Roojai

7 ปุ่มในรถที่ “ห้ามกดเล่นเด็ดขาด” ไม่อยากรถพังต้องรู้!

ปุ่มในรถที่ห้ามกดเล่นเด็ดขาด | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ภายในห้องโดยสารที่เป็นทั้งที่นั่งคนขับและผู้ร่วมทางมีปุ่มควบคุมรถและสัญลักษณ์ต่าง ๆ อยู่หลายแบบ ยิ่งถ้าเป็นรถที่ออกแบบมาใหม่ล่าสุด แทบจะรวมทุกการควบคุมไว้อยู่บนแผงควบคุมอันเดียวทั้งหมด เจ้าของรถต้องเรียนรู้ให้เข้าใจว่า แต่ละปุ่มมีรูปแบบการใช้งานยังไง เพราะหากกดปุ่มผิดหรือใช้อุปกรณ์พลาดอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นตามมาแบบคาดไม่ถึง ปุ่มในรถที่ “ห้ามกดเล่นเด็ดขาด” เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถและเพื่อให้ขับขี่ความปลอดภัยในทุกเส้นทาง อย่างปุ่มเบรกมือไฟฟ้า ปุ่มสตาร์ทรถ ปุ่มถุงลมนิรภัย ปุ่มเปิดกระโปรงรถที่เรารู้จักกันดี กดเล่นได้มั้ย จะเกิดความเสียหายหรือเปล่า โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับยิ่งต้องรู้เพื่อการขับขี่ปลอดภัย มาเรียนรู้ไปด้วยกัน

1. ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า

สำหรับปุ่มกดตัวแรกที่ต้องระมัดระวังไม่เผลอไปโดนคือปุ่มเบรกมือไฟฟ้า ส่วนที่ถูกออกแบบเสริมขึ้นมารวมกับตัวเบรกของรถที่ในปัจจุบันเปลี่ยนจากระบบแมนนวล มาเป็นระบบไฟฟ้าซึ่งมีหน้าที่ไม่ต่างจากเบรกมือทั่วไปที่เรารู้จักกันดี

ส่วนใหญ่ปุ่มเบรกมือไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับการหยุดหรือจอดรถที่ต้องการความมั่นใจว่ารถจะไม่ไหล ส่วนใหญ่แล้วค่ายรถจะออกแบบให้ตัวเบรกไม่ทำงานระหว่างการขับรถด้วยความเร็วสูง แต่ถ้าเป็นการขับในความเร็วต่ำพอที่เบรกจะทำงานได้ ระบบจะทำการล็อกล้อในทันที ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความบาดเจ็บให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายทั้งต่อระบบเกียร์และระบบเบรกอีกด้วย ดังนั้นระหว่างขับขี่อย่าไปยุ่งกับปุ่มนี้ดีที่สุด ไว้ใช้ตอนจะจอดรถแค่นั้นพอแล้ว 

2. ปุ่มระบบควบคุมการทรงตัว

สำหรับปุ่มกดควบคุมการทรงตัว ถือเป็นเทคโนโลยีความปลอดภัยในรูปแบบใหม่เพื่อช่วยให้การควบคุมรถขณะขับเคลื่อนนั้นทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่ายรถแต่ละแห่งต่างจัดเต็มสำหรับระบบควบคุมเหล่านี้เพื่อให้การขับรถนั้นปลอดภัยและง่ายต่อการควบคุม

ดังนั้นการกดปุ่มระบบควบคุมการทรงตัว ผลที่ตามมาคือ การควบคุมรถที่เป็นไปได้ด้วยความลำบากมากขึ้น ตามแต่ว่าระบบควบคุมเหล่านี้จะเข้าไปควบคุมดูแลในส่วนไหนของตัวรถ เช่น การรักษาความสมดุลของรถขณะบรรทุกของหนัก การปิดปุ่มตัวนี้อาจทำให้รถเสียสมดุลแล้วเกิดความเสียหายร้ายแรงเลยก็ได้

3. ปุ่มปิดการทำงานถุงลมนิรภัย

อีกหนึ่งปุ่มกดควบคุมการทำงานเจ้าปัญหาที่อาจสร้างเรื่องยุ่งยากให้กับคุณคือ ปุ่มควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้เจ้าของรถสามารถควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันควรเป็นปุ่มกดที่ต้องเปิดเอาไว้ให้พร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ แม้ที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ถุงลมนิรภัยทำงานขึ้นมาเอง จนทำให้ผู้โดยสารบาดเจ็บและสร้างความเสียหายให้กับตัวรถ แต่ถ้าคุณเลือกปิดปุ่มการทำงานของถุงลมนิรภัยแล้วเกิดมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น คุณจะต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ทุกอย่างโดยไม่มีสิ่งป้องกันเข้ามาช่วยคุณผ่อนหนักให้เป็นเบา

