Roojai

พรบ. กฎจราจรใหม่ 2565 รู้ไว้ไม่เสี่ยงใบสั่ง เซฟทุกอุบัติเหตุ

กฎหมายจราจรใหม่ 2565 รู้ไว้ไม่เสี่ยงใบสั่ง เซฟทุกอุบัติเหตุ

เพราะรูปแบบการใช้รถใช้ถนนมีการเปลี่ยนแปลงใหม่กันทุกปี จึงมีการปรับใช้กฎหมายใหม่ ๆ กันอยู่เป็นประจำ ดังเช่นการประกาศใช้ กฎหมายจราจรใหม่ 2565 ที่บอกได้เลยว่าทำเอาชาวคนขับรถทั่วไปพากันปรับตัวแทบไม่ทัน อาทิ การประกาศใช้คาร์ซีทสำหรับผู้โดยสารสำหรับเด็ก เป็นต้น

เรียกได้ว่า การปรับตัวของกฎหมายในแต่ละรอบมีทั้งเรื่องราวที่ชวนเข้าใจ เรื่องราวที่ชวนสงสัยควบคู่กันไปด้วย รู้ใจขอนำเสนอเรื่องราวของกฎหมายเกี่ยวกับกฎจราจรใหม่ที่มีถูกบัญญัติขึ้นมาในปี 2565 นี้ ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง เพื่อผู้ขับรถทั้งหลายจะได้ระมัดระวัง ไม่ทำผิดพลาด และฝ่าฝืนกฎหมายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง

พรบ | อุบัติเหตุ | รู้ใจ

กฎหมายจราจรใหม่ 2565 ทุกอย่างมาจากความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง

สำหรับการปรับใช้กฎหมายจราจรในแต่ละรอบมักมีที่มาที่ไปอยู่เสมอ ดังเช่น กฎหมายจราจรใหม่ 2565 ที่ถูกนำมาพิจารณากันใหม่อีกครั้งเพื่อเพิ่มเติมความปลอดภัย การดูแลรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

แม้อาจโดนค่อนขอดอยู่บ้างว่า “วัวหายแล้วล้อมคอก” อย่างเช่นกรณีสุดคลาสสิกที่เคยเกิดขึ้นในอดีตกับรถตู้โดยสารสาย กรุงเทพฯ-จันทบุรี ที่ประสบอุบัติเหตุจนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นที่มาของการที่รถโดยสารห้ามขับเร็วเกินกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่สามารถดัดแปลงเพื่อติดเบาะที่นั่งเพิ่มเติมได้ ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน การปรับใช้กฎหมายต่าง ๆ มุ่งเน้นไปยังความปลอดภัยที่มีเพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

รวมไปถึง รูปแบบของการควบคุมบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย แน่นอนในเรื่องนี้คือเรื่องที่ถูกจับตามองมากที่สุด เพราะนั่นเกี่ยวข้องกับการออกใบสั่งและการเก็บค่าปรับต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุงรูปแบบการจัดการใหม่ที่ให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะพากันไม่ค่อยปลื้มในกับกฎหมายใหม่ในครั้งนี้ ต้องมาไล่เรียงดูกันไป แต่ละรายการว่ามีอะไรที่เหมาะสมหรือมีอะไรที่น่าสงสัยกันบ้าง ไปอัพเดทกันเลย

กฎจราจร | กฎหมายจราจร | รู้ใจ

อัพเดท กฎหมายจราจรทางบกฉบับปี 2565

สำหรับการปรับปรุงรูปแบบของกฎหมายจราจรประจำปี 2564 นี้ ถือเป็นการปรับใช้เป็นครั้งที่ 13 แล้ว โดยเรียกว่า พรบ. หรือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ เนื้อหาสาระที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคือเรื่องของระบบความปลอดภัยในรถ รวมไปถึงระบบค่าปรับต่าง ๆ ที่มีผลต่อผู้ใช้รถอย่างมากจนทำให้หลายคนแซวกันว่า จะให้ขับเต่าไปทำงานหรืออย่างไร

