Roojai

ไม่จ่ายใบสั่งมีความผิด อาจต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ โดนยึดใบขับขี่

ไม่จ่ายใบสั่ง | โทษ | รู้ใจ

ในปัจจุบันมีคนไม่จ่ายใบสั่ง ประมาณ 20 ล้านใบ แสดงให้เห็นว่า “ประชาชนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายจราจร” แถมยังสามารถต่อทะเบียนรถได้ตามปกติ เนื่องจากระบบใบสั่งที่เชื่อมต่อกับกรมขนส่งทางบกยังไม่สามารถใช้งานได้ จึงทำให้ข้อบังคับในการชำระค่าปรับไม่เด็ดขาดพอ ! ทว่าตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา “หากได้ใบสั่งแล้วไม่จ่ายค่าปรับ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้” แถมยังมีโทษอื่น ๆ ด้วยนะ! รายละเอียดจะมีอะไรบ้าง รู้ใจจะมาอัพเดทให้ฟังกัน

ไม่จ่ายใบสั่ง ต้องเจอกับอะไรบ้าง !?

ในกรณีที่คุณไม่จ่ายค่าปรับตามใบสั่งที่กำหนด ทางกรมขนส่งทางบกจะออกป้ายวงกลมให้ ซึ่งถือเป็น “หลักฐานชั่วคราว” แทนการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี เมื่อคุณได้ทำการชำระค่าปรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถไปรับป้ายภาษีได้ตามปกติ โดยจะต้องชำระใบสั่งภายใน 30 วัน ก่อนจะถูกงดออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีตัวจริง!

ต่อภาษีรถยนต์ | ค่าปรับ | รู้ใจ

นอกจากนี้ยังมีความผิดฐาน “ไม่ต่อภาษียานพาหนะ” หรือไม่ต่อภาษีรถยนต์ตามมา โดยจะต้องเจอกับค่าปรับล่าช้า 1,000 บาท รวมถึงโดนหักคะแนนความประพฤติ และในกรณีที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะฉะนั้นหากได้รับใบสั่ง สิ่งที่ “ควรทำ” เป็นอันดับแรกคือต้องชำระค่าปรับตามกำหนด และขอชำระภาษีประจำปี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน่าปวดหัวในภายหลัง

ไม่จ่ายค่าปรับ “ใบสั่งออนไลน์” โทษหนักกว่าที่คิด

ในกรณีที่คุณไม่มีใบสั่งเสียบอยู่หน้ารถ แต่กลับได้รับ “ใบสั่งออนไลน์” แทน และเลือกที่จะไม่จ่ายค่าปรับ คุณรู้ไหมว่าคุณจะได้รับโทษอะไรบ้าง? และมีโทษสูงสุดขั้นไหน? หากคุณยังมองภาพไม่ออก เราได้ทำการรวบรวมโทษระดับต่าง ๆ มาให้คุณได้ทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้ว

1.เสียค่าปรับจ่ายล่าช้าเพิ่ม

กรณีไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์ตามเวลาที่กำหนด จะมี “ค่าปรับล่าช้าเพิ่ม” สูงสุด 1,000 บาทต่อใบ และถ้าหากมีใบสั่งค้างชำระ และระยะเวลาจ่ายค่าปรับที่กำหนดหลายใบ อาจจะถูกปรับล่าช้าย้อนหลังทุกใบอีกด้วย

2.เสียค่าปรับไม่แสดงภาษีป้าย

แม้ว่าจะสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีได้ ในกรณีที่ค้างจ่ายใบสั่งออนไลน์ แต่คุณจะไม่ได้รับหลักฐานการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีตามปกติ แต่จะได้รับเป็น “หลักฐานการเสียภาษีประจำปีชั่วคราว” ที่มีอายุ 30 วันแทน เพื่อให้นำไปใช้จ่ายค่าปรับที่ค้างชำระให้เรียบร้อย และจะต้องนำใบเสร็จกลับมารับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี หรือป้ายภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ารถ)

