Roojai

8 กิจวัตรประจำวันเสี่ยงอาการโรคซึมเศร้า ทำทุกวัน ไม่ทันรู้ตัว!

กิจวัตรประจำวันเสี่ยงอาการโรคซึมเศร้า | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

อาการโรคซึมเศร้าถือเป็นอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง สามารถสร้างพลังงานลบให้ผู้ป่วยได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังขโมยความสุขไปจากผู้ป่วยจนหมด รวมทั้งสมาธิ การเข้าสังคม ความสามารถในการทำงาน และความต้องการทางเพศ ในคนเป็นโรคซึมเศร้าหากมีอาการซึมเศร้าหนักและรุนแรงมาก ก็สามารถพรากชีวิตของผู้ที่ป่วยไปได้เลย แต่เชื่อมั้ยว่าอาการซึมเศร้านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมประจำวันที่เราทำแล้วเสี่ยงโรคซึมเศร้าไม่ทันรู้ตัว

  1. Couch Potato
  2. ขาดอาหารที่ดีสำหรับบำรุงสมอง
  3. หลบเลี่ยงเเสงแดดอยู่เป็นประจำ
  4. น้ำอัดลมตัวดี
  5. นิสัยการนอนที่ไม่ดีหรือนอนมากจนเกินไป
  6. ออกกำลังกายมากเกินไป
  7. ติดโซเชียลมีเดีย
  8. รับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากเกินไป

โรคซึมเศร้านอกจากจะเกิดจากพันธุกรรม การใช้ยารักษาบางชนิด เกิดจากสารเคมีในสมองที่ผิดสมดุล หรือเกิดจากภาวะหรือสถานการณ์เลวร้ายที่ประสบพบเจอมาจนทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็มีส่วนทำให้คนสมัยนี้เป็นโรคซึมเศร้ากันได้ง่าย มาดูวิธีเช็คโรคซึมเศร้ากันว่าพฤติกรรมที่เราทำทุกวันแบบไหนบ้างอาจเป็นความเสี่ยงและสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

1. Couch Potato

Couch Potato นี้ไม่ใช่ โซฟามันฝรั่งแต่อย่างใด แต่มันแปลว่า พฤติกรรมของคนขี้เกียจ คนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนั่งนอนบนโซฟา ทั้งดูทีวี อ่านหนังสือ ทั้งวันและทุกวัน โดยที่ไม่อยากจะลุกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย การนั่งจับเจ่าอยู่แบบนี้ทำให้รู้สึกเบื่อทุกอย่าง อยากอยู่คนเดียวทั้งวันทุกวัน แบบนี้มีผลต่อสุขภาพแน่นอนและเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคซึมเศร้า

2. ขาดอาหารที่ดีสำหรับบำรุงสมอง

อาหารที่สมองของคนเราชอบนั้น คือ ไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง ต้องมาจากการรับประทานอาหารหรือวิตามินเสริมเท่านั้น หากคุณมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม กินแต่อาหารเดิมซ้ำ ๆ หรือไม่เคยกินอาหารสุขภาพที่บำรุงสมองเลย ทำให้สมองขาดโอเมก้า 3 อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ 

3. หลบเลี่ยงเเสงแดดอยู่เป็นประจำ

ในแสงแดดจะมีวิตามินดี ซึ่งวิตามินดี มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงแต่ทำให้กระดูกแข็งแรงเท่านั้น แต่วิตามินดีเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อสมองด้วย การออกไปข้างนอกให้ร่างกายได้ปะทะกับแสงแดดยามเช้าประมาณ 5-15 นาทีต่อวัน แสงแดดจะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามินดี และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารเซโรโทนินในสมองอีกด้วย สารตัวนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลและทำให้หลับสนิทในตอนกลางคืน 

4. น้ำอัดลมตัวดี

สำหรับคนที่ติดน้ำอัดลม น้ำอัดลมประเภทสีดำจะมีคาเฟอีนและน้ำตาลสูง รวมไปถึงแบบไม่มีน้ำตาลก็ใช่ว่าจะดีต่อสุขภาพ เพราะจากงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้านประสาทวิทยาในต่างประเทศพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารทดแทนความหวาน 4 กระป๋อง หรือ 4 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงต่ออาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า

เลิกทำสิ่งนี้ก่อนเสี่ยงเป็นคนเป็นโรคซึมเศร้า | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

5. นิสัยการนอนที่ไม่ดีหรือนอนมากจนเกินไป

ทั้งการอดนอน นอนดึกจนติดเป็นนิสัย การนอนดึกจะส่งผลต่ออารมณ์หลังจากตื่นนอน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ส่วนการนอนที่มากจนเกิดความพอดีก็ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วร่างกายต้องการการนอนเพียงแค่ 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น การนอนที่มากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน เช่น การหลั่งเอ็นดอร์ฟินหรือเซโรโทนินลดต่ำลง และอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเบื้องต้น และนอกจากนั้นการมีปัญหาเรื่องการนอนหลับยังเป็นอาการโรคซึมเศร้าระยะแรกอีกด้วย

6. ออกกำลังกายมากเกินไป

แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดีสำหรับร่างกาย แต่ควรตั้งอยู่บนความพอดีไม่มากจนเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป โดยคนที่หักโหมกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น วิตกกังวล หรือเกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ 

7. ติดโซเชียลมีเดีย

เวลาที่เราเปิดเข้าไปดูโซเชียลเหล่านี้ มันมักจะสร้างอารมณ์หลากหลายรูปแบบออกมาในเวลาเพียงไม่วินาที ยกตัวอย่าง การดู Short Clip ที่มักจะมีความยาวไม่เกิน 30 วินาที บางคลิปสั้นกว่า 30 วินาที เลื่อนดูไปเรื่อย ๆ คลิปนี้ตลกทำให้อารมณ์ดี เพียงไม่กี่วินาทีเลื่อนดูคลิปต่อไปคลิปนี้เศร้าเหลือเกิน แล้วก็เลื่อนผ่านไปที่คลิปต่อไปคลิปนี้ทำให้โมโหเหลือเกิน จะเห็นได้ถึงความหลากหลายของอารมณ์เพียงไม่กี่วินาที รวมไปถึงการเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนในโลกโซเชียล พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ และสมาธิสั้น 

8. รับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากเกินไป

ความหวานจากน้ำตาลหรือจากแป้งที่เรากินเข้าไป มีผลเชื่อมโยงทางอารมณ์และภาวะซึมเศร้า (Sugar blues) คือ ความรู้สึกที่อยากกินของหวาน และหากไม่ได้กินจะหงุดหงิด รู้สึกเศร้าตลอดเวลา หรือมีภาวะทางอารมณ์ จนทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้าได้  

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)