Roojai

เจาะลึก! สีป้ายทะเบียนรถยนต์ มีกี่สี? หมายถึงอะไรบ้าง?

สีป้ายทะเบียนรถยนต์ | เลขทะเบียนรถมงคล | ความหมาย | สี | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

กฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับการใช้รถใช้ถนนเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจ เพราะทุกการขับขี่นั้นมีกฎข้อบังคับต่าง ๆ ควบคุมเอาไว้อยู่ อย่างเช่นสีป้ายทะเบียนรถยนต์ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงป้ายทะเบียนรถ ว่ามีกี่สี แต่ละสีมีความหมายยังไง เชื่อว่าจะมีคนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ 

คำถามแรกก่อนที่รู้ใจจะพาไปทำความรู้จักกับป้ายทะเบียนในแต่ละประเภท คือ ทำไมต้องมีการแยก สีป้ายทะเบียนรถยนต์  เหตุผลเป็นเพราะว่า มีการใช้งานรถในหลายประเภทและหลายรูปแบบ แม้ว่าตัวหมายเลขและรหัสต่าง ๆ บนป้ายทะเบียนจะเป็นการแยกย่อยออกไปแล้วว่ารถแต่ละกลุ่มนั้นถูกระบุการใช้งานไว้อยู่ในประเภทไหน  ที่สำคัญคือมีใครบ้างที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้ขับรถประเภทต่าง ๆ เพียงแต่ว่า หากให้ดูแต่ตัวเลขเพียงผิวเผินอาจเป็นการยากที่จะต้องมาดูกันให้ชัด ๆ ว่าตกลงรถคันนี้คือรถที่ถูกกำหนดไว้ให้ใช้งานประเภทไหน ดังนั้นการใส่สีให้ป้ายทะเบียนจึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการพิจารณาประเภทการใช้งานของรถในแต่ละรูปแบบนั่นเอง

แม้กระทั่งป้ายทะเบียนของรถในกลุ่มเดียวกัน ยังมีความแตกต่างแยกย่อยลงไปอีกด้วย เรียกว่า หากไม่รู้ลึกรู้จริงไม่มีทางเข้าใจความหมายเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน หากคุณไม่มีใบอนุญาตขับขี่เฉพาะแบบสำหรับรถเหล่านี้ หมายถึงการทำผิดข้อบังคับสำหรับการขับขี่รถในกฎหมายทางการจราจรมีระวางโทษปรับรอคุณอยู่  มาทำความรู้จักรูปแบบสีของป้ายทะเบียนกันให้ชัด ว่าในปัจจุบันประเทศไทย กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดสีป้ายทะเบียนในรูปแบบไหนเอาไว้บ้าง

เมื่อเข้าใจถึงความหมายหลักของการตั้งระเบียบเรื่องสีป้ายทะเบียนรถยนต์กันแล้ว คำถามที่ตามมาคือในปัจจุบันประเทศไทยได้กำหนดรูปแบบของสีป้ายทะเบียนเอาไว้กี่ประเภทบ้าง รู้ใจได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสีป้ายทะเบียนมาไว้ให้คุณทั้งหมดแล้ว มาดูกันว่ามีแบบไหนที่คุณสามารถขับ หรือ ไม่สามารถขับได้บ้าง ดังต่อไปนี้

1. รถออกใหม่ ป้ายแดง ตัวอักษรดำ

เป็นสีป้ายทะเบียนรถที่ใครหลายคนมองว่าหากซื้อรถต้องมีป้ายแบบนี้ติดเอาไว้ นั่นคือ เครื่องหมายของการซื้อรถใหม่นั่นเองซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “รถป้ายแดง” สำหรับป้ายในรูปแบบนี้คือ ป้ายระบุตัวตนของรถแบบชั่วคราวก่อนที่จะมีการออกป้ายทะเบียนจริงมาใช้งาน ซึ่งมีอายุการใช้งานเพียง 30 วันเท่านั้น และเจ้าของรถต้องรีบนำรถไปขึ้นทะเบียนขอป้ายทะเบียนหลักภายในเงื่อนไขของเวลานี้ 