4. ปุ่มไล่ฝ้า

เจ้าของรถหลายคนคงคิดไม่ถึงแน่ว่าปุ่มไล่ฝ้าจะสามารถสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์ของคุณได้ สำหรับการทำงานของปุ่มไล่ผ้าคือการ ขจัดปัญหาฝ้าบนหน้ากระจกรถของคุณให้กลับมามีทัศนวิสัยที่ปกติ ช่วยให้คุณมองเห็นทุกอย่างอย่างชัดเจนเมื่อคุณขับรถในพื้นที่ฝนตกหนักหรือมีอากาศหนาวเย็นและมีอุณหภูมิที่ต่างกันในสองพื้นที่จนเป็นเหตุให้เกิดฝ้า ปุ่มตัวนี้จะปล่อยลมอุ่นออกมาเพื่อทำให้ฝ้าไม่เกาะที่กระจกรถของคุณ 

ทว่าหากไม่มีเหตุการณ์ที่คุณจำเป็นต้องใช้งานปุ่มนี้ แต่กลับเผลอกดปุ่มนี้ทิ้งเอาไว้ ปัญหาที่อาจตามมาได้มีทั้งขดลวดให้ความร้อนขาด รวมถึงความร้อนที่มีมากเกินไปเมื่อกระจกไปเจอกับความเย็นอย่างจังอาจทำให้กระจกรถแตกเสียหายได้ และการเปิดปุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟทิ้งเอาไว้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบไฟรถโดยรวมด้วยก็เป็นได้

สัญลักษณ์ | ปุ่มในรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

5. ปุ่มเปิดฝากระโปรงด้านหน้า

อีกหนึ่งปุ่มกดสำคัญที่คุณไม่ควรในการใช้งานแบบผิดที่ ผิดเวลาได้ นั่นคือปุ่มเปิดฝากระโปรงหน้ารถ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับพื้นที่ด้านหน้าเป็นตำแหน่งสำหรับการติดตั้งเครื่องยนต์โดยมีฝากระโปรงรถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันห้องเครื่องยนต์อีกชั้นหนึ่ง การกดปุ่มเปิดฝากระโปรงรถทิ้งเอาไว้แล้วขับออกไป อาจทำให้ลมตีจนฝากระโปรงรถเปิดขึ้นมาและสร้างความเสียหายให้กับรถของคุณได้

แต่สิ่งที่อันตรายยิ่งไปกว่านั้น คือการกดปุ่มฝากระโปรงขณะรถกำลังวิ่งด้วยความเร็วสูง ในกรณีนี้ จะเป็นการเพิ่มแรงต้านอากาศให้กับรถ และหากฝากระโปรงรถอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจถูกลมตีเปิดและสร้างความเสียหายให้กับรถอย่างรุนแรงพร้อมทั้งบดบังทัศนวิสัยในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงตามมาได้ในทันที

6. ปุ่มกดควบคุมความเร็ว

อีกหนึ่งปุ่มกดที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการขับขี่ แต่ถ้าหากเผลอใช้งานผิดอาจอุบัติเหตุได้ นั่นคือปุ่มกดควบคุมความเร็วหรือปุ่มช่วยขับรถอัตโนมัติ มีไว้เพื่อในการขับรถเดินทางไกล ไม่ต้องการเหยียบคันเร่งแช่ไว้นาน ๆ และยังต้องการรักษาความเร็วรถเอาไว้ให้คงที่ การใช้ปุ่มควบคุมความเร็วตัวนี้คืออุปกรณ์ชั้นดีสำหรับการช่วยเหลือในการขับรถของคุณ 

แต่การที่คุณลืมปิดปุ่มนี้หลังจากเลิกใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องขับรถเข้าไปในพื้นที่การจราจรติดขัดอาจส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมรถได้จนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน สร้างความเสียหายต่อรถที่ใช้งานทั้งของเจ้าของรถและของคู่กรณีคนอื่นด้วย  

7. ปุ่มสตาร์ทรถ

อีกหนึ่งปุ่มสำคัญที่ไม่ควรไปกดเล่นบ่อย ๆ คือปุ่มสตาร์ทรถยนต์ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นรถที่ถูกออกแบบมาไม่ต้องใช้กุญแจสำหรับการสตาร์ทรถ เพียงแค่มีชุดควบคุมแล้วกดปุ่มก็สามารถสตาร์ทรถได้ในทันที 

โดยระบบการทำงานของปุ่มตัวนี้เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าของรถโดยตรง ดังนั้นการเลือกกดปุ่มนี้ขณะที่รถสตาร์ทเอาไว้อยู่แล้วหรือในขณะที่รถยังคงวิ่งอยู่ จะเป็นการเสี่ยงให้ไดร์สตาร์ทหมุนในขณะที่เครื่องติด และเกิดความเสียหายขึ้นได้กับชิ้นส่วนในระบบของการสตาร์ทนั่นเอง  

แน่นอนว่าฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยปุ่มกดเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานรถของคุณ แต่การใช้ปุ่มเหล่านี้ผิดที่ผิดเวลาทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ และการหาประกันรถยนต์เป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยกันก็ทำให้เราสบายใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นยังมีประกันรถยนต์มาช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน รู้ใจ มีประกันรถยนต์ที่ช่วยคุณประหยัดถึง 30% ปรับแผนความคุ้มครองได้เอง มีอู่และศูนย์ซ่อมทั่วไทย แถมรับประกันงานซ่อม 12 เดือน

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)