แต่ถึงอย่างนั้นหากพิจารณากันด้วยเหตุและผล เราจึงเห็นว่าทั้งหมดนี้คือการรักษาวินัยทางการขับขี่ที่ปลอดภัยนั่นเอง มาดูกันว่าในปี 2565 มีเรื่องอะไรที่เป็น Talk of the town กับ พรบ. พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ กันบ้าง

การควบคุมความปลอดภัยด้วยการใช้คาร์ซีท

ในความเป็นจริงแล้วในเรื่องของความปลอดภัยในการนั่งรถของผู้โดยสารเยาว์วัยมีการพูดถึงเป็นอย่างมาก มีข้อแนะนำสำหรับการใช้คาร์ซีทอยู่แต่เดิมแล้ว แต่ยังไม่มีประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการจนกระทั่งในปี 2565 ได้มีการกำหนดกฎหมายจราจรทางบกฉบับใหม่ในมาตรา 123 ว่าผู้โดยสารที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในตำแหน่งคาร์ซีททุกคน ผู้โดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องนั่งประจำที่นั่งและใส่เข็มขัดนิรภัยด้วย

แม้ว่าเรื่องนี้คือเรื่องของความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง แต่ด้วยรูปแบบการใช้รถที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายครอบครัวที่มีเด็กและอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลต่างใช้รถปิ๊กอัพหรือรถกระบะกันทั้งสิ้น ปัญหาคือ รถในรูปแบบนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กเลย นั่นจึงเป็นที่มาของคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมว่า “ทำไมถึงบังคับกันแบบนี้”

คาร์ซีท | ความปลอดภัย | รู้ใจ

อีกทั้งราคาค่างวดของคาร์ซีทยังสูงมาก แม้อาจมีหลายคนบอกว่า คาร์ซีทมือสอง หรือคาร์ซีทราคาถูกมีขายอยู่นะ แต่ว่าในเรื่องของความมั่นใจและความปลอดภัยจะเชื่อใจได้หรือไม่ ดังนั้น เรื่องคาร์ซีท แม้มีประกาศใช้ออกมา แต่ดูเหมือนว่ายังคงต้องถกกันอีกหลายฝ่าย หลายเรื่องอยู่เหมือนกัน

เข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสาร

แม้ว่าในเรื่องนี้คือเรื่องของความปลอดภัยอีกด้วยเช่นกัน แต่คำถามคือแล้วจะปฏิบัติได้หรือไม่ เมื่อ พรบ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ เพิ่มเติมในส่วนของ มาตรา 123/1 ได้ระบุว่า รถโดยสารทุกประเภทต้องมีเข็มขัดนิรภัยให้กับผู้โดยสารด้วย โดยพุ่งเป้าไปยัง รถสองแถวและรถโดยสารขนาดเล็กต้องเตรียมเข็มขัดนิรภัยให้กับทุกที่นั่งด้วย

อย่างไรก็ตามกฎหมายในข้อนี้เหมือนถูกเขียนออกมาไว้อย่างนั้น เพราะดันมีข้อเพิ่มเติมที่สร้างความคลุมเครืออย่างมากคือ สามารถไม่รัดเข็มขัดนิรภัยได้หากมีผู้โดยสารไม่ถึงตามจำนวนที่กำหนดและขับรถเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ดูเป็นความย้อนแย้งกับข้อมูลทางกฎหมายในเบื้องต้นที่มีการบังคับใช้ แต่ในตอนท้ายกลับมีการยกเว้นซะอย่างนั้น ถ้าถูกจับขึ้นมาจะใช้ข้อกฎหมายตัวใดมาเป็นตัวบังคับใช้กันแน่ คำถามนี้ยังคงคลุมเครือไม่แน่ชัดในการนำไปใช้

เข็มขัดนิรภัย | กฎหมายจราจร | รู้ใจ

การตัดคะแนนใบขับขี่เมื่อทำผิดกฎจราจร

เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ต้องพูดถึงกันอยู่ทุกครั้งในยามที่มีการปรับใช้กฎหมายใหม่ในแต่ละรอบ เช่นเดียวกับ พรบ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้มีการใส่รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งในเรื่องของการจับปรับ และการคงค้างการชำระค่าปรับตามใบสั่ง จนถึงในขณะนี้หลังจากมีการประกาศบังคับใช้ข้อกฎหมายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ยังคงตีความข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องของการชำระใบสั่งในรูปแบบของการชำระผ่านทางไปรษณีย์