โดยทางผู้จำหน่ายรถจะใช้ป้ายนี้พร้อมกับสมุดบันทึกการใช้งานรถควบคู่กันมาด้วย โดยมีกฎคือ ไม่สามารถขับข้ามเขตไปยังต่างจังหวัดได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากเจ้าของรถ คือ ผู้ขายรถให้คุณนั่นเอง และห้ามขับหลังเวลา 18:00 – 06:00 น. โดยเด็ดขาด

สีป้ายทะเบียนรถยนต์ | เลขทะเบียนรถมงคล | กรมการขนส่งทางบก | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

2. รถส่วนบุคคล ป้ายขาว ตัวอักษรดำ

ถือเป็นป้ายมาตรฐานที่ทุกคนต่างคุณเคยกันอย่างดีที่สุด สำหรับความหมายของป้ายนี้คือ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมไปถึงรถมอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ สำหรับการใช้งานทั่วไป ซึ่งการอนุญาตใช้งานนั้นสำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่ทุกประเภทสามารถใช้งานรถประเภทนี้ได้ทั้งหมด แต่ถึงกระนั้น สำหรับป้ายสีรถยนต์ประเภทนี้ในปัจจุบันยังมีการแยกย่อยออกไปโดยมีความเปลี่ยนแปลงของสีตัวอักษรแต่ยังคงการบันทึกไว้บนป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาวดังต่อไปนี้

  • ป้ายทะเบียนรถสีขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ป้ายตัวแทนสำหรับการระบุรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งเกินกว่า 7 ที่นั่ง
  • ป้ายทะเบียนรถสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว เป็นป้ายตัวแทนสำหรับรถกระบะ หรือรถบรรทุกขนาดเล็กส่วนบุคคล

ข้อกำหนดสำคัญสำหรับการใช้งานรถป้ายทะเบียนสีขาวคือ การนำมาใช้งานส่วนบุคคล หรือการประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การรับส่งผู้โดยสารนั่นเอง หากมีการใช้งานผิดประเภทมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท เลยทีเดียว

3. รถโดยสารสาธารณะ ป้ายเหลือง ตัวอักษรดำ

สำหรับสีป้ายทะเบียนรถในรูปแบบนี้เป็นป้ายที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ความหมายของป้ายนี้คือ รถโดยสารสาธารณะที่แบ่งแยกออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามสีของตัวอักษรบนแผ่นป้ายทะเบียนอีกครั้ง ซึ่งหากใครต้องการขับรถในรูปแบบนี้ต้องมีใบขับขี่ที่ได้รับการอนุญาตเพื่อการขับรถโดยสารเป็นกรณีพิเศษ โดยมักเรียกกันว่าใบขับขี่ประเภท ท.1 และ ท.2 

สำหรับความแตกต่างของใบอนุญาตขับขี่ทั้งสองแบบคือ ท.1 จะสามารถขับรถป้ายเหลืองที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ส่วน ท.2 สามารถขับรถที่มีจำนวนที่นั่งเกิน 7 ที่นั่งได้ ซึ่งหากใช้ใบขับขี่ผิดประเภทมีระหว่างโทษปรับตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป และป้ายทะเบียนสีเหลืองยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • ป้ายทะเบียนรถสีเหลือง ตัวอักษรสีแดง แทนถึง รถโดยสารประจำทางที่ทำการวิ่งรับส่งข้ามจังหวัด
  • ป้ายทะเบียนรถสีเหลือง ตัวอักษรน้ำเงิน แทนถึง รถสี่ล้อรับจ้างขนาดเล็กสำหรับรับส่งผู้โดยสารภายในจังหวัด อาทิ รถกะป๊อ เป็นต้น
  • ป้ายทะเบียนรถสีเหลือง ตัวอักษรเขียว แทนถึง รถรับจ้าง 3 ล้อ เช่นรถตุ๊ก ๆ หรือ รถสกายแล็ป ในบางพื้นที่เป็นต้น 
สีป้ายทะเบียนรถยนต์ | ทะเบียนรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

