสิทธิ์จอดรถในบริเวณนั้นได้เลยไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม ดังนั้นต้องสังเกตป้ายจราจรให้ดี เพื่อที่คุณจะได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุใด ๆ

2.ป้ายห้ามเข้า

อีกหนึ่งป้ายจราจรที่สำคัญและทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการตีความหมายผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ นั่นคือป้ายห้ามเข้า โดยแผ่นป้ายจราจรนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับป้ายห้ามจอดเป็นอย่างมาก เลยอาจสร้างปัญหาให้กับผู้ขับรถที่ได้เข้าไปในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยและมีการกำหนดป้ายห้ามเข้าเพื่อบังคับรถวิ่งในทางที่กำหนดไว้เป็นระยะ เมื่อตีความผิดจึงเป็นที่มาของการฝ่าฝืนโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจได้รับคำตำหนิจากผู้คนที่ใช้รถใช้ถนนอยู่ในขณะนั้น หรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นได้

ป้ายห้ามเข้า เป็นป้ายบอกทางที่คนมักเข้าใจผิด | รู้ใจ

อีกทั้งรูปแบบของป้ายห้ามเข้าบางแบบ โดยเฉพาะแผ่นป้ายจราจรที่ห้ามเข้าเป็นบางเวลา สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยในพื้นที่การขับรถ ถนนบางแห่งจะมีการเปิดเส้นทางการจราจรในบางเวลา หากไม่ทันสังเกตจริง ๆ อาจขับสวนทางเข้าไปในช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้รถวิ่งเข้าไปแล้วก็เป็นได้ ดังนั้น การขับรถในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยควรมองหาป้ายจราจรเหล่านี้ตามทางแยกร่วมให้ดี เพราะการขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีค่าปรับที่เกิดขึ้น รวมถึงอาจเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ตามมาก็เป็นได้

3.สัญลักษณ์ป้ายจราจรให้จอดชั่วคราว

อีกหนึ่งป้ายจราจรเจ้าปัญหาที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้คนเป็นจำนวนมาก คือป้ายจราจรที่อนุญาตให้จอดรถได้ชั่วคราว ที่มักมีให้เห็นทั้งสองรูปแบบคือ ป้ายสัญญาณจราจรสีเหลือง-ขาว กับ ป้ายสัญญาณจราจรสีดำ-ขาว ทั้งสองรูปแบบคือป้ายจราจรที่อนุญาตให้จอดรถในพื้นที่ได้ชั่วคราวเช่นกัน แต่ชนิดของรถที่อนุญาตให้จอดในพื้นที่เหล่านั้นมีความแตกต่างกัน ผู้ที่ขับรถจึงควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าสัญลักษณ์สีทั้งสองแบบที่แสดงออกมานั้นส่งสัญญาณอะไรบอกให้คุณรู้บ้าง

สัญลักษณ์ป้ายจราจรให้จอดชั่วคราว เป็นป้ายบอกทางที่คนมักเข้าใจผิด | รู้ใจ

สำหรับการจอดรถในพื้นที่ที่มีป้ายจราจรสีเหลือง-ขาว จะอนุญาตให้รถทุกประเภทสามารถจอดได้ชั่วคราวทั้งเพื่อการส่งผู้โดยสาร การส่งสินค้ และในการจอดรถแต่ละครั้งไม่สามารถดับเครื่องยนต์ได้ เมื่อจอดทำภารกิจใด ๆ เสร็จแล้วต้องออกจากจุดจอดนั้นไปในทันที

ส่วนป้ายจราจรสีดำ-ขาว หมายถึงเป็นพื้นที่สำหรับการ “จอดรถชั่วคราว” สำหรับรถโดยสารเท่านั้น เพราะจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าไปจอดในพื้นที่นี้ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งถ้าหากถูกตำรวจจราจรตรวจพบจะถูกดำเนินคดีในข้อหากีดขวางทางจราจรและต้องเสียค่าปรับจำนวนที่สูงไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้น ดูให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่คุณต้องการจอดรถนั้นมีคำสั่งเสริมหรือไม่