โดยรูปแบบของการจับปรับที่เปลี่ยนไป ทาง พรบ. จราจรทางบกปรับระดับการจับปรับในรูปแบบของ ตัดคะแนน พักใช้ ยึดใบขับขี่ ระงับใช้รถ ที่เป็นการบ้านที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องไปหาคำนิยาม และการกระทำความผิดแบบไหน ถูกทำโทษทางวินัยอย่างไร แม้ว่ามันคือหลักปฏิบัติที่ปลอดภัยแต่ดูวุ่นวายในการบังคับใช้กันเหลือเกิน โดยข้อความข้างต้นในกฎหมายเกี่ยวกับการจับปรับนี้ได้ระบุเอาไว้ว่า

“ผู้ขับขี่รถแต่ละบุคคลจะมีคะแนนความประพฤติด้านการขับขี่จำนวนคนละไม่เกิน 12 คะแนน และการตัดคะแนน มีตั้งแต่ตัดคะแนนครั้งละ 1 คะแนน ครั้งละ 2 คะแนน ครั้งละ 3 คะแนน และครั้งละ 4 คะแนน ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถจนเหลือศูนย์คะแนนจะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ทุกชนิดคราวละ 90 วัน”

ผู้ขับรถทุกคนต้องไปนั่งดูรูปแบบการตัดคะแนนกันให้ดี ๆ อีกครั้ง แต่ถึงกระนั้น ก็มีผู้ค่อนขอดว่า ไม่เคยเห็นมีการหักคะแนนแต่อย่างใด ผิดปุ๊บก็เป็นแต่ออกใบสั่งให้ทุกที

ใบสั่ง | หมายจับ | รู้ใจ

หมายจับมาแน่! หากไม่ไปจ่ายค่าปรับ

ที่ฮือฮามากกว่าใคร คือการที่มีการประกาศออก “หมายจับ” สำหรับผู้ไม่ยอมไปชำระใบสั่งตามข้อกำหนด ซึ่งในตรงนี้ผู้ใช้รถทั้งหลายมองว่าเกินไปหรือไม่ เพราะการทำผิดกฎหมายการขับขี่โดยทั่วไปเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบละเมิดหรือฝ่าฝืน และที่สำคัญการที่ไม่ได้รับจดหมายแจ้งเกี่ยวกับค่าปรับนั้นยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการที่บอกว่า หากมีการนำส่งใบสั่งออกไป 15 วัน ถือว่าผู้กระทำผิดรับรู้อยู่แล้ว ซึ่งการส่งใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ในระบบออนไลน์ ยังมีประเด็นเรื่อง “จะส่งที่ไหนดี” ให้ได้ปวดหัวกันอีกต่างหาก ปรากฎว่าต่อไปในอนาคตการทำผิดกฎหมายจราจร อาจทำให้คุณได้รับ “หมายเรียก” มาถึงบ้านเลยก็เป็นได้

ศึกษากันเอาไว้ให้ดีสำหรับ พรบ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ มีรูปแบบการประกาศใช้ที่เปลี่ยนไปหลายรายการ สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ต้องถูกปรับคือการรักษาวินัยทางจราจรให้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกเหนือจากการศึกษากฎหมายจราจรอย่างจริงจัง การมองหากรมธรรม์คุ้มครองรถถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

และหากคุณต้องการความมั่นใจ อุ่นใจ ในประกันภัยที่ไม่ซับซ้อน เลือกใช้บริการ รู้ใจ ประกันออนไลน์ เพราะที่นี่รู้จริง ประหยัดจริงเรื่องการทำประกัน ไม่ยุ่งยากในการเคลม เรียกว่าขับขี่อย่างมีวินัย ควบคู่ไปกับการทำประกันภัยรถยนต์ชั้นเยี่ยม เติมเต็มความปลอดภัยให้คุณได้ในทุกเส้นทางอย่างแน่นอน

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)