4. รถบริการทัศนาจรหรือรถเช่า ป้ายเขียว ตัวอักษรขาวหรือดำ

สำหรับป้ายประเภทนี้ถือเป็นรถโดยสารที่มีความเฉพาะแบบลงไปอีก นั่นคือเป็นป้ายทะเบียนรถโดยสารสำหรับการเพื่อการท่องเที่ยวเฉพาะ หรือรถทัศนาจร เป็นต้น โดยบางส่วนจะเป็นรถเช่าเฉพาะแบบที่มีการอนุญาตให้บริการในพื้นที่พิเศษเช่นสนามบิน เป็นต้น การที่จะขับรถเหล่านี้สำหรับการรับส่งผู้โดยสารต้องมีใบอนุญาตขับขี่ในระดับ ท.1 เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าเป็นในกรณีของรถเช่า ในรูปแบบนี้จะมีการทำออกใบอนุญาตการขับขี่ด้วยผู้ขับขี่หลายบุคคลในฐานะรถเช่าเอาไว้แล้ว 

5. รถที่ใช้งานอุตสาหกรรม ป้ายส้ม ตัวอักษรดำ

สำหรับป้ายในรูปแบบนี้คือ ป้ายรถที่ใช้งานอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกพ่วง หรือ รถแทรกเตอร์ รถที่ใช้ในงานภาคเกษตรกรรม  ซึ่งรถที่ใช้ในงานภาคการเกษตรทุกคันต้องนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกด้วย และเพื่อความปลอดภัยควรทำใบอนุญาตขับขี่เฉพาะสำหรับรถที่ใช้ในงานภาคการเกษตรสำหรับการควบคุมดูแลตาม พ.ร.บ. กรมการขนส่งทางบกอีกด้วย

6. รถราชการ ป้ายขาว/ฟ้า มีตัวอักษรระบุด้านบน

สำหรับป้ายทะเบียนรถในรูปแบบนี้คือ ป้ายรถที่ถูกใช้สำหรับงานทางราชการเป็นพิเศษ อาทิ ป้ายทะเบียนรถยนต์สำหรับนักการทูต จะมีการระบุตัวย่อของประเทศนั้น ๆ รวมไปถึง ป้ายทะเบียนรถสีฟ้า พร้อมตัวอักษรด้านบน เป็นการระบุถึงรถในประเภท หน่วยงานพิเศษทั้งในและต่างประเทศที่ได้มีการนำรถมาใช้ในประเทศไทยนั่นเอง 

7. ป้ายทะเบียนประมูล

สำหรับการออกแบบป้ายทะเบียนประเภทนี้ ถือเป็นป้ายทะเบียนพิเศษที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก ผู้เป็นเจ้าของรถไม่สามารถออกแบบป้ายทะเบียนเองได้ สำหรับป้ายทะเบียนในรูปแบบนี้เป็นป้ายทะเบียนที่ทำขึ้นมาเพื่อการประมูลโดยเฉพาะ จึงมีความพิเศษทั้งในเรื่องของการออกแบบและราคา บางครั้งอาจมีเรื่องของเลขทะเบียนรถมงคลต่าง ๆ ป้ายประเภทนี้ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อขอรับป้ายทะเบียนสีและเลขพิเศษเหล่านี้

การรู้จักและทำความเข้าใจป้ายทะเบียนรถยนต์สีต่าง ๆ นอกจากจะช่วยให้คุณต่อทะเบียนรถได้ถูกประเภท ป้องกันการใช้งานรถที่ผิดประเภท เปลี่ยนป้ายทะเบียนรถให้ถูกต้องกับประเภทการใช้งาน และที่สำคัญยังช่วยให้คุณเลือกกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสมสำหรับรถแต่ละกลุ่มอีกด้วย เพราะการทำประกันรถยนต์ คือการวางแผนความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญมาก ๆ อีกทางหนึ่ง ประกันรถยนต์ที่รู้ใจ ช่วยคุณเซฟสูงสุด 30% เคลมง่าย เคลมเร็ว ผ่านระบบออนไลน์หรือเรียกเจ้าหน้าที่ การันตีถึงภายใน 30 นาที มีอู่และศูนย์ซ่อมบริการทั่วไทย เคียงข้างคุณให้คุณเดินทางได้อย่างสบายใจไร้กังวล

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)