แต่ถ้าหากคุณไม่ชำระใบสั่งออนไลน์ที่ค้างชำระอยู่ แถมไม่ได้เปลี่ยนป้ายภาษีตามที่กำหนด จะถือว่ามีความผิดจากการขับขี่รถ โดยไม่แสดงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี หรือป้ายภาษีรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11 และมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3.ถูกอายัดใบขับขี่

หากคุณเคยถูกยึดใบขับขี่มาแล้ว และไม่ได้ไปเสียค่าปรับตามใบสั่งจราจร เพื่อขอรับใบขับขี่คืน สามารถเข้าทดสอบเพื่อขอรับขับขี่ใหม่ได้ แต่จะไม่สามารถรับใบขับขี่ใหม่ได้ทันที แถมยังไม่สามารถแจ้งความว่าใบขับขี่หาย เพื่อทำใบขับขี่ใหม่ได้อีกด้วย เนื่องจากคุณยังมี “รายชื่อค้างจ่ายใบสั่ง” อยู่ในระบบของกรมขนส่งทางบก แม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม ส่งผลให้ใบขับขี่ของคุณถูกอายัด และคุณจะต้องทำการชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อเป็นการ “ถอนอายัดใบขับขี่” แล้วถึงจะขอรับใบขับขี่คืนได้

4.ถูกออกหมายจับ

หากคุณยังไม่ทำการจ่ายค่าปรับออนไลน์ แถมยังกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง อย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการออกหมายเรียก ให้มาชำระค่าปรับใบสั่งที่ค้างอยู่ก่อน แต่ถ้าหากคุณยังเลือกที่จะเพิกเฉย ไม่ตอบรับหมายเรียก เจ้าหน้าที่จะพิจารณาออกหมายจับและส่งฟ้องศาลต่อไปทันที

วิธี “เช็คใบสั่งออนไลน์” ในกรณีที่ไม่มีใบสั่งส่งมาที่บ้าน

สำหรับวิธีการตรวจเช็กในกรณีที่ไม่ใบสั่งส่งมาที่บ้าน ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย ๆ หลายช่องทาง ดังนี้

1.เว็บไซต์ตรวจใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน

เข้าไปที่เว็บไซต์ https://ptm.police.go.th กรอกเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบได้ทันที แต่ถ้าหากคุณยังไม่เป็นสมาชิก จำเป็นจะต้องลงทะเบียนใช้งานให้เรียบร้อยก่อน ด้วยการกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ถูกต้องและครบถ้วน ตามที่เว็บไซต์กรมตำรวจแห่งชาติกำหนด

เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว และตรวจพบว่ามีการค้างค่าปรับอยู่จริง คุณสามารถชำระค่าปรับได้หลากหลายช่องทาง โดยจะต้องชำระภายใน 30 วัน นับจากที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน แต่ถ้าหากเกินกว่าที่กำหนดจะโดนค่าปรับตามระเบียบ

ใบสั่งจราจรออนไลน์ | จ่ายใบสั่ง | รู้ใจ
2.กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร

สำหรับคนที่ไม่สะดวกเช็กใบสั่งค่าปรับจราจรด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ตรวจสอบ E-Ticket หรือต้องการ “ขอคัดสำเนาใบสั่ง” เพื่อนำไปชำระ อาจเลือกวิธีติดต่อกองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร (Traffic Police) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบศูนย์ควบคุมการจราจร และงานเทคนิคการจราจรโดยตรง

โดยสามารถติดต่อเพื่อขอคัดสำเนาใบสั่งออนไลน์ที่ทำหาย ได้ที่กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร เลขที่ 123 หมู่ที่ 2 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ในวันเวลาราชการ

3.ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (Government Smart Hiosk)

สามารถตรวจสอบใบสั่งจราจรออนไลน์ย้อนหลังได้ง่าย ๆ ผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (Government Smart Hiosk) โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ที่มีตั้งให้บริการอยู่ทั่วประเทศ หรือมากถึง 77 จุดบริการ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

  • เสียบบัตรประจำตัวประชาชนที่ช่องสอดบัตร พร้อมเลือกเมนู “บริการอื่น ๆ”
  • จากนั้นเลือกเมนู “ตรวจสอบ” และ “ตรวจสอบใบสั่ง”

หน้าจอจะทำการแสดงผลรายละเอียดใบสั่งขึ้นมา โดยคุณสามารถสั่งพิมพ์ใบสั่งออนไลน์ และนำสลิปข้อมูลรายการใบสั่งค่าปรับ ที่ได้รับจากตู้บริการฯ ไปชำระค่าปรับตามช่องทางที่สะดวกได้ทันที

ช่องทางการชำระค่าปรับ จ่ายใบสั่งได้ที่ไหนบ้าง ?

