Roojai

เช็คพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุอัมพฤกษ์-อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง | โรคเบาหวาน | โรคหัวใจ | คอเลสเตอรอล | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

โรคหลอดเลือดสมอง โรคใกล้ตัวของทุกคน โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัย อายุน้อยก็เสี่ยง! แต่ไม่ต้องตกใจไปเพราะหากเราไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง การจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองนั้นค่อนข้างยาก หากอยากรู้ว่าเราเข้าข่ายหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ รู้ใจหาคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้

แม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke จะมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุและประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นมาก่อน เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ แต่หากอ่านบทความนี้และปรับพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงหากกังวลว่าหากเรามีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มีคอเลสเตอรอลสูงจะเสี่ยงเพิ่มขึ้นมั้ย และจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ยังไง ลองอ่านบทความด้านล่างกัน

รู้จักสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

เกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นจากบริเวณอื่นแล้วไหลไปตามกระเเสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองแล้วขยายใหญ่ขึ้นจนอุดตัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันนั้น มักจะเกิดจากการสะสมของไขมัน ทำให้หลอดเลือดตีบแคบจากการเกาะตัวของไขมัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง 

2. หลอดเลือดสมองแตก

เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบวกกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เส้นเลือดเปราะบางนั้นโป่งพองขึ้นมาและแตกออกในที่สุด หรือบางกรณีอาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้ปริแตกได้ง่าย หากเส้นเลือดในสมองแตกเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ อาจถึงกับเสียชีวิตได้ 

โรคหลอดเลือดสมอง | เบาหวาน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

เช็คด่วน! สุขภาพแบบไหนเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ประวัติการรักษาโรคบางโรคหรือยารักษาบางตัวอาจเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหากเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (TIA) ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ อีก ดังต่อไปนี้

1. ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตในระดับที่สูงผิดปกติ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตปกติควรอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท คนที่ความดันโลหิตสูงก็จะยิ่งเสี่ยง พราะทำให้เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือ แตกได้ง่ายกว่าคนปกติ

2. ไขมันในเลือดสูง

เกณฑ์ปกติของคอเลสเตอรอลรวมไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL ไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และไตรกลีเซอไรด์ไม่เกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากไขมันชนิดไม่ดีเหล่านี้บางตัวหรือทุกตัวสูงเกินเกณฑ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตันมากขึ้น

3. โรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ความบกพร่องของลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดปกติ 

4. โรคเบาหวาน

เบาหวานเป็นตัวทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดและไปขวางทางลำเลียงออกซิเจนทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงสมองได้ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีเรื่องความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

5. โรคอ้วน

คนที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจะมีไขมันส่วนเกินในร่างกาย ซึ่งไขมันมีทั้งตัวที่ดีและไม่ดี ซึ่งไปเชื่อมโยงกับคอเลสเตอรอลทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง | เบาหวาน | โรคอ้วน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ใครบ้างที่ต้องระวังโรคหลอดเลือดสมอง ?

หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยทางด้านครอบครัว และอายุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ลองเช็คดูว่าคุณเข้าข่ายมีพฤติกรรมหรือประวัติครอบครัวแบบนี้หรือไม่

  • กินอาหารไขมันสูง – เหล่าสาวกสายปิ้งย่าง ชอบกินเนื้อติดมัน คอหมู หรืออาหารที่มีไขมันสูง นอกจากเสี่ยงคอเลสเตอรอลพุ่งปรี๊ดแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและมะเร็งอีกด้วย
  • ปาร์ตี้หนัก – สายปาร์ตี้ ดื่มหนัก สูบจัด นอกจากจะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ยังเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งตับอีกด้วย
  • พันธุกรรม – เช่น คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติสายตรงมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มจะถ่ายทอดพันธุกรรมนี้สู่ลูกและหลาน
  • อายุ – อายุที่มากขึ้นทำให้เสี่ยงมากขึ้น โดยหลังอายุ 55 ปี โอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเป็น 2 เท่า 
  • เพศ – โรคหลอดเลือดสมองพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่ามีดังนี้
    • หญิงตั้งครรภ์จะมีภาวะความดันโลหิตสูง
    • การใช้ยาคุมกำเนิด และความเสี่ยงจะยิ่งทวีคูณขึ้นหากใช้ยาคุมกำเนิดร่วมกับสูบบุหรี่
  • เชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ – ชาวผิวดำ ฮิสแปนิก อเมริกันอินเดียนและชาวอะเเลสกา มีแนวโน้มในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนผิวขาวหรือคนเอเชีย 

โรคร้ายแรงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดีที่สุด กินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย ไม่เครียด ก็เป็นส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงการทำประกันโรคร้ายแรงให้กับตนเองหรือคนที่เรารัก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ไม่ต้องเครียดกับค่ารักษาพยาบาล และสามารถวางใจรักษาตัวจนหายดี ก็ยังมีเงินเก็บใช้ชีวิตต่อได้ไม่มีสะดุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)