Roojai

PMS รับมืออาการก่อนเป็นประจำเดือน วิธีแก้-เมื่อไหร่ต้องหาหมอ

PMS รับมืออาการก่อนเมนส์มา | รู้ใจ

เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนต้องผ่านการมีอาการอารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เดี๋ยวเศร้า เดี๋ยวสนุก เดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวหงุดหงิด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้ เราทุกคนไม่มีใครอยากเป็น แต่มันคือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ตัวเราเองก็ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากใครมีอาการมากเกินไปอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานหรือมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการก่อนเมนส์มาหรือช่วง PMS คืออะไร PMDD กับ PMS ต่างกันอย่างไร และอาการขั้นไหนถึงควรพบแพทย์อาการแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ จนต้องพึ่งพาการรักษาของแพทย์ ผู้หญิงดูแลตัวเองยังไงในช่วงเป็นประจำเดือน มาเช็คอาการไปพร้อมกัน ด้านล่างนี้เลย

PMS คืออะไร?

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนหรือเรียกง่าย ๆ ว่าอาการก่อนเมนส์มา เป็นภาวะอาการที่รู้สึกว่าตัวเองป่วย ซึ่งเกิดได้ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงพฤติกรรม โดยพบ PMS ได้มากถึงร้อยละ 85 ของผู้หญิงที่มีประจำเดือน อาการก่อนเมนส์มา กับ ท้องลูกจะมีอาการคล้ายกัน โดย PMS มักจะมีอาการ เช่น

  • อาการทางด้านร่างกาย เช่น คัดตึงเต้านม น้ำหนักเพิ่มขึ้น พุงป่อง อึดอัด ตัวบวม หิวบ่อย ไม่มีแรง ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดท้องน้อย สิวขึ้น ไม่สบายตัว
  • อาการทางด้านจิตใจ เช่น ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เครียด มีอาการเศร้า วิตกกังวล เบื่อหน่าย อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย

PMS เกิดจากอะไร?

ในส่วนของสาเหตุของการเกิด PMS แม้จะไม่มีรายงานที่ชัดเจนถึงสาเหตุ แต่มีงานวิจัยในอเมริกา พบว่า อาการ PMS นั้นอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. พันธุกรรม – ในคนที่มีอาการ PMS หรือรุนแรงถึงขั้น PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) มักจะพบยีน ESR1 (Estrogen Receptor Alpha) ที่ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม
  2. ความแปรปรวนของฮอร์โมนเพศหญิง – อาการแปรปรวนของผู้หญิงแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ตรวจพบค่าฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในคนที่มีอาการ PMS และในคนที่ไม่มีอาการ PMS ได้ค่าที่แตกต่างกัน สำหรับผู้หญิงที่โดนตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง หรือในคนที่ได้รับยาหยุดการทำงานของรังไข่ จะไม่มีอาการ PMS แต่เมื่อได้รับฮอร์โมนเสริมอาการ PMS ก็จะกลับมา จึงอนุมานได้ว่าอาการ PMS อาจมาจากฮอร์โมนทั้งสองตัวที่กล่าวมา
  3. นิสัยและสิ่งแวดล้อม – จากการศึกษาพบว่า คนยากจน คนที่มีการศึกษาน้อย คนที่สูบบุหรี่จัด หรือในคนที่มีความเครียด จะมีโอกาสเป็น PMS มากกว่าคนทั่วไป
  4. สารสื่อประสาท – จากการแปรปรวนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Opioid, GABA, Beta Endorphine และ Serotonin ลดลง สารเหล่านี้เป็นสารที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า การใช้ยาที่ทำให้สารสื่อประสาทเหล่านี้ทำงานปกติ จะช่วยลดอาการ PMS 
  5. วิตามิน – การกินวิตามินบี1 และบี2 ขนาดสูง กับการลดลงของ PMS มีความสัมพันธ์กัน
วิธี แก้ อาการหงุดหงิด ตอน เป็นประจำเดือน | รู้ใจ

วิธีรับมือกับอาการ PMS

อาการ PMS ซึ่งอาการ PMS นี้จะหายไปเองหลังประจำเดือนมาแล้ว 4-7 วัน การรับมืออาการก่อนเป็นประจําเดือน 1 อาทิตย์หรือ 5-7 วันก่อนมีประจำเดือน รวมถึงวิธี แก้ อาการหงุดหงิด ตอน เป็นประจำเดือน และวิธี แก้ อารมณ์ แปรปรวน ตามด้านล่างนี้ ควรออกกำลังกาย

  • เลี่ยงอาหารหวานจัดหรือเค็มจัด
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • งดเหล้า ชา กาแฟ
  • ทำจิตใจให้เบิกบาน เช่น ฝึกโยคะ สวดมนต์ นั่งสมาธิ 
  • หลีกเลี่ยงความเครียด

สีของประจำเดือนบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?

สีประจำเดือนปกติ

  • สีแดงสด หมายถึงสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ดี 
  • สีแดงเข้ม ในช่วงวันมามาก อาจเพราะอากาศร้อนทำให้มดลูกต้องทำงานหนัก ทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สีดำหรือสีน้ำตาล หมายถึง ร่างกายกำลังขับเอาเลือดเก่าออก

สีประจำเดือนที่ผิดปกติ

  • สีชมพูแดง อาจมีบาดแผลภายใน หรือมีระดับฮอร์โมนต่ำ
  • สีแดงส้ม มีการติดเชื้อภายในช่องคลอด มักจะมาพร้อมกับกลิ่นเหม็นอับ และปวดท้อง
  • สีเทาปนเขียว หากมีตกขาวและปวดท้องน้อยร่วมด้วย มีไข้ อาจเป็นอาการของการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน

อาการแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

จริง ๆ แล้ว PMS จะไม่ได้รุนแรงมากถึงขั้นต้องพบแพทย์ แต่ในบางรายที่มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย จะมีอาการที่รุนแรงกว่า PMS เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder มักจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาการ PMDD มักพบเพียง 2-10% จากจำนวนผู้หญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด ในผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด PMDD ได้มากกว่าคนปกติ อาการเด่น ๆ ของ PMDD มีดังนี้

  1. หงุดหงิดง่าย – พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 และมักจะไม่สามารถระงับอารมณ์ได้
  2. เศร้า – เบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้และมีความเศร้าเป็นอย่างมาก
  3. วิตกกังวล – เป็นอาการที่วิตก กังวลจนเกินเหตุ เช่น กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และมักจะเอาตัวเองออกจากความวิตกกังวลไม่ได้
  4. อารมณ์แปรปรวน – เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย จะมีอาการหนักว่าคนที่เป็น PMS เวลาโมโหจะโมโหร้าย 

หากสังเกตตัวเองแล้วเข้าข่ายทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา อาจจะต้องพึ่งพาการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะ PMDD นอกจากจะส่งผลต่อตัวเองแล้ว ยังส่งผลต่องาน ต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว อีกด้วย 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)