ในปัจจุบันการชำระค่าปรับมีอยู่ด้วยกันหลากหลายช่องทาง ซึ่งถือว่าช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนได้มาก ๆ เลยล่ะ แต่จะมีช่องทางไหนบ้าง ? ไปดูกันเลย

  • สถานีตำรวจท้องที่
  • Counter Service
  • ธนาคารกรุงไทย โดยสามารถทำได้ทั้งตู้ ATM และชำระผ่านช่องทางทางแอปพลิเคชัน KTB NETBANK
  • แฟมิลี่มาร์ท, เซ็นทรัล, บีทูเอส, โรบินสัน, Tops, ไทวัสดุ, HomeWorks, Super Sport และ Power Buy ที่อยู่ใน Central Group
  • ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีช่องทางอำนวยความสะดวก ในการจ่ายค่าปรับจราจรที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น แต่จากสถิติตัวเลขใบสั่งจราจรที่ไม่ได้จ่ายในปี 2563 ก็พบว่ามียอดค้างจ่ายสูงถึง 13 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82.20% ของใบสั่งทั้งหมด ทำให้ปัจจุบันในปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึง “มาตรการลงโทษ” ทั้งในส่วนของโทษจับและโทษปรับที่เพิ่มมากขึ้น

ใบขับขี่ | กรมขนส่งทางบก | รู้ใจ

พฤติกรรมการขับขี่ที่ควรเลี่ยง หากไม่อยากโดนใบสั่ง

การที่คุณจะโดนใบสั่งในแต่ละครั้ง ล้วนเป็นเพราะคุณทำผิดกฎหมายจราจรไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายข้อที่คุณควรพึงระวัง เพื่อให้ห่างไกลจากการทำผิดกฎหมายจราจร แต่จะมีอะไรบ้าง ? เราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว

  • ขับรถแช่ขวา
  • ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ
  • ฝ่าไฟแดง
  • จอดรถในที่ห้ามจอด
  • ท่อแต่งเสียงดัง
  • แซงในเส้นทึบ
  • ใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม
  • ไม่จัดทำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • หยุดรถขวางทางแยก
  • หยุดรถล้ำเส้นหยุด
  • จอดรถกีดขวางจราจร
  • ขับรถย้อนศร
  • ใช้ป้ายแดงเกิน 1 เดือน

เพียงแค่คุณ “เคารพกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด” เหตุการณ์เหล่านี้จะถือเป็นเรื่องไกลตัว ที่ทำให้คุณไม่ต้องเผชิญหน้ากับใบสั่งและโทษต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นควรมีสติและเตือนตัวเองทุกครั้งที่ใช้รถใช้ถนนจะดีที่สุด

กฎหมายจราจร | หมายจับ | รู้ใจ

สำหรับคนที่ใช้รถใช้ถนนอยู่ทุกวัน นอกจากจะต้องหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายจราจรแล้ว ยังจะต้องระวังตัวจากอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย แม้ว่าจะควบคุมการเกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างยาก รู้ใจ พร้อมดูแลคุณทุกการเดินทาง ด้วยประกันรถยนต์และประกันอะไหล่รถยนต์ ครบ จบภายในเว็บเดียว ทุนประกันสูง เบี้ยราคาประหยัด สูงสุด 30% ใครก็ใช้ประกันชั้น 1 ได้ที่รู้ใจ ตอบโจทย์ความต้องการของคนรักรถได้แบบสุด ๆ เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ได้แล้ววันนี้ ทุกที่ ทั่วไทย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)