Roojai

ข้อยกเว้นที่ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครอง ต้องรู้ก่อนทำประกัน!

โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ขึ้นชื่อเรื่องโรคร้าย คงจะไม่มีอะไรที่เป็นข่าวดีในนั้นแน่ๆ ทั้งเรื่องของอาการเจ็บป่วย หรือเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่เห็นบิลแล้วลมแทบจับ คนส่วนใหญ่จึงนิยมทำประกันโรคร้ายแรงเผื่อเอาไว้ ในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่การจะทำประกันโรคร้ายนั้น ยังมีข้อยกเว้นและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอย่าถี่ถ้วน

โดยข้อยกเว้นโรคร้ายแรงในบทความนี้ จะเป็นข้อยกเว้นพื้นฐานทั่วไปที่บริษัทประกันไม่คุ้มครอง อย่างกรณีที่ประกันไม่รับเคลม โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง ดังนั้น ก่อนตัดสินใจผู้ซื้อประกันควรต้องศึกษารายละเอียดก่อนการทำประกันภัยทุกครั้ง

โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง?

โรคร้ายแรงนั้น ประกอบด้วยกลุ่มโรคใหญ่ๆ ทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มโรคมะเร็ง – เช่น มะเร็งระยะลุกลาม และมะเร็งระยะไม่ลุกลาม
  2. กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ – เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  3. กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง – เช่น ภาวะโคม่า โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน
  4. กลุ่มโรคภาวะอวัยวะล้มเหลว – เช่น โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โรคปอดระยะสุดท้าย และไตวายเรื้อรัง

ประกันโรคร้ายและประกันมะเร็งต่างกันยังไง?

คนส่วนใหญ่ มักจะสับสนระหว่างประกันโรคร้ายและประกันมะเร็ง เพราะ 1 ในโรคร้ายนั้น ก็มีมะเร็งอยู่ด้วย แล้วทำไมต้องซื้อประกันโรคร้ายกับประกันมะเร็งให้ซ้ำซ้อนกัน จริง ๆ แล้ว มันมีความคุ้มครองที่ทำงานแตกต่างกันอยู่ 

  • ประกันมะเร็ง – จะเน้นความคุ้มครองที่โรคมะเร็งประเภทต่าง ๆ เพียงโรคเดียว
  • ประกันโรคร้าย – จะให้ความคุ้มครองโรคร้ายอื่น ๆ นอกเหนือจากมะเร็งด้วย 

ประกันโรคร้ายแรงให้ความคุ้มครองอะไรอีกบ้าง?

สำหรับบางคนที่มีประกันสุขภาพ แต่ค่ารักษาพยาบาลอาจจะไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร การซื้อประกัน คุ้มครอง โรค ร้ายแรงนั้นมีหน้าที่มีช่วยอุดช่องโหว่ของรายจ่ายจากการรักษาโรคร้าย ที่ต้องรักษาต่อเนื่อง เคลมประกันโรคร้ายแรงจะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล ไม่ให้กระทบเงินเก็บ และสำหรับคนที่มีประกันสุขภาพก็สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยประกันโรคร้ายแรงมีทั้งที่ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาล และมีแบบเจอ จ่าย จบ รับเงินก้อน ซึ่งก็จะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าใครจะตอบโจทย์แบบไหน โดยประกันโรคร้ายแรงที่ชดเชยค่ารักษาพยาบาล ส่วนใหญ่จะ

  • ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเดินทางไปรับการรักษา ค่าวีลแชร์ ค่าติดตั้งลิฟต์ในบ้าน 
  • ประกันที่ครอบคลุมค่ารักษา เหมาะกับคนที่มีภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัวน้อย เช่น ไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว ในทางกลับกันก็ตอบโจทย์สำหรับคนที่บริหารเงินไม่เก่งเช่นกัน
  • ต้องศึกษารายละเอียดการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดว่าครอบคลุมอะไรบ้างอย่างถี่ถ้วน

ประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองเงินก้อน

  • มอบเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้าย
  • สามารถนำเงินก้อนไปบริหารเอง ทั้งค่ารักษา ค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่ายา  รวมถึงสามารถแบ่งจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าบ้าน
  • ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง เช่น เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องหยุดงาน แต่ก็ต้องเป็นคนที่มีการบริหารทางการเงินที่ดี
  • ต้องศึกษารายละเอียดกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วน ว่าสามารถเคลมก้อนได้ในกรณีใดบ้าง

ข้อยกเว้นที่ประกันไม่รับเคลม

ข้อยกเว้นที่ประกันโรคร้ายจะไม่ให้เคลมประกัน กรณีที่ความเสียหายมาจากอาการเจ็บป่วย รวมถึงภาวะ แทรกซ้อน อาการของโรค หรือภาวะผิดปกติที่เกิดจาก 

1. ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นก่อนการเอาประกันภัย 

ความเจ็บป่วยหรือโรคที่เป็นก่อนเอาประกัน หรือโรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด รวมทั้งโรคที่เกิดขึ้นในระยะเวลารอคอย จะไม่สามารถเคลมประกันได้ เพราะถือว่าเป็นมาก่อนทำประกัน 

2. ไม่คุ้มครองภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ 

ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อเอดส์ ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครอง รวมถึงการติดเชื้อจุลชีพฉวยโอกาส เนื้องอกร้ายแรง หรือการเจ็บป่วยใด ๆ จากการที่ผลเลือดเป็บวก ซึ่งเกิดจากไวรัส HIV

3. ไม่คุ้มครองเมื่อใช้สารมึนเมาหรือสารกล่อมประสาท

ประกันจะไม่คุ้มครองโรคที่เกิดจากการใช้สารมึนเมาหรือสารกล่อมประสาทเกินขนาด เช่น ยาเสพติด แอลกอฮอลล์ รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ และการรักษาอาการติดนิโคติน

4. ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นผลจากศัลยกรรมเสริมความงาม

ประกันจะไม่คุ้มครองโรค โรคเรื้อรัง และอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการศัลยกรรมตกแต่ง ศัลยกรรมเสริมความงาม

โรคที่ประกันไม่รับทำประกัน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

5. ไม่คุ้มครองเมื่อจงใจทำร้ายตัวเอง 

ประกันไม่คุ้มครองหากคุณจงใจทำร้ายตัวเอง พยายามฆ่าตัวตาย หรือการฆ่าตัวตาย รวมถึงผู้เอาประกันที่ตั้งใจให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายของโรคติดต่อ 

6. ไม่คุ้มครองบางอาชีพและไลฟ์สไตล์

ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในกองทัพเรือ ทางทหาร หรือกองทัพอากาศ การแข่งรถ การดำน้ำ การอากาศยาน การกระโดดร่มชุชีพ การกระโดดบันจี้จัมพ์ การปีนเขา

7. ไม่คุ้มครองโรคที่เกิดจากการตั้งครรภ์

ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองการรักษาโรคใด ๆ ที่เกิดจากการตั้งครรภ์ รวมถึงการสมัครใจยุติการตั้งครรภ์ การแท้ง การคลอดบุตร หรือโรคภายใจและภายนอกที่มีมาแต่กำเนิด 

8. ไม่คุ้มครองเมื่อเข้าร่วมในการทดลอง

ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันเข้าร่วมในการทดลองทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

9. ไม่คุ้มครองเมื่อกระทำความผิด

ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองความเจ็บป่วยที่เกิดจากการก่ออาชญากรรม ขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม

ระยะเวลารอคอยคืออะไร?

ระยะเวลารอคอย คือ ช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่คุณซื้อประกันและได้รับการอนุมัติแล้วจนถึงวันที่ประกันให้ความคุ้มครอง โดยหากคุณเจ็บป่วยในช่วงระยะเวลานี้จะไม่สามารถเคลมประกันได้ ระยะเวลารอคอยประกันสุขภาพ จะมีเวลาตั้งแต่ 30 – 120 วันขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่คุณทำ โดยประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลารอคอย 90 วัน เพื่อรอดูว่าเรามีอาการเจ็บป่วยก่อนทำประกันหรือไม่ ซึ่งหากคุณมีโรคที่เป็นก่อนการทำประกันและตั้งใจปกปิด อาจเข้าข่ายการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งมีความผิดทางกฎหมาย

นอกจากโรคที่ประกันไม่คุ้มครองแล้ว ระยะเวลารอคอย และกรณีที่ประกันไม่คุ้มครอง การศึกษารายละเอียดการทำประกันก็เป็นสิ่งที่ผู้ทำประกันต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทั้งการจ่ายเงินชดเชยค่ารักษาหรือเงินก้อน จะสามารถเคลมได้ในกรณีไหนบ้าง คลอบคลุมค่ารักษาอะไรบ้าง ต้องศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกัน โดยเฉพาะข้อยกเว้นประกันสุขภาพหรือข้อยกเว้นกรมธรรม์ เพื่อให้ได้ประกันภัยที่ตอบโจทย์และทำให้คุณอุ่นใจได้ในวันที่เจ็บป่วยนั่นเอง

วางแผนสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อวันหน้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ที่รู้ใจเจอ จ่าย จบ หากตรวจพบโรคร้ายรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท เลือกโฟกัสกลุ่มโรคได้ตามใจคุ้มครองถึง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว แถมผ่อนได้สูงสุด 12 เดือน

 สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)