Roojai

พรบ.รถยนต์หายต้องแจ้งความ! พรบ หายต่อภาษีรถยนต์ได้มั้ย?

พรบ หาย ต่อภาษีรถยนต์ได้มั้ย | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “รถยนต์” เป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง คนที่สามารถขับขี่ได้นั้นจะต้องมี “ใบขับขี่รถยนต์” และทำประกันภาคบังคับหรือที่เรียกกันว่า “พรบ.รถยนต์”​ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคุณมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ในการใช้รถยนต์บนท้องถนน หากเอกสารสำคัญอย่าง พรบ. หาย “จะต้องทำใหม่” อย่าคิดมองข้ามเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตได้ อาจกระทบไปถึงการต่อภาษีรถยนต์

พรบ. หายต้องแจ้งความไหม แล้วต้องดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไร และถ้าไม่รีบทำใหม่จะเกิดปัญหาในภายหลังหรือไม่ กับสถาณการณ์ที่บางคนอาจเคยเจอ และอาจต้องเจอในอนาคต จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ไปติดตามพร้อม ๆ กันได้เลย

ทำไมต้องทำพรบ.รถยนต์?

พรบ. ย่อมาจากคำว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่คนมีรถทุกคนต้องทำ ซึ่งมีความสำคัญมาก ๆ ดังนี้

  • ช่วยในกรณีเกิดอุบัติบนท้องถนน (รถชน) ซึ่งคู่กรณีและผู้ขับขี่จะได้รับการรักษาพยาบาล และค่าปลงศพตามแต่กรณี
  • เป็นหลักประกันสถานพยาบาลว่าผู้ได้รับบาดเจ็บจะมีค่ารักษาแน่นอน
  • ช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของญาติผู้ประสบภัยจากรถยนต์
  • เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ที่รัฐมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ความสำคัญตามที่เรากล่าวไปเมื่อข้างต้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่รถยนต์ทุกคนจำเป็นจะต้องมี พรบ.รถยนต์ เสมอ ซึ่งขอเน้นตัวใหญ่ ๆ เลยว่าเป็นคนละตัวกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งในส่วนนี้คือการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจมากกว่าเดิม

พรบ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่สงสัยว่า พรบ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองเป็นอย่างไร เทียบเท่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจหรือไม่ เราได้รวบรวมความคุ้มครองของพรบ.รถยนต์ มาให้คุณทำความเข้าใจแบบเจาะลึก ดังนี้

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่เอง ผู้โดยสารในรถ คนเดินเท้า ฯลฯ จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หากได้รับบาดเจ็บ และยังรวมไปถึงค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด สามารถเคลม พรบ รถยนต์ได้ โดยบริษัทฯ จะชดใช้ให้กับผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีทุพพลภาพถาวร คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต ชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิตภายหลัง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพ 35,000 บาท รวมไม่เกิน 65,000 บาท

คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก ก็เคลม พรบ รถยนต์ได้เป็นจำนวนเงิน ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่น สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000-500,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อคน
  • กรณีเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
พรบ.รถยนต์หาย ต้องแจ้งความ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

หลายคนยังคงสงสัยเพิ่มเติมว่า “พรบ.รถยนต์ คุ้มครองรถหายมั้ย” ตอบตรงนี้เลยว่าไม่คุ้มครอง เนื่องจาก พรบ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย หากต้องการเพิ่มความอุ่นใจและเพิ่มความคุ้มครองในส่วนนี้ “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า

พรบ.หายต้องทํายังไง?