4.ป้ายจราจรให้ทางในรูปแบบต่าง ๆ

สำหรับป้ายจราจรประเภทนี้มักจะมีลูกศรชี้สวนทางกันอยู่เสมอ ซึ่งมีหน้าตาเหมือนกับป้ายจราจรที่บอกให้เดินรถสองทางที่มีลักษณะเป็นลูกศรสีดำสองอันวิ่งสวนทางกัน แต่กับสัญลักษณ์จราจรสำหรับการให้ทางอีกรูปแบบที่มักเข้าใจผิดกันอยู่เสมอ คือการให้ทางแบบให้รถด้านหนึ่งด้านใดไปก่อน นั่นคือ แผ่นป้ายจราจรที่มีสัญลักษณ์ลูกศรสีแดง-ดำ

โดยมีความหมายว่า ถ้าฝั่งของคุณถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ลูกศรสีแดงสำหรับการเดินทาง หมายความว่าคุณจะต้องให้พื้นที่สำหรับผู้ที่ขับรถในเส้นสีดำก่อนทุกครั้ง โดยสัญลักษณ์จราจรเช่นนี้มักถูกติดตั้งไว้ในเส้นทางที่คับขันสำหรับการเดินทาง เช่น สะพานที่มีขนาดแคบหรือเล็กจนสามารถเดินรถได้ทีละคันเท่านั้น การปล่อยให้ทางหลักได้เดินทางก่อนย่อมทำให้การเคลื่อนตัวของจราจรเป็นไปอย่างคล่องตัว

ป้ายจราจรให้ทางแบบต่าง ๆ เป็นป้ายบอกทางที่คนมักเข้าใจผิด | รู้ใจ

นอกจากนั้นยังมีป้ายสัญลักษณ์จราจรในการให้ทางที่ถูกเข้าใจผิดบ่อย ๆ คือลูกศรที่มีกรอบสีแดงล้อมรอบ สัญลักษณ์จราจรเช่นนี้คือความหมายของการเดินรถทางเดียวโดยมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องขับรถไปทางไหน และสัญลักษณ์จราจรที่พาให้เกิดความมึนงงคือ สัญลักษณ์จราจรที่ตีความหมายระหว่างการขับตรงไปในช่องทางปกติ กับบังคับให้ขับรถทางตรงอย่างเดียว มีความแตกต่างกันเฉพาะสีกรอบเท่านั้น ดังนั้นต้องสังเกตให้รอบคอบว่าแผ่นป้ายจราจรสำหรับการบังคับการเดินรถนั้นชี้ในรูปแบบไหน อย่างไร และมีกรอบสีในรูปแบบไหนในการให้สัญญาณสำหรับการใช้ถนน

5.การขับรถในวงเวียน (เรื่องที่รู้ แต่หาคนทำตามยาก)

อีกหนึ่งรูปแบบของการละเมิดสัญญาณป้ายจราจรคือ “การขับรถในวงเวียน” โดยข้อกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ให้รถในวงเวียนได้ไปก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้น การขับรถในวงเวียนแต่ละครั้งจึงเป็นเหมือนการแย่งกันเข้า-ออกเสียมากกว่า และแน่นอนเมื่อกฎหมายให้อำนาจสำหรับผู้ที่อยู่ในวงเวียนได้ไปก่อน ยามเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาและคู่กรณีคือรถจากด้านนอกที่ไม่ให้ทางสำหรับการเข้ามาในช่องทางวงเวียน รถคันที่พยายามจะเข้าไปในวงเวียนจะกลายเป็นฝ่ายผิดในทันที ต้องชดใช้ค่าเสียหายและต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเวลานั้น

การขับรถในวงเวียน หลายคนมักเข้าใจผิด | รู้ใจ

รู้ใจชวนทำความรู้จักกับ 5 ป้ายบอกทางซึ่งเป็นป้ายจราจรเจ้าปัญหาที่อาจทำให้การตีความคำสั่งที่ถูกบังคับใช้ผิดไป และแน่นอนว่าเหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น การมีกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า ไว้ดูแลรถที่คุณรักจะเป็นตัวช่วยสำคัญในยามที่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ฝ่าฝืนข้อบังคับการจราจรหรือป้ายจราจรแบบไม่ตั้งใจ อย่างน้อยด้วยประกันภัยรถยนต์ที่มีอยู่ก็สามารถคุ้มครองและดูแลได้ มอบหมายให้รู้ใจได้ดูแลเรื่องการประกันภัยรถยนต์ให้คุณ ด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชม. แจ้งเคลมประกันออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา รับประกันคุณภาพงานซ่อมรถที่อู่ในเครือทั่วไทย 1 ปีเต็ม เราพร้อมดูแลและมอบความคุ้มครองที่ล้ำค่าที่สุดให้คุณ

ติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และสุขภาพ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai ได้เลย