Roojai

ทำไมฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นมลพิษทางอากาศยังไม่หมดไป และมาซ้ำทุกปี

ทำไมฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นมลพิษทางอากาศยังไม่หมดไป | รู้ใจ

ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานค่ามลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 ของประเทศไทยพุ่งติดอันดับ 6 ของโลก ก่อนที่เราจะรับมือกับปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM 2.5 นี้ เราไปทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงฝุ่น PM 2.5 กันให้ดีก่อนว่ามันเกิดจากอะไรและอันตรายมากแค่ไหน

ฝุ่น PM 2.5 คือ ค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองเล็ก ๆ ในอากาศ หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริการได้กำหนดไว้ว่า ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการวัดคุณภาพอากาศ ค่ามาตรฐานทั่วไป PM จะอยู่ที่ PM 10 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นหยาบ” เป็นฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ฝุ่นที่มีละอองเล็กกว่านั้น เช่น ฝุ่น PM 2.5 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นจิ๋ว” ฝุ่นเหล่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่มาก

ผลเสียต่อสุขภาพที่มากับฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?

  • ส่งผลต่อระบบหายใจ เมื่อเราหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าไปจะทำให้เกิดอาการแสบจมูก ไม่สบาย ไอ จาม มีเสมหะ
  • ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้ โรคปอด หอบหืด ถุงลมโป่งพอง อาจทำให้อาการต่าง ๆ เหล่านี้กำเริบได้
  • หากร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 นี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปอดและโรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดได้
ปัญหามลพิษทางอากาศที่มากับฝุ่น PM 2.5 | รู้ใจ

แล้วฝุ่น PM 2.5 นี้มาจากไหนกัน?

  • มาจากการเผาไหม้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่
  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอลล์จากท่อไอเสียเครื่องยนต์
  • เกิดจากการผลิตไฟฟ้า กระบวนการผลิตไฟฟ้าทำให้มีการปล่อยฝุ่นจิ๋วหรือฝุ่น PM 2.5 ออกมามากในอากาศ
  • สารเคมีและอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น ในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่วัดได้ในแต่ละปี 65,140 ตันต่อปีในการปล่อยฝุ่นจิ๋วออกมา

เมื่อร่างกายของเราได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าไปมาก ๆ นอกจากจะทำให้โรคประจำตัวของเรากำเริบแล้ว มันอาจจะนำพาโรคร้ายแรงต่าง ๆ มาให้เราอีกด้วย

ฝุ่น PM 2.5 พาโรคร้ายแรงอะไรมาให้คุณได้บ้าง?

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ – ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นจิ๋วมีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมครอน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อักเสบ ทำให้เรามีอาการไอ จาม แสบคอ แสบจมูก แสบตา
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด – เมื่อร่างกายเราได้รับฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก สามารถทำให้เลือดของเรามีความข้นสูงและทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
  3. โรคผิวหนัง – ในฝุ่น PM 2.5 มีสารคาร์บอนปนอยู่ด้วย ซึ่งสารคาร์บอนนี้มีคุณสมบัติในการละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ผิวหนังของเราได้ และเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของเรา จนเกิดการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมีผลทำให้ผิวหนังของเราเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยได้ง่าย ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำ ส่งผลต่อการทำงานของยีน เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบและโรคผื่นแพ้
  4. โรคเยื่อบุตาอักเสบ – หรือโรคตาแดง มาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และมลพิษทางอากาศ เมื่อฝุ่น PM 2.5 นี้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา
  5. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ – มลพิษทางอากาศที่เราหายใจเข้าไป สามารถไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถนำไปสู่การเกิดหัวใจล้มเหลวและอาการน้ำท่วมปอดได้
  6. โรคมะเร็งปอด – พิษสงของฝุ่น PM 2.5 เมื่อเราสะสมเข้าไปในร่างกายของเราทุกวัน นานวันเข้า อาจเกิดผลกระทบต่อปอด ทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งปอดได้
ฝุ่น PM 2.5 พาโรคร้ายแรงอะไรมาให้คุณได้บ้าง | รู้ใจ

ในเมื่อปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีที่จะป้องกันหรือแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในบ้านเราได้ ตัวเราเองจำเป็นที่ต้องรู้วิธีป้องกันและรับมือกับฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ มีวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 อย่างไรกันบ้าง รู้ใจขอแนะนำเคล็ดลับ ดังนี้

เคล็ดลับการรับมือกับมลพิษทางอากาศหรือปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?

  1. สวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM 2.5
    หน้ากากอนามัยที่เราสวมกันทุกวันนั้นไม่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ หากต้องการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ต้องสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ที่จะสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้
  2. ทำร่างกายให้เเข็งแรงอยู่เสมอ
    อีกวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 คือ ทำร่างกายตัวเองให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  3. เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
    ในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงขึ้น ให้เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หากเป็นคนที่ชอบวิ่ง ชอบปั่นจักรยาน ชอบออกกำลังกาย ให้เปลี่ยนสถานที่ออกกำลังกายจากกลางแจ้ง มาเข้าฟิตเนสแทน
  4. ตรวจสอบเครื่องยนต์ทั้งรถเก๋งและมอเตอร์ไซด์
    ตรวจสอบให้มั่นใจว่า รถของเราไม่ได้ปล่อยไอเสียที่จะไปเพิ่มค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษทางอากาศ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและเช็คความสมบูรณ์ของท่อไอเสียเป็นประจำ
  5. สังเกตความผิดปกติของร่างกาย ทั้งตัวเองและคนในครอบครัว
    หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา ไอบ่อย หายใจไม่ค่อยออก หรือหายใจถี่ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ ใจสั่น ให้รีบไปพบแพทย์
  6. ลดหรือเลี่ยงกิจกรรมปิ้งย่าง
    รวมถึงงดจุดธูปภายในบ้าน ควันจากธูปหรือควันจากการกินอาหารปิ้งย่าง จะไปช่วยเพิ่มมลพิษทางอากาศให้มากขึ้น
  7. ปลูกต้นไม้
    การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้าน จะสามารถช่วยทำให้อากาศในบ้านของเราบริสุทธิ์ขึ้นได้ เพราะต้นไม้จะไปดักจับมลพิษทางอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาให้เรา
รับมือกับฝุ่น PM 2.5 อย่างไร ให้ปลอดภัย | รู้ใจ

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไม่น่าจะหมดไปจากประเทศไทยได้ง่าย ๆ การที่เราไม่เห็นไม่ใช่ว่ามันไม่มี ฝุ่น PM 2.5 คือมฤตยูที่แฝงตัวมากับอากาศที่เราหายใจเข้าไป รู้ใจหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคน

โรค ภัย ไข้ เจ็บ ไม่ได้อยู่ไกลจากเราเลย มันอยู่ใกล้มากเพียงแค่หายใจเข้าไปก็สามารถทำให้เราเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ จะดีกว่าไหม ถ้ามีคนคอยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้คุณเมื่อคุณเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพ หนึ่งในการวางแผนการเงินที่ยอดเยี่ยมคือการมีประกันภัยไว้คุ้มครอง คุณจะได้หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รู้ใจ เราพร้อมดูแลคุณและคนที่คุณรักด้วยประกันภัยที่ซื้อง่าย ราคาดี และเชื่อถือได้ รับประกันภัยโดยบริษัทประกันชั้นนำหลายแห่ง มีประกันภัยให้เลือกมากมาย สามารถดูรายละเอียดออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. เลย

ติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai