Roojai

เทคนิคขับรถลุยน้ำท่วม พร้อมวิธีดูแลรถหลังลุยน้ำ

ขับรถ | ลุยน้ำท่วม | เทคนิคขับรถ | รถเก๋ง | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ยินดีต้อนรับคุณเข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการ หน้าฝนที่หลายคนชอบเพราะชุ่มฉ่ำ เย็นสบาย แต่นั่นหมายถึงช่วงเวลาที่เจ้าของรถในพื้นที่ต่าง ๆ ต่างกังวลใจเพราะต้องมีโอกาสขับรถลุยน้ำท่วมกันแน่ ๆ รู้ใจแชร์ข้อมูลเพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมท่วมขัง ที่จะทำให้คุณเอาชนะวิกฤตการขับรถลุยน้ำท่วมขังทั่วทุกหนแห่ง รับรองได้ว่าความรู้เหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับช่วงเวลาน้ำท่วมจากพายุฝนได้อย่างแน่นอน

สำหรับการขับรถลุยน้ำท่วม ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้รถพังได้เลย โดยเฉพาะอย่างผู้ที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่อย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เป็นพื้นที่ต่ำ ต้องพบกับปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ ดังนั้นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้จึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รถของเราได้รับความเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด

นอกจากนั้น ด้วยรูปแบบของเมืองที่ส่งผลต่อการระบายน้ำในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการระบายน้ำของท่อระบายน้ำที่ไม่ทันต่อความเร็วของน้ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง จึงทำให้นักขับทุกคนต้องเรียนรู้การเอาตัวรอดจากพื้นที่น้ำท่วมขังโดยที่ทำให้รถไม่เกิดปัญหาตามมาให้ได้ 

สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือ น้ำสูงแค่ไหนที่รถสามารถบุกฝ่าไปได้ การรู้จักพื้นที่และรถของคุณเองเป็นเรื่องที่จะทำให้การตัดสินใจว่าจะขับรถลุยน้ำท่วมหรือเลือกเส้นทางอื่นดี รู้ใจขอแชร์วิธีขับรถลุยน้ำท่วม หากคุณเห็นพื้นที่ตรงหน้ามีน้ำท่วมขังว่าควรขับต่อไปหรือไม่ จากความสูงที่คุณสามารถคาดคะเนได้ดังต่อไปนี้

1. ระดับน้ำสูงไม่ถึงท่อไอเสีย

หากพื้นที่น้ำท่วมขังที่คุณมองเห็นอยู่ด้านหน้ามีความสูงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขอบตัวถังรถเก๋งหรือยังไม่ท่วมถึงท่อไอเสีย นั่นแสดงว่าระดับน้ำยังต่ำอยู่มากสามารถขับเคลื่อนรถผ่านไปได้ เพียงแต่ว่าต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำทะลักเข้าทางท่อไอเสีย ไม่งั้นอาจทำให้รถดับระหว่างทางก็เป็นไปได้ ไม่ควรใช้ความเร็วที่สูงในพื้นที่น้ำท่วมขัง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนในบริเวณนั้น รวมไปถึงหากมีรถคันอื่นที่วิ่งสวนทางมากับขับรถที่มีความเร็วอาจทำให้เกิดคลื่นน้ำไหลทะลักเข้ามาในตัวถังรถเก๋งขนาดเล็กก็เป็นไปได้เช่นกัน

2. ระดับน้ำสูงระดับเดียวกับท่อไอเสีย

โดยส่วนใหญ่แล้วความสูงของรถเก๋งในระดับมาตรฐานจะมีความสูงอยู่ที่ 30 เซนติเมตรโดยประมาณ นั่นหมายความว่าถ้าหากพื้นที่ที่ท่านขับรถลุยน้ำเข้าไปมีความสูงในระดับเทียบเท่ากับตัวถังรถต้องระมัดระวังมาก ๆ แม้ว่าความสูงของท่อไอเสียรถจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่น้ำจะทะลักเข้ามาในตัวถังรถได้ง่าย เป็นพื้นที่ที่รถขนาดเล็กไม่ควรฝ่าขับเข้าไปโดยเด็ดขาด

3. ระดับน้ำสูงระดับเดียวกับตัวถังรถ

หากระดับน้ำในพื้นที่ตรงหน้ามีความสูงอยู่ปริ่มระดับเดียวกับความสูงของรถกระบะ หรือเกือบถึงบริเวณตัวถังรถกระบะ ให้ถือว่าไม่เหมาะที่จะนำรถเก๋งทุกประเภทเข้าไปในพื้นที่แห่งนั้นโดยเด็ดขาด เพราะความสูงของรถกระบะส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งสูงเกินกว่าตัวถังของรถเก๋งส่วนบุคคลแล้ว พื้นที่เหล่านี้จะเหมาะสมแต่เฉพาะรถกระบะทรงสูงเท่านั้นที่จะสามารถขับผ่านไปได้

ขับรถ | น้ำท่วม | รถเก๋ง | รถกระบะ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

4. ระดับน้ำสูงมากกว่าขอบตัวถังรถ

หากพื้นที่ที่คุณต้องการขับรถเข้าไปนั้นมีระดับน้ำสูงเทียบเท่ากับตัวถังของรถกระบะ ถือเป็นพื้นที่วิฤตสำหรับการขับรถลุยน้ำท่วมแล้ว โดยเฉพาะกับรถเก๋งส่วนบุคคลนั้นมีโอกาสถูกน้ำไหลทะลักเข้ามาในตัวรถอย่างแน่นอน

ไม่เพียงแค่นั้นแม้กระทั่งรถกระบะทรงสูงเอง ความสูงของน้ำในระดับของตัวถัง มักมีความสูงเท่ากับระดับของท่อไอเสีย ทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปยังห้องเครื่องและสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์ได้ ถือว่าเป็นระดับความสูงของน้ำที่ไม่ควรให้รถที่ถูกสร้างตามมาตรฐานของโรงงานเข้าไป เว้นไว้แต่ รถที่ถูกดัดแปลงมาเพื่อให้ความช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถขับผ่านเข้าไปได้

การดูแลรถหลังขับรถลุยน้ำท่วม

การขับรถลุยน้ำท่วมนั้น มีขั้นตอนตั้งแต่การตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมเข้าไป ทั้งการรักษาระดับการเร่งเครื่องยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้รถดับระหว่างขับรถลุยน้ำ การรักษาความเร็วเดินทางระหว่างการขับรถสวนกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รถคันอื่น

เมื่อสามารถขับรถผ่านพ้นพื้นที่น้ำท่วมมาได้ สิ่งที่ควรทำก่อนเป็นอันดับแรกคือ จอดรถพร้อมกับสตาร์ตเครื่องทิ้งไว้สักระยะ อย่างน้อยที่สุดควรใช้เวลาประมาณ 5 นาที เพื่อการไล่ไอน้ำออกให้หมด โดยเฉพาะในส่วนของห้องเครื่องยนต์ที่อาจมีความชื้นเข้าไป เมื่อผ่านพ้นระยะเวลาการตรวจสอบแล้วไม่มีความผิดปกติใด ๆ ก็สามารถขับรถต่อไปได้ และหลังจากนั้นต้องทำการตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมทำการล้างและเช็ดให้แห้งมั่นใจให้ส่วนต่าง ๆ ของรถแห้งสนิท ป้องกันการเกิดขี้ตะกรันจากความร้อนและคราบดินคราบโคลนที่มากับน้ำเกาะติดตัวถังรถ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ชิ้นส่วนของรถเสียหายชำรุดก่อนเวลาอันควร

การอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เราต้องเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์น้ำท่วมแบบไม่คาดฝัน นอกจากการมีความรู้เพื่อเตรียมตัวรับมือแล้ว การวางแผนจัดการความเสี่ยงทางการเงินด้วยการทำประกันรถยนต์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคุ้มครองคุณหากเกิดเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่รู้ใจ ช่วยเซฟเบี้ยประกัน 30% เจอถูกกว่ายินดีคืนเงิน นอกจากคุ้มครองการชนทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี ยังคุ้มครองเหตุการณ์อย่างน้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ รวมถึงความเสียหายต่อกระจกรถยนต์อีกด้วย ให้ทุกเส้นทางของคุณไปได้อย่างมั่นใจไร้กังวล

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)