พรบ หาย ต้องทํายังไงดี? สิ่งแรกที่ควรทำคือ แจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่นเดียวกับใบภาษีรถยนต์หายก็ต้องแจ้งความเช่นกัน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการดูแลความปลอดภัย รวมถึงป้องกันบุคคลอื่นนำพรบ.รถยนต์ แอบอ้างนำป้ายไปทำผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งความเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการขอป้ายใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ขอพรบ.รถยนต์ ใหม่

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการดำเนินการขอ พรบ.รถยนต์ ใหม่ สิ่งที่คุณจะต้องเตรียมให้พร้อมก็คือ เอกสาร โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมดังนี้

  • ใบแจ้งความหรือสำเนาบันทึกประจำวัน เพื่อยืนยันว่า พรบ.รถยนต์ หายจริง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถทั้งตัวจริงและสำเนา

เมื่อเอกสารครบถ้วนควรรีบดำเนินการขอพรบ.รถยนต์ ชุดใหม่ก่อนหมดอายุหรือถ้าหากไม่มั่นใจสามารถสอบถามตัวแทนประกันหรือโบรกเกอร์ที่คุณซื้อ พรบ. เพื่อสอบถามวันหมดอายุได้

ขั้นตอนการทำพรบ.รถยนต์ ใหม่

ต้องบอกก่อนว่าการทำ พรบ.รถยนต์ ไม่ได้มีขั้นตอนส่วนไหนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนอย่างที่คิด แต่อาจทำให้เสียเวลารอคิวและดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ค่อนข้างนาน เนื่องจากมักมีผู้เข้ามาทำธุรกรรมที่กรมการขนส่งเป็นจำนวนมาก หากต้องการลดความแออัดในการต่อ พรบ.รถยนต์ สามารถต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ได้ เว้นแต่กรณีที่ทำหายจะต้องเดินทางมาดำเนินการด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ยื่นใบแจ้งความให้กับทางเจ้าหน้าที่ที่กรมการขนส่งฯ ตรวจสอบ
  2. กรอกข้อมูลในกระดาษคำร้องให้ครบถ้วน
  3. รับบัตรคิวและรอดำเนินการตามขั้นตอน
  4. รับ พรบ.รถยนต์ ใหม่ พร้อมเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท

ไม่ว่า พรบ.รถยนต์ จะชำรุด สูญหายหรือหมดอายุ อย่าคิดที่จะไม่ต่ออายุหรือทำ พรบ.รถยนต์ ใหม่เด็ดขาดเพราะถ้าใช้รถโดยไม่มี พรบ. หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และมีปัญหาเรื่องเอกสารต่อเนื่องอีกด้วย

พรบ หาย จะต่อภาษีรถยนต์ได้มั้ย?

ในกรณีที่พรบ หายและถึงเวลาที่ต้องจ่ายภาษีรถยนต์พอดิบพอดี ตามปกติแล้วสามารถใช้สำเนาที่เคยถ่ายเอกสารไว้ เพื่อดำเนินการต่อภาษีได้เลย แต่ถ้าพรบ รถหายและไม่มีสำเนาที่ถ่ายเอกสารเก็บไว้ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ต้องดำเนินการขอพรบ.รถยนต์ใหม่ ให้เรียบร้อยซะก่อน

ต้องยอมรับว่า พรบ.รถยนต์ มีความสำคัญค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วยให้คุณรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้น้อยลง แถมยังช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ได้อีกด้วย หากพบว่า พรบ.รถยนต์ ควรรีบดำเนินการแจ้งความ และขอ พรบ.รถยนต์ ใหม่ โดยเร็วที่สุด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะอาจทำให้คุณต้องแบกรับปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในอนาคตเพียงลำพัง

แต่ความคุ้มครองของพรบ. อาจไม่ครอบคลุม เพราะพรบ.จะคุ้มครองแค่ความเสียหายและการบาดเจ็บทางร่างกาย ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สิน ซึ่งหากคุณเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบค่าซ่อมรถทั้งของตนเองและคู่กรณี ดังนั้น การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจึงเป็นเรื่องที่ควรให้สำคัญ

ที่รู้ใจ มีประกันรถยนต์ที่คุณสามารถปรับแผนความคุ้มครองได้เอง ผ่อนได้สูงสุด 10 เดือน มีอู่และศูนย์ซ่อมมากกว่า 1,600 แห่งทั่วไทย ให้คุณอุ่นใจได้ ว่ารู้ใจจะเคียงข้างคุณ แม้ในยามเกิดอุบัติเหตุ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)